Share to:

 

จักรพรรดิซูซากุ

จักรพรรดิซูซากุ
朱雀天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์16 ตุลาคม ค.ศ. 930 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 946
ราชาภิเษก14 ธันวาคม ค.ศ. 930
ก่อนหน้าไดโงะ
ถัดไปมูรากามิ
พระราชสมภพ7 กันยายน ค.ศ. 921
เฮอังเกียว (เกียวโต)
สวรรคต6 กันยายน ค.ศ. 952(952-09-06) (30 ปี)
เฮอังเกียว (เกียวโต)
ฝังพระศพไดโงะ โนะ มิซาซางิ (醍醐陵; เกียวโต)
พระราชบุตรจักรพรรดินีมาซาโกะ
พระสมัญญานาม
สึอิโง: จักรพรรดิซูซากุ (朱雀院 หรือ 朱雀天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิไดโงะ
พระราชมารดาฟูจิวาระ โนะ อนชิ

จักรพรรดิซูซากุ (ญี่ปุ่น: 朱雀天皇すざくてんのうโรมาจิSuzaku-tennō; 7 กันยายน ค.ศ. 921 – 6 กันยายน ค.ศ. 952) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 61[1]ตามที่ได้จัดเรียงไว้ในลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[2]

รัชสมัยซูซากุอยู่ในช่วง ค.ศ. 930 ถึง 946[3]

พระราชประวัติ

ก่อนขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ซูซากุมีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ)[4] เป็น ฮิโรอากิระ-ชินโน[5] และยังรู้จักในอีกพระนามว่า ยูตาอากิระ-ชินโน (ญี่ปุ่น: 寛明親王ゆたあきらしんのうโรมาจิYutaakira-shinnō)[6]

ฮิโรอากิระ-ชินโนเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 11 ในจักรพรรดิไดโงะกับสมเด็จพระจักรพรรดินีอนชิ ธิดาในฟูจิวาระ โนะ โมตตสึเนะ ผู้สำเร็จราชการและเสนาบดีผู้ยิ่งใหญ่ในสภาแห่งรัฐ[7]

เมื่อจักรพรรดิไดโงะ พระราชบิดาได้สละราชบัลลังก์ในวันที่ 22 เดือน 9 ปี เอ็นโช ที่ 8 ตรงกับวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 930 เจ้าชายฮิโรอากิระพระราชโอรสองค์ที่ 11 พระชนมายุเพียง 7 พรรษาจึงขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิซูซากุ โดยได้มีการประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 22 เดือน 11 ปี เอ็นโช ที่ 8 ตรงกับวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 930

จักรพรรดิซูซากุได้สละราชบัลลังก์เมื่อวันที่ 13 เดือน 4 ปี เท็งเงียว ที่ 2 ตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 946 ให้กับเจ้าชายนาริอากิระ พระอนุชาต่างพระราชมารดา ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิมุระกะมิ หลังจากครองสิริราชสมบัติได้ 15 ปี

ซูซากุมีจักรพรรดินีหรือพระมเหสี 2 พระองค์ และพระราชธิดาเพียงองค์เดียว[8]

รัชสมัยของซูซากุ

ปีในรัชสมัยซูซากุมีมากกว่าหนึ่งชื่อศักราชหรือเน็งโง[9]

พระราชพงศาวลี

อ้างอิง

  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 朱雀天皇 (61)
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, pp. 69–70.
  3. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 134–139; Brown, Delmer. (1879). Gukanshō, pp. 294–295; Varley, H. Paul (1980) Jinnō Shōtōki, pp. 181–183.
  4. Brown, p. 264; before Emperor Jomei, the personal names of the emperors were very long, and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
  5. Titsingh, p. 134; Varley, p. 181.
  6. Brown, p. 294.
  7. Varley, p. 181.
  8. Brown, p. 295
  9. Titsingh, p. 134.
  10. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). April 30, 2010. สืบค้นเมื่อ February 14, 2018.

ข้อมูล

Kembali kehalaman sebelumnya