การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศเวียดนามจำนวนผู้ได้รับวัคซีนสองโดส (ตามร้อยละของประชากรทั้งหมด):
น้อยกว่า 20%
20-40%
41-60%
61-80%
81-100% |
วันที่ | 8 มีนาคม 2564 (2021-03-08) – ปัจจุบัน |
---|
ที่ตั้ง | เวียดนาม |
---|
สาเหตุ | การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศเวียดนาม |
---|
เป้าหมาย | การสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
---|
งบประมาณ | 25.2 ล้านล้านด่ง (1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[1][2] |
---|
จัดโดย | กระทรวงสาธารณสุขเวียดนาม |
---|
ผู้เข้าร่วม | 64,767,521 คนได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดส
36,095,377 คนได้รับวัคซีนทั้งสองโดส[3] |
---|
ผล | 66.37% ของประชากรเวียดนามได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดส
36.99% ของประชากรเวียดนามได้รับวัคซีนทั้งสองโดส |
---|
การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในประเทศเวียดนามเป็นการรณรงค์สร้างภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ในประเทศ หลังจากวัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด–แอสตราเซเนกาได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2564 การฉีดวัคซีนเริ่มขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564 และจะดำเนินการต่อเนื่องตลอดทั้งปีโดยมีเป้าหมายในการฉีดวัคซีนร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมดภายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565[4] ต่อมาวัคซีนสปุตนิกวี ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564[5] ขณะที่วัคซีนโควิด-19 ของซิโนฟาร์ม ได้รับการอนุมัติเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2564[6]
นี่เป็นการรณรงค์สร้างภูมิคุ้มกันครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศด้วยปริมาณวัคซีนมากกว่า 150 ล้านโดส[7] แม้ว่าเวียดนามจะประสบความสำเร็จในการป้องกันโรคและควบคุมการระบาดได้ แต่โครงการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศนั้นถือว่าเริ่มช้ากว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก[8][9] เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวียดนามได้ฉีดวัคซีนทั่วประเทศไปแล้ว 100,862,898 โดส[3]
ประวัติ
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 รัฐบาลเวียดนามประกาศว่าได้ทำข้อตกลงจัดหาวัคซีนสปุตนิกวี 50 ถึง 150 ล้านโดสจากรัสเซีย นอกจากนี้ รัสเซียจะบริจาคเครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ และอุปกรณ์จำนวนหนึ่งให้กับเวียดนามเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งรวมถึงวัคซีน ในระหว่างนี้ นักวิจัยชาวเวียดนามจะยังคงพัฒนาวัคซีนของประเทศต่อไป[10][11]
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำให้รัฐบาลให้การรับรองวัคซีนจากแอสตราเซเนกา, กามาเลีย และโมเดอร์นา สำหรับการฉีดวัคซีนในประเทศ รัฐมนตรีเหงียน ทัญ ลอง (Nguyễn Thanh Long ) กล่าวว่าวัคซีนได้รับการอนุมัติภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินระหว่างการระบาดในจังหวัดหายเซือง และจังหวัดกว๋างนิญ[12] แอสตราเซเนกาให้คำมั่นว่าจะจัดหาวัคซีนประมาณ 30 ล้านโดส ให้เวียดนามในปี 2564[13][14][15]
นอกจากข้อตกลงกับแอสตราเซเนกา เวียดนามยังเร่งการเจรจากับไฟเซอร์, โมเดอร์นา, เคียวแว็ก, จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และกามาเลีย[16][17]
ตามแผนการปรับใช้และการฉีดวัคซีนแห่งชาติ (National Deployment and Vaccination plan, NDVP) ขององค์การอนามัยโลกซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวียดนามจะได้รับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนดังกล่าวจากคณะกรรมการพิจารณาของ NDVP ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่จำเป็นในการรับวัคซีนโควิด-19 ผ่าน COVAX Facility ซึ่งเป็นกลไกระดับโลกสำหรับการพัฒนา การผลิต และการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 สำหรับทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง[18] โครงการโคแวกซ์ได้ยืนยันว่าเวียดนามจะได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกา 30 ล้านโดสในปี พ.ศ. 2565[19] วัคซีนชุดแรกที่มาจากกลไกของโคแวกซ์ จำนวน 811,200 โดส มาถึงท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่ายของฮานอยเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564[20]
เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 มีผู้เสียชีวิตรายแรกหลังจากฉีดวัคซีนของแอสตราเซเนกาในเวียดนาม โดยเธอเป็นบุคลากรทางการแพทย์อายุ 35 ปีจากจังหวัดอานซาง[21][22]
การจัดหาวัคซีน
รัฐบาลเริ่มจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้[23]
วัคซีน
|
แหล่งกำเนิด
|
ความก้าวหน้า
|
จำนวนที่สั่งผลิต (โดส)
|
จัดส่งแล้ว (โดส)
|
อนุมัติ
|
นำไปใช้
|
หมายเหตุ
|
วัคซีนโควิด-19 ของ ออกซฟอร์ด–แอสตราเซเนกา
|
สหราชอาณาจักร, สวีเดน
|
การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3[24]
|
68.9 ล้าน
|
2,899,300
|
30 มกราคม 2564[25]
|
8 มีนาคม 2564[26]
|
รวม 39.9 ล้านโดสผ่านโครงการโคแวกซ์และบริจาคโดยญี่ปุ่น[27][28] ผลิตโดย SK Bioscience และ Catalent Biologics[29][30]
|
สปุตนิกวี
|
รัสเซีย
|
การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3
|
20 ล้าน[31][32][33]
|
1,000
|
23 มีนาคม 2564[34]
|
รอผล
|
รัสเซียบริจาค 2,000 โดส กำลังมีการเจรจากับผู้ผลิตเพื่อขอรับใบอนุญาตผลิตในเวียดนาม[35]
|
ซิโนฟาร์ม
|
จีน
|
การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3
|
ไม่มีข้อมูล[36]
|
500,000[37]
|
4 มิถุนายน 2564[38]
|
รอผล
|
แม้ว่าเวียดนามจะไม่ได้สั่งซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม แต่จีนได้บริจาควัคซีนในจำนวน 500,000 โดส[36][37] โดยใช้กับชาวจีนในเวียดนาม, ผู้ที่ต้องการไปเรียนหรือทำงานในจีน และผู้ที่อาศัยบริเวณชายแดนติดกับจีน[37][39]
|
ไฟเซอร์-ไบออนเทค
|
เยอรมนี, สหรัฐ
|
การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3
|
31 ล้าน[17][40]
|
ไม่มีข้อมูล
|
12 มิถุนายน 2564[41]
|
รอผล
|
ชุดแรกคาดว่าจะจัดส่งได้ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564[42]
|
โมเดอร์นา
|
สหรัฐ
|
การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3
|
5 ล้าน[43][44]
|
ไม่มีข้อมูล
|
รอผล
|
รอผล
|
|
จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน
|
สหรัฐ, เนเธอร์แลนด์
|
การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3
|
ไม่ทราบ
|
ไม่มีข้อมูล
|
รอผล
|
รอผล
|
|
โคแว็กซิน
|
อินเดีย
|
การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3
|
ไม่ทราบ
|
ไม่มีข้อมูล
|
รอผล[45]
|
รอผล
|
|
Nanocovax
|
เวียดนาม
|
การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3[1]
|
(สามารถผลิตได้ 70 ล้านโดสต่อปี)[1]
|
|
รอผล
|
รอผล
|
|
COVIVAC
|
เวียดนาม
|
การทดลองทางคลินิกระยะที่ 1[46]
|
(สามารถผลิตได้ปีละ 6–30 ล้านโดส)[47]
|
|
รอผล
|
รอผล
|
|
Vabiotech
|
เวียดนาม
|
การทดลองทางคลินิกระยะที่ 1[48]
|
|
|
รอผล
|
รอผล
|
|
- แม้ว่าจีนมีการประกาศว่าจะจัดลำดับความสำคัญในการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแว็กและซิโนฟาร์ม[49] แต่เวียดนามเป็นประเทศสุดท้ายในอาเซียนที่เปิดเผยต่อสาธารณะว่าจะใช้วัคซีนเหล่านี้เนื่องจากความรู้สึกต่อต้านจีนในหมู่ประชาชน[50] นอกจากนั้นยังเป็นหนึ่งในประเทศสุดท้ายที่อนุมัติวัคซีนของจีน[51]
- สำหรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ผลิตในประเทศ กระทรวงสาธารณสุขเวียดนามคาดว่าจะมีวัคซีนชุดแรกพร้อมใช้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 วัคซีนเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในการรณรงค์ฉีดวัคซีนของประเทศได้ในปี 2565 เพื่อให้แน่ใจว่าประเทศมีแหล่งที่มาของอุปทานและความมั่นคงด้านสุขภาพ ขจัดอุปสรรคในการจัดซื้อวัคซีนจากต่างประเทศ[19] วัคซีนที่ผลิตในประเทศทั้งสองชนิด ได้แก่ นาโนโคแวกซ์และโควิแว็ก ได้เริ่มการทดลองในเดือนมกราคมและมีนาคม พ.ศ. 2564 ตามลำดับ[52][53]
วัคซีนในระยะทดลอง
สำหรับหัวข้อที่ครอบคลุม โปรดดู วัคซีนโควิด-19, Nanocovax, Covivac (วัคซีนโควิด-19 ของเวียดนาม), วัคซีนโควิด-19 ของ Vabiotech
กำหนดการดำเนินงาน
บริษัทร่วมทุนวัคซีนเวียดนาม (VNVC) ซึ่งเป็นบริษัทที่รับผิดชอบการนำเข้าและจัดเก็บวัคซีนในเวียดนาม ได้กล่าวว่าบริษัทมีพนักงานและสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมในการจัดเก็บวัคซีนได้มากถึง 170 ล้านโดส มีคลังสินค้าเก็บวัคซีนแยกในต่างจังหวัด 49 แห่ง คลังสินค้าห้องเย็น 2 แห่ง และคลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิติดลบ 3 แห่ง ซึ่งมีการจัดการอุณหภูมิที่ -40° ถึง -86°C ความสามารถในการให้บริการของ VNVC ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 รองรับได้ถึง 100,000 รายการต่อวัน และสามารถเพิ่มความสามารถในการให้บริการวัคซีนโควิด-19 ได้ถึง 4 ล้านโดสต่อเดือน[64]
แผนการฉีดวัคซีนของเวียดนามสำหรับปี พ.ศ. 2564[65][66]
กลุ่ม
|
จำนวน
|
เป้าการฉีดวัคซีน ครอบคลุม (%)
|
จำนวนผู้รับวัคซีน
|
ไตรมาสแรก
|
บุคลากรทางการแพทย์
|
500,000
|
95%
|
475,000
|
บุคคลที่มีหน้าที่โดยตรงในการป้องกันการระบาด
|
116,000
|
110,200
|
รวม
|
616,000
|
585,200
|
ไตรมาสที่สอง
|
เจ้าหน้าที่ศุลกากร
|
9,200
|
95%
|
8,740
|
นักการทูต
|
4,080
|
3,876
|
บุคลากรของกองทัพ
|
1,027,000
|
975,650
|
เจ้าหน้าที่ตำรวจ
|
304,000
|
288,800
|
บุคลากรทางการศึกษา
|
550,000
|
522,500
|
รวม
|
1,894,280
|
1,799,566
|
ไตรมาสที่ 3 และ 4
|
บุคลากรทางการศึกษา
|
750,000
|
95%
|
712,500
|
ผู้มีอายุมากกว่า 65 ปี
|
7,600,000
|
7,220,000
|
ผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง (การบิน, การขนส่ง, การท่องเที่ยว, อื่น ๆ)
|
1,930,000
|
1,833,500
|
ผู้มีโรคประจำตัว
|
7,000,000
|
6,650,000
|
รวม
|
17,280,000
|
16,416,000
|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขเจิ่น วัน ถวน (Trần Văn Thuấn ) ได้ระบุว่า เพื่อสร้างการคุ้มกันโรคสำหรับประชากรส่วนใหญ่ เวียดนามจำเป็นต้องกระจายอุปทานของวัคซีน ซึ่งรวมถึงวัคซีนที่ผลิตในประเทศ และต้องเพิ่มทรัพยากรจากภาคธุรกิจและงบประมาณของฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่นให้สูงสุดนอกเหนือจากงบประมาณของรัฐบาล เพื่อให้โปรแกรมการฉีดวัคซีนบรรลุเป้าหมาย งบประมาณที่จำเป็นในการฉีดวัคซีนสำหรับ 20% ของประชากรทั้งหมดอยู่ที่ 6.739 ล้านล้านด่ง (9,090.6 ล้านบาท) โดยกว่า 90% ของค่าใช้จ่ายนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการโคแวกซ์ รัฐบาลจะบริจาคเงิน 24,000 ล้านด่ง ส่วนที่เหลือมาจากฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับเทศบาลและจังหวัด และมาจากภาคเอกชน[67]
อาการไม่พึงประสงค์หลังการฉีดวัคซีน
จากบุคลากรทางการแพทย์ 69 คนของโรงพยาบาลสนามในจังหวัดซาลาย ที่ฉีดวัคซีนของแอสตราเซเนกา เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2564 มี 8 คนมีอาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรง และพยาบาลหญิงหนึ่งคนมีผลข้างเคียงที่รุนแรง ห้านาทีหลังการฉีดพยาบาลคนนี้ (ซึ่งมีประวัติเป็นโรคหอบหืด) มีอาการชาในช่องปาก อาเจียน เวียนศีรษะ แน่นหน้าอก และหายใจลำบาก[68] ณ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564 จากผู้เข้ารับการฉีดวัคซีน 20,000 คน มีผู้ป่วย 4,078 รายที่มีอาการไม่รุนแรง เช่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ท้องร่วง มีไข้หรือลมพิษ โดย 5 รายมีอาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) ระดับ 2 และ 1 รายมีอาการระดับ 3 ทุกกรณีอยู่ในสภาวะคงที่ กระทรวงสาธารณสุขได้ขอให้หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ซึ่งเผชิญกับปฏิกิริยารุนแรงหลังการฉีด จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อประเมินสาเหตุ[69][70] ไม่มีรายงานการเกิดลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือดรุนแรงแบบในยุโรปบางประเทศ[70]
เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวียดนามมีผู้เสียชีวิตรายแรกหลังจากการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา โดยเป็นบุคลากรทางการแพทย์อายุ 35 ปีในจังหวัดอานซาง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหญิงคนนี้ได้รับวัคซีน ในเช้าวันที่ 6 พฤษภาคม ที่สถานที่ฉีดวัคซีนในโรงพยาบาลทั่วไปของเมืองตันเจา (Tân Châu ) ก่อนการรับวัคซีนเธอได้รับการคัดกรองและอธิบายเกี่ยวกับปฏิกิริยาหลังการฉีด[22][71]
หลังการฉีดวัคซีน เธอมีปฏิกิริยาช็อกจากอาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) ตามข้อสรุปของกรมอนามัยจังหวัดอานซาง สาเหตุของการเสียชีวิตคือ อาการแพ้รุนแรงที่เกิดจากการแพ้ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์[21]
ความคิดเห็นสาธารณะ
ผลการสำรวจความคิดเห็นที่จัดทำขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงธันวาคม พ.ศ. 2563 พบว่าเวียดนามมีอัตราการยอมรับวัคซีนสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดย 98% ของผู้ตอบแบบสำรวจตอบว่าพวกเขา "จะรับแน่นอนหรืออาจจะรับ" เมื่อมีวัคซีนโควิด-19 พร้อม[72]
เชิงอรรถ
- ↑ ระยะล่าสุดที่มีการเผยแพร่ผลการทดลอง
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Tomoya Onishi (4 June 2021). "Vietnam launches $1.1bn COVID vaccine fund: 5 things to know". Nikkei Asia.
- ↑ "Cần hơn 25.000 tỷ đồng để mua vaccine COVID-19". VnExpress. 20 May 2021.
- ↑ 3.0 3.1 "Ngày 16/11: Có 9.650 ca mắc COVID-19 tại 59 tỉnh, thành, tăng hơn 1.000 ca so với hôm qua". Sức khỏe & Đời sống/Ministry of Health. 16 November 2021. สืบค้นเมื่อ 16 November 2021.
- ↑ TOMOYA ONISHI (28 March 2021). "Vietnam travel bubble with Japan loses fizz as execs shun tight rules". Nikkei Asia.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "Vietnam approves Russia's Sputnik V vaccine". France 24. 23 March 2021.
- ↑ VnExpress. "Vietnam approves Sinopharm Covid vaccine for emergency use - VnExpress International". VnExpress International – Latest news, business, travel and analysis from Vietnam (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-04.
- ↑ "Bắt đầu tiêm vaccine Covid-19" (ภาษาเวียดนาม). VnExpress. 8 March 2021. สืบค้นเมื่อ 8 March 2021.
- ↑ Lê Phương; Thuỳ An; Lê Cầm (6 May 2021). "Đợt dịch Covid-19 'bùng phát nhiều ổ, mất dấu F0, đa dạng biến chủng'". VnExpress (ภาษาเวียดนาม).
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "Vietnam calls for faster vaccine rollout before shots expire". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 16 April 2021.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ Lan Anh; Bảo Anh (14 August 2020). "Việt Nam đặt mua 50 - 150 triệu liều vắc xin ngừa COVID-19 của Nga". Tuổi Trẻ.
- ↑ Nguyen, Phuong (14 August 2020). "Vietnam to buy Russian COVID-19 vaccine". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-03.
- ↑ "Đề xuất Bộ Y tế phê duyệt thêm 2 vaccine COVID-19 của Mỹ và Nga" (ภาษาเวียดนาม). Ministry of Health (Vietnam). 25 February 2021. สืบค้นเมื่อ 25 February 2021.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Việt Nam announces COVID-19 vaccine delivery dates, warns of scams". Việt Nam News. 11 March 2021.
- ↑ "Nóng: Bộ Y tế thông tin lịch trình cung ứng 60 triệu liều vắc xin phòng COVID-19 tại Việt Nam" (ภาษาเวียดนาม). Sức khỏe & Đời sống. 10 March 2021.
- ↑ "Vaccination and surging confidence foster economic growth". Nhân Dân. 10 March 2021.
- ↑ "Vietnam engages in negotiations to extend vaccine coverage". VOV. 11 March 2021.
- ↑ 17.0 17.1 Nguyen, Phuong (14 May 2021). "Vietnam seeks 31 mln doses of Pfizer-BioNTech vaccine in 2021". Reuters.
- ↑ "Vietnam included in Covax vaccine compensation program". VnExpress. 23 February 2021. สืบค้นเมื่อ 23 February 2021.
- ↑ 19.0 19.1 "Lùi thời gian vaccine Covid-19 Covax về Việt Nam" (ภาษาเวียดนาม). VnExpress. 23 March 2021. สืบค้นเมื่อ 23 March 2021.
- ↑ "811.000 liều vắc xin AstraZeneca về tới Việt Nam". Tuổi Trẻ. 1 April 2021. สืบค้นเมื่อ 1 April 2021.
- ↑ 21.0 21.1 "Người đầu tiên tử vong sau tiêm vaccine Covid-19". VnExpress (ภาษาเวียดนาม). 7 May 2021.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ 22.0 22.1 "Vietnam reports first death in patient who received AstraZeneca COVID-19 vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 7 May 2021.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "Bộ trưởng Y tế: 'Việt Nam không thiếu vaccine Covid-19'" (ภาษาเวียดนาม). VnExpress. 24 February 2021. สืบค้นเมื่อ 24 February 2021.
- ↑ "Coronavirus Vaccine Tracker". New York Times. 25 March 2021. สืบค้นเมื่อ 25 March 2021.
- ↑ James Pearson; Khanh Vu (2021-01-30). "Vietnam approves AstraZeneca vaccine, cuts short Communist Party congress". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-13.
- ↑ "Coronavirus Vaccine Tracker". Nikkei Asia. 8 March 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-31. สืบค้นเมื่อ 25 March 2021.
- ↑ Viết Tuân (2021-04-27). "Covax cung ứng thêm gần 9 triệu liều vaccine cho Việt Nam". VnExpress.
- ↑ "Nhật Bản hỗ trợ Việt Nam 1 triệu liều vaccine phòng chống COVID-19". Vietnam Government Portal. 15 June 2021.
- ↑ "Vietnam's first batch of COVID-19 vaccine arrives from South Korea". Reuters. 2021-02-24.
- ↑ "Việt Nam tiếp nhận lô vaccine COVID-19 thứ 2 từ cơ chế COVAX với hơn 1,682 triệu liều". Vietnam Television. 16 May 2021. สืบค้นเมื่อ 16 May 2021.
- ↑ Lan Anh (2 June 2021). "Việt Nam mua 20 triệu liều vắc xin Sputnik V của Nga". Tuổi Trẻ.
- ↑ Lê Nga (2 June 2021). "Vietnam to receive 20 million Russian-made vaccine doses". VnExpress.
- ↑ Khanh Vu (2 June 2021). "Vietnam to buy 20 mln doses of Sputnik V vaccine this year". Reuters.
- ↑ "Vietnam says approves Russia's Sputnik V vaccine for use". Reuters. 23 March 2021. สืบค้นเมื่อ 25 March 2021.
- ↑ Thục Linh; Lê Nga (2021-03-16). "Nga tặng vaccine Sputnik V cho Việt Nam". VnExpress.
- ↑ 36.0 36.1 "Bộ Y tế phê duyệt có điều kiện vắc xin ngừa COVID-19 của Trung Quốc". Tuổi Trẻ. 4 June 2021.
- ↑ 37.0 37.1 37.2 "500.000 liều vaccine Covid-19 Sinopharm về Việt Nam". VnExpress. 20 June 2021. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
- ↑ "Vietnam approves China's Sinopharm vaccine for use against COVID-19". Reuters. 4 June 2021. สืบค้นเมื่อ 4 June 2021.
- ↑ "3 nhóm ưu tiên được tiêm 500.000 liều vắc-xin Covid-19 Sinopharm của Trung Quốc". Người Lao Động. 19 June 2021.
- ↑ Xuan Quynh Nguyen; Mai Ngoc Chau (14 May 2021). "Vietnam to Get 31 Million Pfizer-BioNTech Vaccine Doses in 2021". Bloomberg News.
- ↑ "Việt Nam phê duyệt vaccine Covid-19 Pfizer". VnExpress. 12 June 2021. สืบค้นเมื่อ 12 June 2021.
- ↑ Tran, Thu (June 16, 2021). "Lô vaccine Pfizer đầu tiên sẽ về Việt Nam trong tháng sau". ZingNews.
- ↑ "Toàn cảnh đàm phán và các hợp đồng cung cấp vaccine ngừa COVID-19 cho Việt Nam trong năm 2021" (ภาษาเวียดนาม). Vietnam Television. 2 June 2021. สืบค้นเมื่อ 2 June 2021.
- ↑ "Bộ Y tế đàm phán mua vaccine Covid-19 Johnson & Johnson". VnExpress. 4 June 2021.
- ↑ "Việt Nam sẽ rút ngắn thủ tục cấp phép vaccine Covid-19". VnEconomy. 31 March 2021.
- ↑ "Vietnam kicks off trials for second homegrown vaccine candidate". Nikkei Asia. 19 March 2021. สืบค้นเมื่อ 25 March 2021.
- ↑ "Human trials of second homegrown COVID-19 vaccine begin". Vietnam News. 22 January 2021. สืบค้นเมื่อ 25 March 2021.
- ↑ "Dự kiến cuối quý 3-2021, Việt Nam sẽ có vaccine phòng Covid-19 đầu tiên". Nhân Dân. 22 March 2021. สืบค้นเมื่อ 25 March 2021.
- ↑ "China promises Mekong neighbours access to Chinese Covid-19 vaccine". South China Morning Post. 2020-08-24. สืบค้นเมื่อ 2020-08-24.
- ↑ "Vietnam begins Covid-19 vaccination drive without China-made shots". SCMP. 7 March 2021. สืบค้นเมื่อ 8 March 2021.
- ↑ "Source information country by country". Our World in Data. สืบค้นเมื่อ 4 June 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ VIR, Vietnam Investment Review- (February 28, 2021). "First Vietnamese COVID-19 vaccine Nano Covax enters second phase of human trials". Vietnam Investment Review - VIR. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-18. สืบค้นเมื่อ 2021-06-06.
- ↑ https://moh.gov.vn/tin-noi-bat/-/asset_publisher/3Yst7YhbkA5j/content/6-tinh-nguyen-vien-tiem-thu-nghiem-vac-xin-covivac-phong-covid-19-cua-viet-nam
- ↑ "VN starts injection of homegrown COVID-19 vaccine in first-stage human trial". Viet Nam News. 17 December 2020.
- ↑ "Draft landscape and tracker of COVID-19 candidate vaccines". WHO. 26 February 2021.
- ↑ "How much does first Made-in Vietnam COVID-19 vaccine cost?". Voice of Vietnam. 11 December 2020.
- ↑ Local Nanocovax vaccine's phase 3 trial to begin next week
- ↑ Le C, Thu A (26 February 2021). "Vietnam enters second phase of Covid-19 vaccine trials". VnExpress.
- ↑ "Second Việt Nam-produced COVID-19 vaccine to enter human trials this month". Vietnam News. January 5, 2021.
- ↑ "Draft landscape and tracker of COVID-19 candidate vaccines". WHO. 30 March 2021.
- ↑ "Human trials start on second Vietnam-produced COVID-19 vaccine". Nhân Dân. March 15, 2021.
- ↑ "A Phase 1/2 Safety and Immunogenicity Trial of COVID-19 Vaccine COVIVAC". clinicaltrials.gov. United States National Library of Medicine. สืบค้นเมื่อ 13 April 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "Dự kiến cuối quý 3-2021, Việt Nam sẽ có vaccine phòng Covid-19 đầu tiên". Nhân Dân. 22 March 2021. สืบค้นเมื่อ 25 March 2021.
- ↑ "Việt Nam chuẩn bị đủ kho siêu lạnh để nhập vaccine Covid-19". VnExpress (ภาษาเวียดนาม). 22 February 2021. สืบค้นเมื่อ 24 February 2021.
- ↑ "Vietnam details priorities for first phase of COVID-19 vaccinations". สืบค้นเมื่อ 24 February 2021 – โดยทาง Channel News Asia.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Lịch trình tiêm vaccine COVID-19 cho 18 triệu người Việt Nam đầu tiên". Vietnam Television. สืบค้นเมื่อ 23 February 2021.
- ↑ "VN's health ministry details COVID-19 vaccine rollout plan, lists priority groups to receive the shots". Vietnam News. สืบค้นเมื่อ 23 February 2021.
- ↑ "9 người ở Gia Lai bị phản ứng phụ sau tiêm vaccine Covid-19". VnExpress.
- ↑ "Việt Nam sẽ tiếp tục tiêm phòng COVID-19 bằng vaccine AstraZeneca". VTV.
- ↑ 70.0 70.1 "Vietnam continues AstraZeneca rollout despite blood clot concern". VnExpress. 12 March 2021.
- ↑ "After lull, cases spread in Vietnam's cities, provinces". Associated Press. 8 May 2021.
- ↑
|
---|
|
|
|
|
สถาบัน |
---|
ศูนย์ควบคุม และป้องกันโรค | |
---|
โรงพยาบาล และสิ่งเกี่ยวข้อง | |
---|
องค์กร | |
---|
|
|
|
บุคคล |
---|
แพทย์ผู้นำ การปฏิบัติ | |
---|
นักวิจัย | |
---|
เจ้าหน้าที่ | จีน | |
---|
อิตาลี | |
---|
สหราชอาณาจักร | |
---|
สหรัฐ | |
---|
|
---|
อื่น ๆ | |
---|
ผู้เสียชีวิต | |
---|
|
|
ข้อมูล (แม่แบบ) |
---|
ทั่วโลก | |
---|
แอฟริกา | |
---|
เอเชีย | |
---|
ยุโรป (แผนภูมิ) | |
---|
อเมริกาเหนือ | |
---|
โอเชียเนีย | |
---|
อเมริกาใต้ | |
---|
|
|
|