ซีนอน
ซีนอน (อังกฤษ: Xenon) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 54 และสัญลักษณ์คือ Xe ซีนอนเป็นธาตุที่มีลักษณะเป็นแก๊สมีสกุล (Noble gases) ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น น้ำหนักมาก พบเพียงเล็กน้อยในบรรยากาศโลก -มีน้ำหนักอะตอมเท่ากับ 131.30 amu -จุดหลอมเหลวเท่ากับ -111.9 องศา -จุดเดือด (โดยประมาณ)อยู่ที่ -108.12 +/- .01 องศา ความหนาที่(stp) 5.8971 g/l เลขออกซิเดชันสามัญ +2,+4,+6,+8 1.[1] สารประกอบซีนอนนีล บาร์เลตต์ได้ศึกษาสารประกอบของแพลทินัมชนิดหนึ่ง คือ แพลทินัมเฮกซะฟลูออไรด์ ซึ่งสามารถดึงอิเล็กตรอน 1 ตัวออกจากโมเลกุลของออกซิเจนกลายเป็นสารประกอบไดออกซิเจนิล เฮกซะฟลูออกโรแพลทิเนต เขาทราบว่าค่าพลังงานไอออไนเซชันของซีนอนนั้นใกล้เคียงกับของออกซิเจนในสภาวะโมเลกุลมาก จึงได้ทดลองซ้ำกับซีนอน พบว่าได้ผลึกของ'''ซีนามอน'''เฮกซะฟลูออโรแพลทิเนต (V) ซึ่งสามารถลบล้างความเชื่อดั้งเดิมที่เชื่อว่า "แก๊สมีสกุลไม่สามารถเกิดสารประกอบได้" ลงอย่างสิ้นเชิง การค้นพบซีนอนเป็นธาตุที่ถูกค้นพบโดย Sir William Ramsey และ M.W.Travers เมือ่ปี ค.ศ.1898 ซึ่งการค้นพบซีนอนนั้นเกิดจากการที่พยายามทำให้แก๊ส คริปทอน(Kr)บริสุทธิ์โดยการกลั่นแบบลำดับส่วนจึงทำให้พบแก๊สที่มีความหนาแนนสูงผิดปกติและทราบว่าเป็นธาตุใหม่จากการศึกษาสเปกตรัมซึ่งคำว่า "xenon" มาจากภาษากรีก หมายถึง "the stranger" ซึ่งหมายถึงคนแปลกหน้า และธาตุซีนอนมีการปรากฏเพียงแค่ 0.006 ใน 1 ล้านส่วน ในชั้นบรรยากาศ [2] ประวัติของธาตุซีนอนธาตุซีนอนถูกค้นพบในประเทศอังกฤษโดยนักเคมี Sir William Ramsey และ M.W.Travers เมื่อปี ค.ศ.1898 ไม่นานหลังจากการค้นพบองค์ประกอบของธาตุคริปทอน และ นีออน พวกเขาก็ได้คิดค้นธาตุซีนอนขึ้นมาในสภาพที่เป็นกากที่เหลือจากการระเหยส่วนประกอบของอากาศภายในของเหลว[3] ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1930 วิศวกรชาวอเมริกัน แฮโรลด์ เอ็ดเคอร์ตัน ได้มีการเริ่มสำรวจแสงแฟลชเทคโนโลยีเพื่อการถ่ายภาพด้วยความเร็วสูงหลังจากการสำรวจเส็จสิ้นลงทำให้เขาประดิษฐ์ไฟแฟลชของซีนอนที่สร้างโดยกระบวนการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านท่อสั้นๆที่เต็มไปด้วยก๊าซซีนอนขึ้นมา ต่อมาในปี 1934 เอ็ดเกอร์ดันสามารถสร้างไฟกระพริบสั้นๆให้เป็นหนึ่งมิลลิด้วยกระบวนการดังกล่าวได้ ในปี 1939 แพทย์ชาวอเมริกันอัลเบิร์ด จูเนียร์ เริ่มทำการสำรวจสาเหตุของการ"เมา" ในการดำน้ำลงไปในระยะทางที่ลึกมาก ทำให้เขาผ่านการทดสอบเนื่องจากสามารถระงับความรู้สึกเมื่ออยู่ใต้น้ำโดยไม่เมาได้และต่อมาพบว่าเกิดจากนักดำน้ำไม่มีการรับรู้หรือไม่รู้สึกอะไรเลยเมื่ออยู่ในน้ำที่ลึก จากผลการทดลองของอัลเบร์ดอาจอนุมานได้ว่าก๊าซซีนอนสามารถนำมาใช้เป็นยาชาได้ ต่อมาซีนอนได้มีการตีพิมพ์ครั้งแรกว่าสามารถระงับความรู้สึกได้ในปี 1946 โดยนักวิจัยทางการแพทย์อเมริกันจอห์นเอชเรนซ์ซึ่งเขาได้ทำการทดลองในสิ่งมีชีวิตจำพวกหนู ซีนอนถูกนำมาใช้ครั้งแรกในฐานะยาสลบในห้องผ่าตัดในปี 1951 โดยนายแพทย์จ๊วร์ตซีคัลเลน ชาวอเมริกันที่ดำเนินการจนประสบความสำเร็จในห้องผ่าตัดผู้ป่วย[4] การประยุกต์ใช้งานซีนอนมีใช้ในเชิงพาณิชย์ค่อนข้างน้อยมาก มันถูกใช้ในโคมไฟแฟลชถ่ายภาพ, โคมไฟ stroboscopic สูง intensitive โค้ง โคมไฟสำหรับการฉายภาพเคลื่อนไหวและความดันสูง โคมไฟโค้งกับผลิตภัณฑ์แสงอัลตราไวโอเลต (จำลองแสงอาทิตย์) การใช้งานอื่น ๆ เช่นยาชาทั่วไปซีนอน 'สีฟ้า' ไฟหน้าและไฟตัดหมอกจะใช้ในยานพาหนะบางอย่าง พวกมันส่องสว่างได้มากกว่าไฟธรรมดาทั่วไป[5] ข้อควรระวังการสูดดมก๊าซซีนอนซึ่งเป็นก๊าซเฉื่อยและจัดเป็น asphyxiant ในระดับความเข้มข้นที่มากเกินไปจะส่งผลทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นใส้ อาเจียน การสูญเสียสติ หรืออาจจะถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็เป็นได้[6] อ้างอิง |