โรงพยาบาลศรีสะเกษ
โรงพยาบาลศรีสะเกษ เป็นโรงพยาบาลศูนย์ ระดับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2451 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการริเริ่มของ ขุนเวชการบริรักษ์ ผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขจังหวัดขุขันธ์ ตั้งแต่เมื่อครั้งจังหวัดศรีสะเกษ ยังใช้ชื่อเดิมว่า "จังหวัดขุขันธ์" ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อมาเป็น "จังหวัดศรีสะเกษ" ในปี พ.ศ. 2481 หลังจากนั้นโรงพยาบาลประจำจังหวัดศรีสะเกษจึงใช้ชื่อว่า "โรงพยาบาลศรีสะเกษ" ตามชื่อจังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่[2][3] ปัจจุบัน โรงพยาบาลตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ท้องที่ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ บนเนื้อที่ 41 ไร่ บริเวณริมฝั่งลำน้ำห้วยสำราญ อันเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูล เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ด้านสุขภาพของประชาชน เพื่อให้บริการในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน ฟื้นฟู และรักษาโรค แก่ชาวจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียงในภูมิภาคอีสานใต้ ตลอดจนผู้ป่วยจากประเทศเพื่อนบ้าน[3] นอกจากนั้น ยังเป็นสถาบันการผลิตแพทย์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ในฐานะศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประวัติโรงพยาบาลศรีสะเกษ ได้รับการริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2451[4] โดยขุนเวชการบริรักษ์ ผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขจังหวัดขุขันธ์ ในลักษณะอาคารไม้ชั้นเดียว บริเวณถนนปลัดมณฑลและถนนศรีวิเศษ (ที่ตั้งบ้านพักนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน) ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 ขุนสุขวิชวรการ สาธารณสุขจังหวัดขุขันธ์ คนใหม่ ได้ดำเนินการก่อสร้างสุขศาลาชั้นหนึ่งขึ้นเพื่อขยายบริการด้านสาธารณสุข ในบริเวณวังเจ้าเมืองเดิมท่าลี่ ริมฝั่งห้วยสำราญ ใกล้แนวทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้ขยายการก่อสร้างมาถึงตัวเมืองจังหวัดศรีสะเกษระหว่าง พ.ศ. 2468 – พ.ศ. 2472 บนพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 24 ไร่เศษ (ที่ตั้งของโรงพยาบาลศรีสะเกษในปัจจุบัน) สุขศาลาแห่งนี้มีลักษณะเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูง มีห้องทำงานรวม 6 ห้อง เปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป พ.ศ. 2481 ได้มีการเปลี่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์เป็นจังหวัดศรีสะเกษ "สาธารณสุขจังหวัดขุขันธ์" จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ" และ "สุขศาลาจังหวัดขุขันธ์" ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สุขศาลาจังหวัดศรีสะเกษ" หลังจากนั้นระหว่าง พ.ศ. 2484 – พ.ศ. 2485 เกิดสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น จังหวัดศรีสะเกษได้รับการกำหนดให้เป็นเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่ง จึงได้มีการก่อสร้างฐานบินและสนามบินทหารขึ้น (บริเวณที่ตั้งโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย ในปัจจุบันและพื้นที่โดยรอบ) บริเวณสุขศาลาจังหวัดศรีสะเกษได้เป็นสถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงของกองทัพอากาศและที่พักของหน่วยทหาร สุขศาลาจังหวัดศรีสะเกษจึงมีบทบาทมากขึ้นเป็นลำดับในการรักษาผู้เจ็บป่วยทั้งทางทหารและพลเรือนตลอดช่วงภาวะสงคราม พ.ศ. 2491 นายแพทย์ขุนวิชิตภัยพยาธิ (นายแพทย์วิชิต โพธิปักษ์) ได้ย้ายมารับราชการที่จังหวัดศรีสะเกษ และได้แบ่งส่วนงานสาธารณสุขออกเป็นกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ส่วนขุนสุขวิชวรการ ได้ไปดำรงตำแหน่งอนามัยจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดกรมอนามัย "สุขศาลาจังหวัดศรีสะเกษ" ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลศรีสะเกษ" เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2491 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาโรงพยาบาลศรีสะเกษขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีนายแพทย์วิชิต โพธิปักษ์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ผู้อำนวยการคนแรกของโรงพยาบาลแห่งนี้[2][3] ปัจจุบันนอกจากบทบาทในการเป็นศูนย์กลางการให้บริการทางการแพทย์แก่ชาวจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียงแล้ว โรงพยาบาลศรีสะเกษ เป็นสถาบันการศึกษาและฝึกปฏิบัติการวิชาชีพทางการแพทย์ แก่นักศึกษาแพทย์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยเป็นสถาบันสมทบร่วมผลิตแพทย์กับวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลศรีสะเกษ ทำหน้าที่เป็นสถาบันการศึกษาด้านการแพทย์ดังกล่าว ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาแพทย์ในระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 – 6) ตามโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ของสำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (สบพช.) กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลศรีสะเกษเป็นโรงพยาบาลศูนย์ ที่มีศักยภาพและขีดความสามารถในการให้บริการที่สอดคล้องกับจำนวนประชากรผู้มารับบริการ ทั้งจากภายในจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดใกล้เคียง และประเทศเพื่อนบ้าน รายนามหัวหน้าสุขศาลาและผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีสะเกษ
หน่วยงานภายในโรงพยาบาลศรีสะเกษ มีการแบ่งส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ [2]
ศูนย์ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ปัจจุบันโรงพยาบาลศูนย์ศรีสะเกษ ประกอบด้วยศูนย์เชี่ยวชาญทางการแพทย์ (ระดับตติยภูมิ) ใน 7 สาขาดังนี้
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลศรีสะเกษ มีการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติการทางการแพทย์ แก่นักศึกษาแพทย์หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ภายใต้การดูแลของอาจารย์แพทย์รวม 102 ท่าน ใน 20 สาขาดังนี้[6] กลุ่มแพทย์อายุรศาสตร์
กลุ่มแพทย์ศัลยศาสตร์
กลุ่มแพทย์ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
กลุ่มแพทย์สูติ-นรีเวชศาสตร์
กลุ่มแพทย์กุมารเวชศาสตร์
กลุ่มแพทย์รังสีวินิจฉัย
กลุ่มแพทย์จิตเวชศาสตร์
กลุ่มแพทย์โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
กลุ่มแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
กลุ่มแพทย์จักษุวิทยา
กลุ่มแพทย์ครอบครัว
กลุ่มแพทย์เวชปฏิบัติ
กลุ่มแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
กลุ่มแพทย์วิสัญญีวิทยา
กลุ่มแพทย์วิสัญญีวิทยา
กลุ่มแพทย์วิสัญญีวิทยา
กลุ่มแพทย์พยาธิ
สถาบันฝึกแพทย์ประจำบ้านเป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว 3 ตำแหน่ง ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|