จักรพรรดิโก-ซันโจ (ญี่ปุ่น : 後三条天皇 ; โรมาจิ : Go-Sanjō-tennō ; 3 กันยายน ค.ศ. 1034 - 15 มิถุนายน ค.ศ. 1073)[ 6] เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่น องค์ที่ 71[ 7] ตามที่ได้บันทึกไว้ในลำดับการสืบราชบัลลังก์ แบบดั้งเดิม[ 8] พระองค์มีพระนามเดิมว่า ทากาฮิโตะ (ญี่ปุ่น : 尊仁 ; โรมาจิ : Takahito )[ 9]
จักรพรรดิโกะ-ซันโจครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1068 ถึง 1073 [ 10]
พระนามของพระองค์นำมาจากพระนามของจักรพรรดิซันโจ พระอัยกา และ โกะ- (後) มีความหมายตรงตัวว่า "ยุคหลัง" ดังนั้น จึงมีการเรียกพระองค์ในบางครั้งเป็น "จักรพรรดิซันโจยุคหลัง" หรือในข้อมูลเก่ากว่าบางแหล่งอาจระบุเป็น "จักรพรรดิซันโจที่ 2"
ในรัชสมัยของพระองค์ การยึดครองอำนาจของตระกูลฟูจิวาระ แตกหักลง หลังรัชสมัยของโกะ-ซันโจ อำนาจของพวกเขาเริ่มเสื่อมถอยจนถึง ค.ศ. 1150 ที่อำนาจของตระกูลหายไปจนหมดสิ้น
พระราชประวัติ
จักรพรรดิโะก-ซันโจผู้สละราชสมบัติ, ภาพอูกิโยะ
ก่อนขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ โกะ-ซันโจมีพระนามส่วนพระองค์ (諱, อิมินะ )[ 11] ว่า เจ้าชายทากาฮิโตะ (尊仁 親王, たかひと しんのう)[ 9]
เจ้าชายทากาฮิโตะเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในจักรพรรดิโกะ-ซูซากุ กับพระราชมารดานามจักรพรรดินี (โคโง ) ซาดาโกะ (禎子内親王) พระราชธิดาองค์ที่ 3 ในจักรพรรดิซันโจ ทำให้พระองค์เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกในรอบ 170 ปี (นับตั้งแต่จักรพรรดิอูดะ ) ที่พระราชมารดามิได้ สืบจากตระกูลฟูจิวาระทางฝ่ายบิดา พระราชบิดาและพระราชมารดาของพระองค์เป็นหลานทางฝ่ายมารดาของฟูจิวาระ โนะ มิจินางะ จักรพรรดินีมารดามีอีกพระนามว่า เทชิ และโยเม-มง อิง (1012–94)[ 12] การที่โกะ-ซันโจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตระกูลฟูจิวาระทำให้พระองค์ไม่ได้ตกเป็นหนี้ในความภักดีเป็นพิเศษต่อพวกเขา นั่นหมายความว่าพระองค์สามารถต่อต้านพวกเขาได้
เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิโก-ซันโจ
22 พฤษภาคม ค.ศ. 1068 (วันที่ 19 เดือน 4 ปี จิเรียกุ ที่ 4): ปีที่ 23 ในรัชสมัยจักรพรรดิโก-เรเซสวรรคตโดยไร้รัชทายาททำให้ราชบัลลังก์มาอยู่ที่เจ้าชายทะกะฮิโตะพระราชอนุชาต่างพระราชมารดาที่รัชทายาทพระชนมายุ 33 พรรษาขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิโก-ซันโจ หลังจากนั้นไม่นานจึงได้มีการประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกจักรพรรดิโก-ซันโจที่ พระราชวังหลวงเฮอัง
18 มกราคม ค.ศ. 1073 (วันที่ 8 เดือน 12 ปี เอ็งคิว ที่ 4): ปีที่ 4 ในรัชสมัยพระองค์สละราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสองค์โปรดคือ เจ้าชายซะดะฮิโตะ ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิชิรากาวะ
8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1073 (วันที่ 29 เดือน 12 ปี เอ็งคิว ที่ 4): จักรพรรดิชิรากาวะประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกที่ พระราชวังหลวงเฮอัง
พฤษภาคม ค.ศ. 1073 (เดือน 4 ปี เอ็งคิว ที่ 5): อดีตจักรพรรดิโก-ซันโจออกผนวชได้รับฉายาทางธรรมว่า คงโง-เกียว
15 มิถุนายน ค.ศ. 1073 (วันที่ 7 เดือน 5 ปี เอ็งคิว ที่ 5): อดีตจักรพรรดิโก-ซันโจหรือท่านคงโง-เกียวสวรรคตอย่างกะทันหันเมื่อพระชนมายุเพียง 38 พรรษา
รัชสมัย
ปีในรัชสมัยโกะ-ซันโจมีมากกว่าหนึ่งชื่อศักราช หรือ เน็งโง [ 13]
พระมเหสี
จักรพรรดิโกะ-ซันโจมีพระมเหสี 3 พระองค์[ 14]
จักรพรรดินี (ชูงู ): เจ้าหญิงคาโอรูโกะ (馨子内親王) ภายหลังเป็น ไซอิง-โนะ โคโงะ (西院皇后)[ 15] พระราชธิดาในจักรพรรดิโกะ-อิจิโจ
พระมเหสี: ฟูจิวาระ ชิเงโกะ (藤原茂子; สวรรคต ค.ศ. 1062) ธิดาในฟูจิวาระ คินนาริและบุตรีบุญธรรมของฟูจิวาระ โยชิโนบุ
พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงซาโตโกะ (聡子内親王; 1050-1131)
พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายซาดาฮิโตะ (貞仁親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิชิรากาวะ
พระราชธิดาองค์ที่ 2: เจ้าหญิงโทชิโกะ (俊子内親王; 1056-1132)
พระราชธิดาองค์ที่ 3: เจ้าหญิงโยชิโกะ (佳子内親王; 1057-1130)
พระราชธิดาองค์ที่ 4: เจ้าหญิงโทกูชิ (篤子内親王; 1060–1114) สมรสกับจักรพรรดิโฮริกาวะ
พระมเหสี: มินาโมโตะ โมโตโกะ (源基子; 1047-1134) ธิดาในมินาโมโตะ โมโตฮิระ
พระราชโอรสองค์ที่ 2: เจ้าชายซาเนฮิโตะ (実仁親王; 1071-1085) ลูกหลานของตระกูลมินาโมโตะ - โกะ-ซันโจเก็นจิ
พระราชโอรสองค์ที่ 3: เจ้าชายซูเกฮิโตะ (輔仁親王; 1073-1119) ลูกหลานของตระกูลมินาโมโตะ - โกะ-ซันโจเก็นจิ
พระมเหสี: ฟูจิวาระ อากิโกะ (藤原昭子) ธิดาในฟูจิวาระ โยริมูเนะ
นางใน: ไทระ ชิกาโกะ (平親子) ธิดาในไทระ สึนากูนิ
พระราชพงศาวลี
[ 16]
พงศาวลีของจักรพรรดิโกะ-ซันโจ
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ "Go-Sanjō | emperor of Japan | Britannica" . www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
↑ "Go-Sanjō | emperor of Japan | Britannica" . www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
↑ "Go-Sanjō | emperor of Japan | Britannica" . www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
↑ "Go-Sanjō | emperor of Japan | Britannica" . www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
↑ "Go-Sanjō | emperor of Japan | Britannica" . www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
↑ "Go-Sanjō | emperor of Japan | Britannica" . www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
↑ Imperial Household Agency (Kunaichō ): 陽成天皇 (71)
↑ Ponsonby-Fane, Richard . (1959). The Imperial House of Japan, p. 76.
↑ 9.0 9.1 Titsingh, p. 166; Brown, p. 314; Varley, p. 198.
↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 166–168; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 314–315; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki. p. 198-199.
↑ Brown, pp. 264; prior to Emperor Jomei , the personal names of the emperors were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
↑ Brown, p. 314.
↑ Titsingh, p. 165-168; Brown, p. 313-315.
↑ Brown, p. 315.
↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1915). The Imperial Family of Japan, p. x.
↑ "Genealogy" . Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 26 May 2018 .
ข้อมูล