Share to:

 

จักรพรรดินิมเมียว

จักรพรรดินิมเมียว
仁明天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์22 มีนาคม ค.ศ. 833 – 4 พฤษภาคม ค.ศ. 850
ราชาภิเษก30 มีนาคม ค.ศ. 833
ก่อนหน้าจุนนะ
ถัดไปมนโตกุ
ประสูติ27 กันยายน ค.ศ. 808
มาซาระ (ญี่ปุ่น: 正良โรมาจิMasara)
สวรรคต6 พฤษภาคม ค.ศ. 850(850-05-06) (41 ปี)
เฮอังเกียว (เกียวโต)
ฝังพระศพฟูกากูซะ โนะ มิซาซางิ (深草陵; เกียวโต)
พระราชบุตร
กับพระองค์อื่น ๆ...
พระสมัญญานาม
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดินิมเมียว (仁明天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
ยามาโตะ-เนโกะ-อามัตสึมิชิรูชิ-โทโยซาโตะ โนะ มิโกโตะ (日本根子天璽豊聡慧尊)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิซางะ
พระราชมารดาทาจิบานะ โนะ คาจิโกะ

จักรพรรดินิมเมียว (ญี่ปุ่น: 仁明天皇โรมาจิNinmyō-tennō; 27 กันยายน ค.ศ. 808 – 6 พฤษภาคม ค.ศ. 850) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 54[1] ตามที่ได้จัดเรียงไว้ในลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[2] รัชสมัยของนิมเมียวอยู่ในช่วง ค.ศ. 833 ถึง 850 (ในยุคเฮอัง)[3]

เรื่องเล่าแบบดั้งเดิม

นิมเมียวเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองในจักรพรรดิซางะกับจักรพรรดินีทาจิบานะ โนะ คาจิโกะ โดยนิมเมียวมีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ) ว่า มาซาระ (ญี่ปุ่น: 正良โรมาจิMasara)[4] หลังสวรรคต พระองค์จึงได้รับตำcหน่ง นิมเมียว (ญี่ปุ่น: 仁明โรมาจิNinmyō)

จักรพรรดินิมเมียวมีจักรพรรดินี พระมเหสี และพระสนม (โคอิ) รวม 9 พระองค์ และมีพระราชโอรสธิดารวม 24 พระองค์[5]

เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของนิมเมียว

ฟูจิวาระ โนะ จุนชิ, ภาพวาดโดยเทไซ โฮกูบะ, ค.ศ. 1800 ถึง 1805, (Rijksmuseum Amsterdam)

ในวันที่ 18 เดือน 4 ปี โคนิง ที่ 14 ตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 823 หรือ 2 วันหลังจาก จักรพรรดิจุนนะ จักรพรรดิองค์ที่ 53 ผู้เป็นพระปิตุลา (อา) ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อจาก จักรพรรดิซางะ จักรพรรดิองค์ที่ 52 พระราชบิดาของเจ้าชายมาซาระจักรพรรดิจุนนะได้สถาปนาเจ้าชายมาซาระพระราชนัดดาพระชนมายุเพียง 14 พรรษาขึ้นเป็นรัชทายาทและผู้สืบราชบัลลังก์

เมื่อจักรพรรดิจุนนะสละราชบัลลังก์ในวันที่ 28 เดือน 2 ปี เท็นโช ที่ 10 ตรงกับวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 833 หลังจากครองสิริราชสมบัติได้ 9 ปีเจ้าชายมะซะระที่รัชทายาทพระชนมายุ 24 พรรษาจึงขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดินิมเมียว โดยหลังจากขึ้นสืบราชบัลลังก์ได้ไม่นานจักรพรรดินิมเมียวได้สถาปนา เจ้าชายสึเนซาดะ พระชนมายุเพียง 8 พรรษาพระโอรสของอดีตจักรพรรดิจุนนะขึ้นเป็นรัชทายาทและผู้สืบราชบัลลังก์

จากนั้นอีก 8 วันคือวันที่ 7 เดือน 3 ปี เท็นโช ที่ 10 ตรงกับวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 833 จักรพรรดินิมเมียวได้เข้าพิธีราชาภิเษกที่ พระราชวังหลวงเฮอัง

ในฤดูร้อนของปี ค.ศ. 842 ตรงกับปีที่ 9 ในรัชสมัยได้เกิดกบฏที่เรียกว่า กบฏปีโจวะ (อังกฤษ: Jōwa Incident) อันส่งผลให้เจ้าชายสึเนซาดะที่รัชทายาทถูกปลดจากตำแหน่งทำให้ เจ้าชายมิชิยาซุ (ญี่ปุ่น: Michiyasu-shinnō) (ต่อมาคือ จักรพรรดิมนโตกุ จักรพรรดิองค์ที่ 55) พระราชโอรสองค์ใหญ่ขึ้นเป็นรัชทายาท

จักรพรรดินิมเมียวสวรรคตในวันที่ 21 เดือน 3 ปี คาโช ที่ 3 ตรงกับวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 850 ขณะพระชนมายุได้ 41 พรรษาครองสิริราชสมบัติได้ 17 ปีภายหลังจากสวรรคตแล้วได้มีการถวายพระนามให้พระองค์ว่า จักรพรรดิฟูกากูซะ (ญี่ปุ่น: Fukakusa-tennō) ตามนามพระราชสุสานของพระองค์ต่อมาพระนามนี้ได้อนุโลมนำไปใช้เป็นพระนามของ จักรพรรดิโกะ-ฟุกะกุซะ จักรพรรดิองค์ที่ 89 ที่ปกครองในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 13

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา

พระมเหสี (เนียวโงะ) ภายหลังเป็นสมเด็นพระจักรพรรดินี พระพันปีหลวง (ไท-โคไตโง): ฟูจิวาระ โนะ จุนชิ (藤原順子; 809–871) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ ฟูยุตสึงุ

พระมเหสี (เนียวโงะ): ฟูจิวาระ โนะ ทากูชิ/ซาวาโกะ (藤原沢子; สวรรคต ค.ศ. 839) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ ฟูซัตสึงุ

  • พระราชโอรสองค์ที่ 2: เจ้าชายมูเนยาซุ (宗康親王; 828–868)
  • พระราชโอรสองค์ที่ 3: เจ้าชายโทกิยาซุ (時康親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิโคโก
  • พระราชโอรสองค์ที่ 4: เจ้าชายซาเนยาซุ (人康親王; 831–872)
  • เจ้าหญิงชินชิ (新子内親王; สวรรคต ค.ศ. 897)

พระมเหสี (เนียวโงะ): ฟูจิวาระ โนะ เทชิ/ซาดาโกะ (藤原貞子; สวรรคต ค.ศ. 864) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ ทาดาโมริ

  • พระราชโอรสองค์ที่ 8: เจ้าชายนาริยาซุ (成康親王; 836–853)
  • เจ้าหญิงชินชิ (親子内親王; สวรรคต ค.ศ. 851)
  • เจ้าหญิงเฮชิ (平子内親王; สวรรคต ค.ศ. 877)

นางพระกำนัล: ชิเงโนะ โนะ สึนาโกะ (滋野縄子) ธิดาในชิเงโนะ โนะ ซาดานูชิ

  • พระราชโอรสองค์ที่ 5: เจ้าชายโมโตยาซุ (本康親王; สวรรคต ค.ศ. 902)
  • พระราชธิดาองค์ที่ 9: เจ้าหญิงโทกิโกะ (時子内親王; สวรรคต ค.ศ. 847) ไซอิงที่ 2 แห่งศาลเจ้าคาโมะ (831–833)
  • เจ้าหญิงจูชิ (柔子内親王; สวรรคต ค.ศ. 869)

พระมเหสี (เนียวโงะ): ทาจิบานะ โนะ คาเงโกะ (橘影子; สวรรคต ค.ศ. 864) ธิดาในทาจิบานะ โนะ อูจิกิมิ

พระมเหสี (เนียวโงะ): ฟูจิวาระ มูซูโกะ (藤原息子)

พงศาวลี

[6]

อ้างอิง

  1. Emperor Ninmyō, Fukakusa Imperial Mausoleum, Imperial Household Agency
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, pp. 64–65.
  3. Brown and Ishida, pp.283–284; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki, p. 164-165; Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 106–112., p. 106, ที่กูเกิล หนังสือ
  4. Brown and Ishida, p. 282; Varley, p. 164.
  5. Brown and Ishida, p. 283.
  6. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 28 January 2018.

ข้อมูล

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya