Share to:

 

ภาษาผู้ไท

ภาษาผู้ไท
ภาษาภูไท
ประเทศที่มีการพูดประเทศไทย, ประเทศลาว และประเทศเวียดนาม
ชาติพันธุ์ชาวผู้ไท
จำนวนผู้พูด866,000 คน  (2545–2549)[1]
ตระกูลภาษา
ขร้า-ไท
ระบบการเขียนอักษรไทย, อักษรลาว
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ไทย
 ลาว
รหัสภาษา
ISO 639-3pht

ภาษาผู้ไท (เขียน ภูไท ก็มี) เป็นภาษาในตระกูลภาษาขร้า-ไท มีผู้พูดจำนวนไม่น้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตอนกลางของประเทศลาว และแถบตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม เข้าใจว่า ผู้พูดภาษาผู้ไทมีถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมในเมือง นาน้อยอ้อยหนู ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า เมืองนาน้อยอ้อยหนู อันเป็นถิ่นฐานดั้งเดิมของผู้ไทนั้นอยู่ทีไหน เพราะมีเมืองนาน้อยอ้อยหนูอยู่ถึงสามแห่ง สองแห่งอยู่ในเขตจังหวัดเดียนเบียน อีกแห่งอยู่ห่างจากเมืองลอหรือจังหวัดเอียนบ๋ายของเวียดนามประมาณ 10 กิโลเมตร

ผู้ไทกับไทดำเป็นคนละชาติพันธุ์กัน สันนิษฐานว่า อพยพแยกจากกันนานกว่า 1,500 ปีมาแล้ว บรรพบุรุษของผู้ไทเป็นพวกจ้วงจากตอนใต้ของประเทศจีนแถบมลฑลกวางสี อพยพมาสร้างบ้านเมืองบริเวณทุ่งนาน้อยอ้อยหนู จากนั้นได้ย้ายมา สร้างเมืองใหม่ในบริเวณที่เรียกว่า "เวียงสามหมื่น" และตั้งชื่อเมืองบริเวณเวียงสามหมื่นว่า "เมืองแถน" คนละเมืองกับ "เมืองแถง" ซึ่งเป็นเมืองของไทดำ (ภายหลังไทดำได้บุกยึดเอาเมืองแถนที่เวียงสามหมื่นไปจากผู้ไท) ผลของสงครามบ้านเมืองไม่สงบสุขทำให้ชาวผู้ไทส่วนใหญ่เคลื่อนย้ายไปอยู่ตามเมืองต่างๆ รวมทั้งอพยพเข้าสู่ตอนเหนือของ อาณาจักรล้านช้าง (ประเทศลาวในปัจจุบัน) บางส่วนอพยพลงมาถึงตอนกลางแถบแขวงคำม่วนและแขวงสะหวันนะเขต เช่นเมืองวังอ่างคำ ซึ่งต่อมาคือเมืองวีระบุรีในแขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว และอีกหลายๆเมืองในบริเวณใกล้เคียง เช่น เมืองพิน เมืองนอง เมืองเซโปน บางส่วนถูกกวาดต้อนเข้ามาอยู่ในดินแดนประเทศไทยเมื่อไม่ถึง 200 ปีมานี้ (บางพวกอพยพมาเอง เช่น ผู้ไทเรณูนคร ผู้ไทยหนองสูง) ผู้ไทที่อยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงมีจำนวนไม่น้อยและผู้ไทอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแถบแขวงสะหวันนะเขตและแขวงคำม่วนในลาวก็ยังมีประปราย มักจะเรียกผู้ไททั้งสองกลุ่มนี้รวมกันว่า "ผู้ไทสองฝั่งโขง" และในเวียดนามก็ยังมีผู้ไทอาศัยอยู่โดยพบอาศัยปะปนอยู่กับชาติพันธุ์อื่นๆทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือแถบจังหวัดไลโจว เดียนเบียนและเซินลา

ความเป็นมาของชาวผู้ไทในสยาม

เมื่อ พ.ศ. 2369 (ก่อนสงครามเจ้าอนุวงศ์) ตรงกับในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่เมืองวังมีความวุ่นวาย เกิดขัดแย้งภายในของกลุ่มผู้ไท ที่มีเมืองวังเป็นเมืองหลัก ได้มีไทครัวผู้ไทกลุ่มหนึ่งอพยพมาตั้งบ้านเรือนในฝั่งขวาแม่น้ำโขง มีนายไพร่ รวม 2,648 คน ต่อมาได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านบุ่งหวาย ในปี พ.ศ. 2373 พระสุนทรราชวงษา เจ้าเมืองยโสธร ว่าราชการอยู่เมืองนครพนมได้มีใบบอกขอตั้งบ้านดงหวายเป็นเมือง "เรณูนคร" ต่อมา ร.3 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านบุ่งหวาย ขึ้นเป็นเมืองเรณูนคร และตั้งให้ ท้าวสาย หัวหน้าไทครัวผู้ไทเป็น "พระแก้วโกมล" เจ้าเมืองเรณูนคร คนแรก ขึ้นเมืองนครพนม(ในปี พ.ศ. 2387) ซึ่งคือท้องที่ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนมในปัจจุบันนั่นเอง (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ) ชาวผู้ไทเรณูนคร จึงเป็นชาวผู้ไทกลุ่มแรกที่อพยพมาอยู่ในเขตฝั่งขวาแม่น้ำโขง (หมายถึงผู้ไทที่เป็นบรรพบุรุษของคนผู้ไทในอิสานปัจจุบัน) นอกจากนี้พระสุนทรราชวงษายังมีการกวาดต้อนชาวเผ่าอื่นๆนอกจากเผ่าภูไท เช่น ไทยย้อ ไทข่า ไทกะเลิง ไทแสก ไทพวน ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะถูกบีบบังคับให้พลัดพรากจากบ้านเกิดเมืองนอนและญาติพี่น้องให้ไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่อีสานตอนบน เช่น ในพื้นที่จังหวัด นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสินธุ์ เนื่องด้วยเจ้านายเชื้อสายพระวอพระตามีความต้องการในอำนาจมาก ต้องการได้ความดีความชอบจากพระมหากษัตริย์กรุงสยาม ซึ่งเป็นเหตุให้ชนเผ่ากลุ่มน้อยหลายกลุ่มที่ถูกกวาดต้อนหรือถูกกดขี่ข่มเหงโดยเจ้านายอีสานสายดังกล่าวจึงไม่ค่อยมีความพอใจและยังมีความเคียดแค้นเป็นอย่างมาก อีกทั้งเจ้านายกลุ่มเดียวกันนี้เองที่เป็นผู้ริเริ่มและมักนิยมตีข่าหรือจับชาวไทข่า จนส่งกลายเป็นวัฒนธรรมตีข่าอันโหดร้าย ท่ารุณที่เป็นที่นิยมแพร่หลายไปในกลุ่มเจ้านายลาวอีสานที่จับนำตัวไปส่งส่วนกลางไปเป็นแรงงานทาส

หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2387 ผู้ไทจากเมืองวังอ่างคำและเมืองใกล้เคียง ก็อพยพตามมา เป็นกลุ่มที่ 2 แล้วไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองพรรณานิคม (จังหวัดสกลนคร) เมืองหนองสูง (จังหวัดมุกดาหาร) เมืองกุดสิมพระนารายณ์ (อำเภอเขาวงและอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์)ตามลำดับ โดยผู้ไทกลุ่มจากเมืองกะป๋องได้อพยพมาตั้งที่เมืองวาริชภูมิเป็นกลุ่มผู้ไทที่ข้ามมาฝั่งขวาแม่น้ำโขงกลุ่มล่าสุด (ในปี พ.ศ. 2420 ในสมัยรัชกาลที่ 5)

ผู้พูดภาษาผู้ไท

ผู้พูดภาษาผู้ไทในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณจังหวัดภาคอีสานตอนบน ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ (มีอำเภอกุฉินารายณ์,อำเภอเขาวง และอำเภอคำม่วง) นครพนม(มีอำเภอนาแกและอำเภอเรณูนคร)มุกดาหาร(อำเภอหนองสูง)และสกลนคร(อำเภอภูพาน)นอกจากนี้ยังมีอีกเล็กน้อยในจังหวัดร้อยเอ็ด(ตำบลบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี)

โดยในแต่ละท้องถิ่นจะมีสำเนียงและคำศัพท์ที่แตกต่างกันไป เป็นที่น่าสังเกตว่า ภาษาผู้ไทแม้จะกระจายอยู่ในแถบอีสาน แต่สำเนียงและคำศัพท์นั้นแตกต่างกับภาษาไทยถิ่นอีสานโดยทั่วไปอย่างมาก อย่างไรก็ตามยังมีคำยืมจากภาษาถิ่นอีสานอยู่ในภาษาผู้ไทบ้างเป็นธรรมดา แต่ก็ไม่นับว่ามาก ด้วยเหตุนี้ ชาวไทยที่พูดภาษาอีสานจึงไม่สามารถพูดหรือฟังภาษาผู้ไทอย่างเข้าใจโดยตลอด แต่ชาวผู้ไทส่วนใหญ่มักจะพูดภาษาอีสานได้

ลักษณะของภาษา

ด้วยภาษาผู้ไทเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท จึงมีลักษณะเด่นร่วมกับภาษาไทยด้วย นั่นคือ

  • เป็นภาษาคำโดด มักเป็นคำพยางค์เดียว
  • เป็นภาษามีวรรณยุกต์
  • โครงสร้างประโยคแบบเดียวกัน คือ "ประธาน กริยา กรรม" (SVO) ไม่ผันรูปตามโครงสร้างประโยค

หน่วยเสียง

ข้อมูลข้างล่างเป็นสำเนียงอำเภอวาริชภูมิ:

พยัญชนะ

ริมฝีปาก ฟัน/
ปุ่มเหงือก
(ฐานกรณ์)
เพดานแข็ง
เพดานอ่อน เส้นเสียง
เรียบ ห่อปาก
หยุด tenuis p t k ʔ
พ่นลม kʷʰ
ก้อง b d
กักเสียดแทรก
นาสิก m n ɲ ŋ
เสียดแทรก f s h
เปิด ʋ l j w
พยัญชนะท้าย
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
หยุด p t k ʔ
นาสิก m n ŋ
เปิด j w

ในที่นี้ขออธิบายเฉพาะเสียงที่แตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน ดังนี้

  • /ɲ/ เป็นหน่วยเสียงพิเศษ ที่ไม่พบในภาษาไทยภาคกลาง และถิ่นใต้ แต่พบได้ในภาษาไทยถิ่นอีสาน และเหนือ

สระ

ภาษาผู้ไทมีสระเดี่ยว 9 ตัว หรือ 18 ตัวหากนับสระเสียงยาวด้วย โดยทั่วไปมีลักษณะของเสียงคล้ายกับสระในภาษาไทยถิ่นอื่น

หน้า หลัง
ไม่ห่อ ห่อ
ปิด i ɯ u
กลาง e ɤ o
เปิด ɛ a ɔ

อนึ่ง ในภาษาผู้ไทไม่ใช้สระประสม จะใช้แต่สระเดี่ยวข้างบนนี้

  • เสียงสระประสมประกอบด้วยสระเดี่ยวกับเสียงพยัญชนะเลื่อนตำแหน่งท้าย คือ /j/ หรือ /w/[2]

ตัวอย่างคำที่ภาษาไทยกลางเป็นสระประสม แต่ภาษาผู้ไทใช้สระเดี่ยว

ภาษาไทยกลาง ภาษาผู้ไท
/หัว/ /โห/
/สวน/ /โสน/
/เสีย/ /เส/
/เขียน/ /เขน/
/เสือ/ /เสอ/
/มะเขือ/ /มะเขอ/

หน่วยเสียงวรรณยุกต์

หน่วยเสียงวรรณยุกต์ในภาษาผู้ไท มีด้วยกัน 5 หน่วย

พยางค์

พยางค์ในภาษาผู้ไทมักจะเป็นพยางค์อย่างง่าย ดังนี้

  • เมื่อประสมด้วยสระเสียงยาว พยางค์อาจประกอบด้วยพยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ โดยจะมีพยัญชนะตัวสะกดหรือไม่ก็ได้
  • เมื่อมีสระเสียงสั้น พยางค์ประกอบด้วยพยัญชนะต้น สระ, วรรณยุกต์ และพยัญชนะตัวสะกด

ลักษณะเด่นของภาษาผู้ไท

ภาษาผู้ไทมีลักษณะเด่นดังนี้ 1. พยัญชนะ "ข,ฆ" /k/ ในภาษาไทยและลาว-อีสานบางคำ ออกเสียงเป็น ห, ฮ /h/ เช่น

ภาษาไทย ภาษาภูไท ภาษาไทย ภาษาภูไท ภาษาไทย ภาษาภูไท ภาษาไทย ภาษาภูไท ภาษาไทย ภาษาภูไท
แขน แหน เข็ม เห็ม ขัน (ขันน๊อต) หัน ขา หา ของ หอง
ขน หน เข้า เห้า ขอด ฮอด ขอน (ขอนไม้) หอน ขึ้น หึ้น
ฆ่า ฮ่า ขาด หาด เขี้ยว (ฟัน) แห้ว ขัดข้อง (ยุ่งเหยิง) ห้อง ข้อ ห้อ
ขาย หาย เขา (สัตว์) เหา เขียว แหว ขาว หาว

2. เสียงสระ "ใ" ออกเสียงเป็น "เออ" และสระ "ไ" บางคำก็ออกเสียงเป็น "เออ" เช่น

ภาษาไทย ภาษาภูไท ภาษาไทย ภาษาภูไท ภาษาไทย ภาษาภูไท ภาษาไทย ภาษาภูไท ภาษาไทย ภาษาภูไท
ใกล้ เค่อ ไหน (ไส "ลาว") เซอ, ซิเลอ, เนอเฮอ, ตะเลอ ใต้ เต้อ ใช้ เซ้อ ใน เนอ, เด้อ
ใจ เจ๋อ ใหม่ เมอ ไต เต๋อ ใส่ เส่อ ให้ เห้อ
ใคร (ไผ "ลาว") เพอ ใหญ่ เญอ บวม (ไค่ "ลาว") เค้อ ใบ เบ๋อ

3. ภาษาผู้ไทไม่มีสระผสม เอือ อัว เอีย ใช้แต่เพียงสระเดี่ยว เช่นเดียวกับภาษาไทลื้อ ไทขืน เช่น

ภาษาไทย ภาษาภูไท ภาษาไทย ภาษาภูไท ภาษาไทย ภาษาภูไท ภาษาไทย ภาษาภูไท ภาษาไทย ภาษาภูไท
เขียด เขด เรือ เฮอ เรียน เฮน, สอน บ่วง (ช้อน) โบ่ง ม้วน โม้น
เกวียน เก๋น สวน โสน เขี่ย เข่ เลี้ยว เล้ว เมีย เม
เหยียบ เหย่บ เงื่อน เงิ้น เปลื้อน เปิ้น หนวด โนด ผัว โผ


4. คำที่ใช้สระเสียงยาวและสะกดด้วย "ก" จะเปลี่ยนเป็นสระเสียงสั้น ไม่ออกเสียง "ก" เช่นเดียวกับภาษาไทถิ่นใต้ฝั่งตะวันตก และภาษาไทดำ ไทขาว พวน เช่น

 *ลูก = ลุ
 *บอก = เบ๊าะ
 *แตก = แต๊ะ
 *ตอก = เต๊าะ
 *ลอก = เลาะ, ลู่น
 *ลวก = โหละ
 *หนอก = เนาะ
 *ยาก = ญ๊ะ
 *ฟาก,ฝั่ง = ฟ๊ะ 
 *หลีก = ลิ
 *ปีก = ปิ๊
 *ราก =ฮะ
 *กาก=ก๊ะ
 *อยาก = เยอะ
 *เลือก = เลอะ
 *น้ำเมือก = น้ำเมอะ
 *น้ำมูก = ขี้มุ
 *ผูก = พุ
 *หยอก = เยาะ
 *หมอก = เมาะ
 *ดอกไม้ = เด๊าะไม้
 *ศอก = เซาะ
 *หนวก = โนะ
 *ถูก(ถืก ในภาษาลาว) = ทึ
 *ปลูก = ปุ
 *ปลวก = โปะ
 *หูก(ทอผ้า) = หุ

5. ภาษาผู้ไทใช้คำที่แสดงถึงการปฏิเสธว่า มี,หมี่ หรือเมื่อพูดเร็วก็จะออกเสียงเป็น มิ เช่นเดียวกับภาษาไทยโบราณ ภาษาจ้วง (bou,mi) และภาษาลื้อบางแห่ง เช่น

 *ไม่ได้ = มีได้
 *ไม่บอก = มีเบ๊าะ
 *ไม่รู้ = มีฮู้, มีฮู้จัก,มีจัก
 *ไม่เห็น = มีเห็น
 *ไม่พูดไม่จา = มีเว้ามีจา
 *ไม่ไป = มีไป
 *ไม่เข้าใจ = มีเฮ่าเจ๋อ

6. คำถามจะใช้แตกต่างจากภาษาไทยดังนี้

 *อะไร = เผอ,ผะเหลอ,ผิเหลอ
 *เป็นอะไร = เป๋นเผอ,เป๋นผะเหลอ
 *ทำไม = เอ็ดเผอ
 *ไหน = เซอ,ซิเลอ,เน้อเฮอ
 *อันไหน = อันเลอ
 *ใคร = เผ่อ,ผู้เลอ
 *เท่าไหร่,แค่ไหน = ท้อเลอ,ฮาวเลอ,ค้าเลอ
 *อย่างไร = แนวเลอ,สะเลอ
 *ทำยังไง = เอ็ดสะเลอ
 *เมื่อไหร่ = บาดเลอ,ญามเลอ,มื่อเลอ
 *ไหม,หรือปล่าว = เบาะ,ยูเบาะ,ยูติ๊
 *ล่ะ = เด๋

7. คำว่า จัก หรือ จะ ในภาษาไทย ภาษาผู้ไท

  จะใช้คำว่า หละ เช่น 
 *เธอจะไปไหน = เจ้าหละไปซิเลอ
 *ฉันกำลังจะพูด = ข้อยทมหละเว้า
 *คุณจะกลับกี่โมง = เจ้าหละเมอจักโมง
 *เขาจะคุยกันเรื่องอะไร = เขาหละแอ่นเด๋วเลิ้งเผอ

___(ข้อ 8 เป็นต้นไปเป็นเพียงปลีกย่อย)___

8. บางคำมีการออกเสียงต่างจากภาษาไทย ดังนี้

   1) ค เป็น ซ เช่น คง = ซง, ครก = ซก
   2) ด เป็น ล เช่น = สะดุ้ง (เครื่องมือ หาปลาชนิดหนึ่ง) = จะลุ่ง
   3) อะ เป็น เอะ เช่น มัน (หัวมัน) = เม็น, มันแกว = เม็นเพา-โหเอ็น, มันเทศ = เม็นแกว
   4) เอะ เป็น อิ เช่น เล่น = ดิ้น, เด็กน้อย=ดิกน้อย, เหล็กไล (ตะปู) = ลิ๊กไล
   5) เอีย เป็น แอ,เอ เช่น เหี่ยว = แห่ว, เขี้ยว = แห้ว, เหยี่ยว = แหลว,เตี้ย = เต้,เลีย = เล,เรียง = เรง,เฮง, เขียง = เขง,เหง, เที่ยว = เท้ว, เหลียว = เหลว
   6) สระเสียงสั้นในภาษาไทยบางคำกลายเป็นสระเสียงยาวในภาษาผู้ไท เช่น ลิง = ลีง, ก้อนหิน = มะขี้หีน, กลิ้ง = กะลี้ง, ผิงไฟ = ฝีงไฟ,หลุด = หลูด,ปิ้ง = ปี้ง
   7) อิ เป็น อึ เช่น กลิ่น = กึ่น คิด = คึด/ฮึด

9. คำเฉพาะถิ่น เป็นคำที่มีใช้เฉพาะในภาษาผู้ไท และอาจมีใช้ร่วมกับภาษาอื่นที่เคยมีวัฒนธรรมร่วมกัน เช่น

 *ดวงตะวัน = ตะเง็น, ขี้โก๊
 *ดวงเดือน = โต๊ต่าน, เดิ๋น, ต๊อ
 *ประตูหน้าต่าง = ตู่บอง,ปะตู่บอง, ป่องเย่ม
 *ขี้โม้ = ขี้จะหาว
 *ขึ้นรา = ตึกเหนา
 *น้ำหม่าข้าว = น้ำโม๊ะ
 *สวย = ซับ,งาม
 *ตระหนี่,ขี้เหนียว = อีด, ขี้อีด, ขี้ถี่
 *ประหยัด = ติ้กไต้, ตั๊กไต้
 *หัวเข่า = โหโค้ย
 *ลูกอัณฑะ = มะขะหลำ
 *หัวใจ = เจ๋อ,โหเจ๋อ
 *หน้าอก = เอิ๊ก,อ๋าง
 *เหงือก = เฮ๊อะ
 *ตาตุ่ม = ปอเผอะ,ปอมเผอะ
 *ท้ายทอย = ง้อนด้น,กะด้น
 *หน้าผาก = หน้าแก่น,หน้าผะ
 *เอว = โซ่ง,กะโท้ย,แอ๋ว
 *ถ่านก่อไฟ = ก่อมี่,ขี้ก่อมี่
 *พูดคุย,สนทนา = แอ่น,เว้าจ๋า
 *เกลี้ยกล่อม = โญะ, เญ๊า
 *หัน = ปิ่น,(ภาษาลาวว่า งวก)
 *ย้ายข้าง = อวาย, ว้าย (ภาษาลาวว่า อ่วย)
 *ขอร้อง,วิงวอน = แอ่ว,แอบ
 *กันนักกันหนา = กะดักกะด้อ
 *มาก,ยิ่ง = แฮง,กะดักกะด้อ-กะด้อ,หลาย
 *ไม่ใช่ = มิแม้น
 *จริง = เพิ้ง,แท้
 *นึกว่า = ตื่อหวะ, กะเด๋วหวะ, เด๋วหวะ
 *พะวงใจ = ง้อ,คึดง้อ
 *อุทานไม่พอใจ = เยอ! เยอะ!
 *ไปโดยไม่หันกลับมา = ไปกิ่นๆ, ไปกี่ดี่ๆ
 *สั้น = สั้น, กิ๊ด, ขิ้น
 *ยาว = ญ๊าว, สาง
 *ปิด = ปิด, อัด, ฮี, กึด, งับ
 *เปิด = เปิด, ไข, อ้า
 *อวด = โอด,เอ้
 *ขวด = โขด
 *ถั่ว = โถ่
 *ถั่วฝักยาว = โถ่ฟั้กญ๊าว
 *กระดุม = มะติ่ง
 *ตุ้มหู = ด๊อก
 *ถุงย่าม = ถง
 *ก่อไฟ = ดังไฟ
 *เกลือ = เก๋อ
 *มะเขือ = มะเขอ
 *โรงเรียน = โรงเรน,โฮงเฮน
 *เรือน = เฮิน
 *กล้วย = โก้ย
 *ใบไม้ = เบ๋อไม้
 *ใบตองกล้วย = เบ๋อต๋องโก้ย
 *กุ้ง = จุ้ง
 *มุ้ง = สุ้ด
 *วิ่ง = แล่น,เต้น
 *ทับ = เต็ง
 *กดไว้ = เญ๊นไว้
 *เทน้ำ = เถาะน้ำ,เหญ้นน้ำ
 *คว่ำ = ว่ำ
 *กลับบ้าน = เมอบ้าน,เมอเฮิน
 *รอคอย = คอง,ถ้า
 *ล้างหน้า = โส่ยหน้า
 *ปวดหัว = เจ๊บโห
 *ปลาไหล = เหย่น, ป๋าเหย่น
 *ไส้เดือน = ไส้เดิ๋น,ขี้เดิ๋น
 *ผีเสื้อ = แมงกะเบ้อ
 *เหนือ(ทิศ) = เหนอ
 *เสื้อ = เส้อ
 *โกหก = ขี้โตะ
 *มองไม่เห็น(มืด) = มิเห็นฮุ้ง
 *ค้างคาว = บิ้ง
 *สั่น(หนาว)= เส่น
 *ข้าวโพด = ซะลี
 *ผด,ผื่น = หมืน
 *เหนียว = เน๋ว
 *ข้าวเหนียว = เข้าเน๋ว
 *ลื่น = มื้น
 *ลื่นล้ม = ผะหลาด
 *ขึ้นต้นไม้ = หึ้นก๊กไม้,บื๋นก๊กไม้
 *ไม้กวาด = ไม้ฟอย
 *สะพาน = โข
 *สงสาร = เยอะดู๋
 *ซื่อบื้อ,โง่ = เบ้อ,ขี้เบ้อ
 *นาน = เหิง
 *หมวก = โหมก
 *สุกงอม (ผลไม้) = อิ้ม
 *โกรธ,โมโห = ฮ้าย

อ้างอิง

  1. ภาษาผู้ไท ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. Gedney, William J.; Hudak, Thomas J. (1997). The Tai Dialect of Waritchaphum. William J. Gedney’s Tai dialect studies: glossaries, texts, and translations: The University of Michigan. pp. 347–350.
Kembali kehalaman sebelumnya