จักรพรรดิโคโนเอะ (ญี่ปุ่น : 近衛 天皇 ; โรมาจิ : Konoe-tennō ; 16 มิถุนายน ค.ศ. 1139 – 22 สิงหาคม ค.ศ. 1155) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 76[ 1] ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์ แบบดั้งเดิม[ 2]
รัชสมัยของโคโนเอะอยู่ในช่วง ค.ศ. 1142 ถึง 1155 [ 3]
พระราชวงศ์
ก่อนสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ พระองค์มีพระนามเดิม (อิมินะ )[ 4] ว่า เจ้าชายนาริฮิโตะ (体仁親王)[ 5] หรือ เจ้าชายโทชิฮิโตะ[ 6]
พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 8 ของจักรพรรดิโทบะ [ 6] พระมารดาของพระองค์คือฟูจิวาระ โนะ นาริโกะ (1117–1160) พระมเหสีในจักรพรรดิโทบะ[ 7]
เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของจักรพรรดิโคโนเอะ
เจ้าชายนาริฮิโตะได้รับการประกาศพระนามแต่งตั้งให้เป็นรัชทายาทไม่นานหลังจากที่พระองค์ประสูติในปี ค.ศ. 1139 และพระองค์ได้รับการประกาศให้เป็นจักรพรรดิเมื่อพระชนมายุเพียง 3 พรรษา
ปีเอจิ ที่ 1 , เดือน 3 (ค.ศ. 1141): อดีตจักรพรรดิโทบะโกนพระเกศาและกลายเป็นพระภิกษุเมื่อพระชนมายุเพียง 39 พรรษา[ 8]
ปีเอจิที่ 1 , วันที่ 7 เดือน 12 (永治元年; ค.ศ. 1141): ปีที่ 18 ในรัชสมัยของจักรพรรดิซูโตกุ (崇德天皇十八年) องค์จักรพรรดิได้สละราชบัลลังก์และสืบราชบัลลังก์โดยพระอนุชาของพระองค์ พระโอรสองค์ที่ 8 ของอดีตจักรพรรดิโทบะ หลังจากนั้นไม่นาน จักรพรรดิโคโนเอะก็ได้สืบทอดราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศอย่างเป็นทางการ[ 9]
สมัยนั้นคัมปากุ คือ ฟูจิวาระ โนะ ทาดามิชิ กลายเป็นเซ็ชโช หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อดีตจักรพรรดิโทบะยังคงกำกับดูแลกิจการทั้งหมดของราชสำนัก ในขณะที่อดีตจักรพรรดิซูโตกุไม่มีพระราชอำนาจใด ๆ ความขัดแย้งนี้ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งมากมายตามมาในรัชสมัยของจักรพรรดิโคโนเอะ[ 6]
ปีโคจิ ที่ 2 เดือน 1 (2年康治1月, ค.ศ. 1143): อดีตจักรพรรดิโทบะอิน ซึ่งรู้จักกันในพระอิสริยยศไดโจโฮโอ หรือโฮโอ (太上法皇) ได้เสด็จไปเยี่ยมพระมารดาของพระองค์[ 6]
พระราชพงศาวลี
พงศาวลีของจักรพรรดิโคโนเอะ[ 10]
อ้างอิง
↑ Imperial Household Agency (Kunaichō ): 近衛天皇 (76)
↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, pp. 80.
↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 186–188 ; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 324–326; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki. p. 205.
↑ Brown, pp. 264. [Up until the time of Emperor Jomei , the personal names of the emperors (their imina ) were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.]
↑ Brown, p. 324; Varley, p. 205.
↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 Titsingh, p. 186.
↑ Kitagawa, H. (1975). The Tale of the Heike , p. 240.
↑ Titsingh, p. 185.
↑ Titsingh, p. 186 ; Brown, p. 324; Varley, p. 44. [A distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji ; and all sovereigns except Jitō , Yōzei , Go-Toba , and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Go-Murakami.]
↑ "Genealogy" . Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 27 October 2018 .
ข้อมูล