อำเภอวาริชภูมิ
วาริชภูมิ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสกลนคร โรงเรียนประจำอำเภอคือโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ ประวัติเมื่อปี พ.ศ. 2387 ชาวภูไทเมืองกะป๋อง ( เมืองเซโปน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ) ประมาณ 400 ครัวเรือน โดยมีท้าวคำเขื่อนเป็นหัวหน้า ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงเข้ามายังประเทศสยาม สาเหตุมาจากการเกลี้ยกล่อมจากทางการสยาม ต่อมาท้าวคำเขื่อนได้ถึงแก่กรรมเสียก่อน ท้าวราชนิกูล บุตรของท้าวคำเขื่อนเป็นผู้นำสืบต่อในการอพยพครั้งนั้น ขบวนผู้อพยพได้เดินทาง พักแรม ผ่านเขตเมืองนครพนม สกลนคร ต่อมาได้พาครอบครัวและบ่าวไพร่อพยพเข้าสู่เมืองสกลนคร เจ้าเมืองและกรมการเมืองสกลนคร์ได้จัดสรรพื้นที่ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ชั่วคราว จนกระทั่งปี พ.ศ. 2390 ครอบครัวและบ่าวไพร่ของท้าวราชนิกุลอัตคัดที่ทำกิน จึงได้พาราษฎรย้ายออกจากเมืองสกลนคร เเละได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านหนองหอย ( อำเภอวาริชภูมิในปัจจุบัน ) อย่างไรก็ตามทางกรมการเมืองสกลนครได้มาเกลี้ยกล่อมให้ท้าวราชนิกูลพาราษฎรกลับไปอาศัยอยู่ท้องที่เดิมในเมืองสกลนคร ท้าวราชนิกุลจึงตอบตกลงยอมพาราษฎรกลับไปอาศัยอยู่ที่เดิม (ในเมืองสกลนคร) จนกระทั่งถึงปีพ.ศ. 2419 ท้าวราชนิกุลได้ขอยกบ้านหนองหอยขึ้นเป็นเมืองแต่กรมการเมืองสกลนครไม่ยอมเสนอขึ้นทูลเกล้า ท้าวราชนิกูลจึงให้ท้าวสุพรหม บุตรชายไปร้องเรียนต่อทางราชการ แต่ติดขัดที่กรมการเมืองสกลนครไม่ยื่นเรื่องดำเนินการขอยกบ้านหนองหอยให้เป็นเมือง ท้าวราชนิกูลกับท้าวสุพรหมจึงอพยพออกจากเมืองสกลนครกลับมาอยู่ที่บ้านหนองหอยตามเดิม ต่อมาในปี พ.ศ.2420 ท้าวราชนิกูลกับท้าวสุพรหม ได้ขอร้องให้พระพิทักษ์เขตขันธ์หรือพิทักษ์เขื่อนขันธ์ เจ้าเมืองหนองหานหรือเมืองหนองหานน้อย (อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี) เชื้อสายราชวงศ์เจ้าจารย์เเก้วเเห่งเมืองท่งศรีภูมิหรือสุวรรณภูมิ (อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ในปัจจุบัน) ขอพระราชทานยกฐานะบ้านหนองหอยขึ้นเป็นเมือง เนื่องจากเห็นว่าเป็นทำเลที่ดี มี กุ้ง หอย ปู ปลา แหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ เจ้าเมืองหนองหานจึงมีใบบอก กราบบังคมทูลขอตั้งบ้านป่าเป้าเมืองไพรในแขวงเมืองหนองหาน (ไม่ได้ตั้งที่บ้านหนองหอย) เป็นเมืองวาริชภูมิ แล้วให้ท้าวสุพรหม เป็นพระสุรินทร์บริรักษ์ (สุพรหม) เป็นเจ้าเมืองวาริชภูมิท่านเเรกขึ้นตรงต่อเมืองหนองหาน เเต่ต่อมาชาวเมืองวาริชภูมิก็ไม่ได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านป่าเป้าเมืองไพรพื้นที่ที่เสนอที่ตั้งเมืองตามใบบอกหากแต่ยังคงอาศัยอยู่ที่บ้านหนองหอย แขวงเมืองสกลนครตามเดิม[1][2] ในช่วงระยะแรกของเมืองวาริชภูมิ การทำราชการต่าง ๆ จะขึ้นกับเมืองหนองหาน แต่เกิดกรณีพิพาทเขตแดนระหว่างเมืองหนองหาน กับเมืองสกลนครอยู่บ่อยครั้ง สาเหตุเนื่องมาจากการที่ราษฎรเมืองวาริชภูมิไม่ไปอยู่ในท้องที่ตามตราภูมิเมืองนั้น ทำให้เกิดปัญหาเรื่องตัวเลือกระหว่างเมืองหนองหานและเมืองสกลนคร จนกระทั่งในที่สุด ปี พ.ศ. 2435 พลตรี พระเจ้าบรมวงษ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ มีคำสั่งให้โอนการทำราชการของเมืองวาริชภูมิไปขึ้นกับเมืองสกลนคร แต่ให้กรมการเมืองวาริชภูมิยังคงตำแหน่งเดิมทุกคน และในปี พ.ศ. 2441 มีพระราชโองการประกาศใช้ข้อบังคับท้องที่ ร.ศ.117 ให้ยกเลิกตำแหน่ง อุปฮาด ราชบุตร ราชวงษ์ ซึ่งเป็นตำแหน่งเดิมแบบอาณาจักรล้านช้างโบราณ มาเป็นตำแหน่งข้าราชการเช่นเดียวกับส่วนกลางทั่วประเทศ ในครั้งนั้น คณะกรมการเมืองวาริชภูมิ ประกอบด้วย พระสุรินทรบริรักษ์ ( สุพรม เหมะธุลิน ) ผู้ว่าราชการเมือง, หลวงสมัครวาริชกิจ ( หล้า ) ปลัดเมือง, หลวงสฤษฎ์วาริชการ ( พิมพ์ ) ศาลเมือง ( ยกกระบัตรเมือง ), ขุนสมานวาริชภูมิ ( คำตัน ) ศาลเมือง ( ยกกระบัตรเมือง ), ขุนราชมหาดไทย ( เคน ) มหาดไทย, ขุนบริบาล (วันทอง ) นครบาล, ขุนพรหมสุวรรณ ( เพชร ) คลังเมือง และขุนศรีสุริยวงศ์ ( บุตร ) โยธาเมือง[3] เรียงลำดับการเปลี่ยนแปลงของเมืองวาริชภูมิได้ดังนี้
ที่ตั้งและอาณาเขตอำเภอวาริชภูมิตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคอำเภอวาริชภูมิแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 71 หมู่บ้าน ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่อำเภอวาริชภูมิประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
อ้างอิง
|