เทศบาลเมืองศรีสะเกษ
เทศบาลเมืองศรีสะเกษ เป็นเทศบาลเมืองในอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ[2] มีพื้นที่ครอบคลุม 7 ตำบล ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งหน่วยงานการบริหารของอำเภอเมืองศรีสะเกษ รวมทั้งเป็นที่ตั้งศูนย์กลางการบริหาร สถาบันการศึกษา สถานพยาบาลและสาธารณสุข เศรษฐกิจ ตลอดจนการคมนาคมขนส่งของจังหวัดศรีสะเกษ ประวัติเทศบาลเมืองศรีสะเกษเดิมชื่อว่า "เทศบาลเมืองขุขันธ์" จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) มีพื้นที่ 3.26 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 2 ตำบล คือตำบลเมืองเหนือและตำบลเมืองใต้ ต่อมาได้มีการเปลื่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์ เป็นจังหวัดศรีสะเกษ จึงทำให้เทศบาลเมืองขุขันธ์ได้รับการเปลี่ยนชื่อตามพระราชกฤษฎีกามาเป็น "เทศบาลเมืองศรีสะเกษ"[3] ตั้งแต่ พ.ศ. 2481 เป็นต้นมา ใน พ.ศ. 2530 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2530 กำหนดขอบเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ (ใหม่) โดยขยายพื้นที่เขตเทศบาลจากเดิม 2 ตำบลออกไปครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของอีก 5 ตำบล ปัจจุบัน เทศบาลเมืองศรีสะเกษมีพื้นที่ครอบคลุม 7 ตำบล ในเขตอำเภอเมืองศรีสะเกษ รวม 36.66 ตารางกิโลเมตร ภูมิศาสตร์สภาพภูมิประเทศเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ตั้งอยู่บนภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่มในเขตลุ่มแม่น้ำมูลตอนปลาย โดยตั้งอยู่ทางตอนใต้ของฝั่งแม่น้ำมูล ห่างจากชายฝั่งแม่น้ำมาทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร ภูมิสัณฐานจัดเป็นแนวคันดินริมน้ำของลำน้ำสาขาแม่น้ำมูล ประกอบด้วยลำห้วยสำราญและลำห้วยแฮดซึ่งโอบล้อมเขตเทศบาลในทิศเหนือ ทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตก นอกจากนั้น ยังมีลำน้ำย่อยซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของลำห้วยทั้งสองสายไหลหล่อเลี้ยงภายในพื้นที่เขตเทศบาล ลำน้ำย่อยดังกล่าวได้แก่ห้วยระกำ ห้วยปูน และห้วยน้ำคำ ทางตอนเหนือของเขตเทศบาลมีลักษณะเป็นเนินและที่ดอนสูงกว่าพื้นที่ทางตอนใต้ พื้นที่และอาณาเขตมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดใน 2 ตำบลคือตำบลเมืองเหนือ ตำบลเมืองใต้ และครอบคลุมบางส่วนในพื้นที่ตำบลอีก 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลซำ ตำบลหนองครก ตำบลหญ้าปล้อง ตำบลโพธิ์ และตำบลโพนข่า รวมพื้นที่ทั้งหมด 36.66 ตารางกิโลเมตร
ตราสัญลักษณ์พระนางศรีสระเกศ หมายถึง พระนางศรี ซึ่งปรากฏชื่อในตำนานเมืองศรีสะเกษ ว่าเป็นธิดาพญาขอม โดยพระนางเป็นผู้นำในการสร้างเมืองศรีสะเกษมาแต่ครั้งสมัยขอมโบราณ รูปพระนางศรีในอิริยาบถกำลังสระผม (เกศ) ดังกล่าวสอดคล้องกับเนื้อความตอนหนึ่งในตำนานว่าพระนางศรีได้ลงสรงน้ำและสระผม (เกษ) ในสระกำแพง ซึ่งเป็นบารายหรือสระน้ำประจำปราสาทสระกำแพงใหญ่และปราสาทสระกำแพงน้อย อันเป็นที่มาของชื่อเมืองว่า "ศรีสระเกศ" ในอดีต หรือ "ศรีสะเกษ" ในปัจจุบัน โครงสร้างการบริหารและการปฏิบัติราชการ
ประชากรและกลุ่มชาติพันธุ์ปัจจุบันเทศบาลเมืองศรีสะเกษมีประชากรจำนวนทั้งสิ้น 41,680 คน[4] จำแนกเป็น เพศชาย จำนวน 19,924 คน และเพศหญิง จำนวน 21,756 คน ซึ่งอาศัยอยู่ในหลังคาเรือนจำนวน 17,216 หลัง เป็นครอบครัวทั้งหมดจำนวน 17,253 ครอบครัว จัดเป็นเทศบาลเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่ง กลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมในเขตเทศบาลคือกลุ่มชาติพันธุ์ลาว ซึ่งพูดภาษาลาว จัดเป็นภาษาถิ่นไทยอีสานภาษาหลักที่พูดกันแพร่หลายในกลุ่มประชากรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตาม จากอดีตจนถึงปัจจุบันมีการเคลื่อนย้ายของประชากรจากต่างถิ่นมาตั้งถิ่นฐานในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายในพื้นที่เทศบาลแห่งนี้ ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาลาวและภาษาไทยภาคกลาง (ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาขร้า-ไท) และกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาในตระกูลภาษามอญ-เขมร ได้แก่ภาษาเขมรถิ่นไทย (คแมเลอหรือเขมรสูง) ภาษากูย (หรือกวย หรือส่วย) และภาษาเยอ[5] เทศบาลเมืองศรีสะเกษแบ่งเขตการปกครองออกเป็นชุมชนจำนวน 46 ชุมชน ได้แก่
การศึกษาเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของจังหวัดศรีสะเกษและพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยเป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาทุกระดับตั้งแต่ระดับพื้นฐานถึงระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วยสถานศึกษาที่สำคัญในแต่ละระดับ ดังนี้
สาธารณสุข
การพาณิชยกรรมและบริการ
โครงสร้างและบริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน
การกีฬาและสันทนาการ
สถานที่สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยวสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษเป็นสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ แห่งแรกของประเทศ ที่รัฐบาลประกาศจัดตั้งขึ้นจำนวน 12 แห่ง เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในวโรกาสเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา ใน พ.ศ. 2523 โดยมีมติเลือกพื้นที่ป่าธรรมชาติดั้งเดิมบริเวณนี้เพื่อดำเนินการปรับปรุงพัฒนาจัดตั้งเป็น "สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ" จนแล้วเสร็จและเปิดใน พ.ศ. 2524 บนเนื้อที่ 237 ไร่ ทั้งนี้ มูลนิธิสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานและระดมทุนทั้งเป็นค่าก่อสร้างและกองทุนสำหรับการดูแลรักษา โดยเป็นผู้ดูแลร่วมกับจังหวัดและท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของสวน สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเขตเทศบาล เป็นสวนสาธารณะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเขตเมืองศรีสะเกษ มีความชุ่มชื้นและสมบูรณ์ตามธรรมชาติ แวดล้อมด้วยลำห้วยปูน ห้วยระกำ เป็นแหล่งอนุรักษ์สัตว์ป่าไทยและต่างประเทศหลายชนิด อาทิ ไก่ฟ้าหลายพันธุ์ กวาง เม่น นกกระจอกเทศ จระเข้ งู นกแร้ง เต่า ตลอดจนฮิปโปโปเตมัส และสัตว์อื่นๆ อีกจำนวนมาก สัตว์หลายชนิดเป็นสัตว์ป่าที่มีถิ่นอาศัยอยู่เดิมในพื้นที่ป่าอันเป็นที่ตั้งของสวน ซึ่งเปิดให้เข้าชมในลักษณะสวนสัตว์ขนาดย่อมสำหรับนักท่องเที่ยว ทั้งยังเป็นแหล่งทัศนศึกษาของนักเรียนนักศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดใกล้เคียง ลักษณะเด่นของสวนคือความเขียวชอุ่มด้วยสวนพฤกษศาสตร์ไม้ดอกนานาพรรณและไม้ยืนต้น อันเป็นพันธุ์ไม้พื้นถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะ "ลำดวน" และ " ดอกลำดวน" ซึ่งถือเป็นต้นไม้และดอกไม้สัญลักษณ์ประจำจังหวัดศรีสะเกษ ที่ขึ้นหนาแน่นอยู่ในพื้นที่นี้จำนวนมากกว่า 50,000 ต้น ระหว่างเดือนมีนาคม เป็นช่วงที่ต้นลำดวนออกดอกบานสะพรั่งส่งกลิ่นหอมอบอวลทั้งในเขตสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ และพื้นที่เขตเทศบาลซึ่งมีต้นลำดวนปลูกอยู่ตามแนวถนนทุกสาย เทศบาลเมืองศรีสะเกษ ร่วมกับจังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดให้มี"เทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทยศรีสะเกษ" ขึ้นบริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ เป็นประจำทุกปี เป็นเทศกาลท่องเที่ยวที่ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีใน พ.ศ. 2543 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในพระอิริยาบถประทับนั่ง ไว้ภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ บริเวณทางเข้า เพื่อเป็นราชสักการะและถวายพระเกียรติหลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม อนุสาวรีย์พระนางศรีสระเกศประดิษฐานอยู่ทางตอนเหนือของเขตเทศบาล บนถนนศรีสะเกษ ใกล้กับสถานีรถไฟศรีสะเกษและวัดมหาพุทธาราม (วัดพระโต) องค์พระนางศรี เป็นประติมากรรมรูปหล่อสร้างด้วยทองเหลืองรมดำ ประดิษฐานอยู่เหนือแท่นหินอ่อน บนฐานล่างทรงกลม รูปหล่อพระนางศรีประทับนั่งในอิริยาบถกำลังสระเกศ (เส้นผม) สอดคล้องกับนามเมือง "ศรีสระเกศ" หรือ "ศรีสะเกษ" ดังปรากฏในตำนานเมือง กล่าวว่าพระนางศรีผู้เป็นธิดาพญาขอม ได้เป็นผู้สร้างเมืองศรีสะเกษตั้งแต่ในสมัยอาณาจักรขอม พระนางศรีได้สรงน้ำและสระเกศ (ผม) ที่สระกำแพงซึ่งเป็นบารายหรือสระน้ำประจำเทวสถานสำคัญในสมัยนั้นคือปราสาทสระกำแพงใหญ่และปราสาทสระกำแพงน้อย จึงเป็นที่มาของชื่อ "ศรีสะเกษ" ("ศรีสระเกศ") อนุสาวรีย์พระนางศรีสระเกศ เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวศรีสะเกษ และถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของเมือง นอกจากนั้น บริเวณอนุสาวรีย์พระนางศรีสระเกศ เป็นที่รู้จักของชาวเทศบาลเมืองศรีสะเกษและประชาชนชาวศรีสะเกษโดยทั่วไปในชื่อ "วงเวียนแม่ศรี" หรือ "วงเวียนพระนางศรี" ซึ่งเป็นวงเวียนการจราจรอีกแห่งหนึ่งภายในเขตเทศบาล อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |