มาโกะ โคมูโระ (ญี่ปุ่น: 小室 眞子; โรมาจิ: Komuro Mako; ประสูติ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2534) หรือพระนามเดิม เจ้าหญิงมาโกะแห่งอากิชิโนะ[1][2] (ญี่ปุ่น: 眞子内親王; โรมาจิ: Mako Naishinnō) เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในเจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ กับเจ้าหญิงคิโกะ พระชายาฯ เป็นพระภาติยะในสมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ และเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ เคยทรงงานเป็นนักวิจัยในพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยโตเกียว[3] ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อเสกสมรสกับเค โคมูโระ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564
พระประวัติ
มาโกะประสูติเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ณ โรงพยาบาลสำนักพระราชวัง กรุงโตเกียว เป็นพระบุตรพระองค์ใหญ่จากทั้งหมดสามพระองค์ในเจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ กับเจ้าหญิงคิโกะ พระชายาฯ มีพระขนิษฐาและพระอนุชาคือเจ้าหญิงคาโกะและเจ้าชายฮิซาฮิโตะแห่งอากิชิโนะ ตามลำดับ[4]
มาโกะสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกากูชูอิงอันเป็นโรงเรียนหญิงล้วน ในปี พ.ศ. 2553 ทรงศึกษาต่อด้านภาษาอังกฤษเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือน ณ วิทยาลัยทรีนิตีในดับลิน ประเทศไอร์แลนด์[5] ขณะที่พระองค์ฝึกงาน ทรงปฏิสันถารอย่างไม่เป็นทางการกับแมรี แมคาลิส (Mary McAleese) ประธานาธิบดีแห่งไอร์แลนด์ และทรงท่องเที่ยวในประเทศไอร์แลนด์เหนือ[6] ต่อมาทรงเข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษาปริญญาตรีสาขามรดกด้านศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนานาชาติคริสเตียน โตเกียว จนสำเร็จการศึกษาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557[7][8] นอกจากนี้พระองค์ยังได้รับอนุญาตให้ขับรถในญี่ปุ่นและทรงมีใบอนุญาตขับขี่ตั้งแต่ยังไม่จบปริญญาตรี[9][10][11] ต่อมาวันที่ 17 กันยายนปีเดียวกันนั้น ทรงเข้าศึกษาสาขาพิพิธภัณฑ์ศึกษา มหาวิทยาลัยเลสเตอร์ สหราชอาณาจักรเป็นระยะเวลาหนึ่งปี จนสำเร็จการศึกษาปริญญาโทสาขาดังกล่าวในปี พ.ศ. 2559[12] ก่อนหน้านี้ ทรงศึกษาด้านประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา มหาวิทยาลัยเอดินบะระ ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2555 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 รวมเป็นระยะเวลา 9 เดือนในโปรแกรมนักศึกษาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม[13][14][15][16]
ศูนย์การแพทย์โตเกียวเอ็นเอ็นที (NTT Tokyo Medical Center) วินิจฉัยว่ามาโกะประชวรด้วยโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง (Post-traumatic stress disorder) ตั้งแต่ยังทรงศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น[17][18][19][20]
พระกรณียกิจ
ในปี พ.ศ. 2546 เจ้าหญิงมาโกะและเจ้าหญิงคาโกะตามเสด็จพระบิดาและมารดาเสด็จเยือนประเทศไทยด้วยพระบิดาเป็นพระสหายของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งถือเป็นการเสด็จเยือนต่างประเทศครั้งแรกของเจ้าหญิงมาโกะและเจ้าหญิงคาโกะ[21]
ในปี พ.ศ. 2549 เจ้าชายฟูมิฮิโตะและเจ้าหญิงมาโกะประกอบศาสนกิจที่ศาลเจ้าอิเซะ[22] ต่อมาพระองค์ตามเสด็จพระบิดามารดาและพระขนิษฐามาประเทศไทยในวันที่ 7-13 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง การรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และทรงร่วมวิจัยปักษีวิทยาของพระบิดา[23]
วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554 พระองค์ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ ชั้นที่ 1 และทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในฐานะพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่[24] เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 พระองค์เป็นอาสาสมัครปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 โดยไม่มีพระประสงค์แสดงพระองค์ว่าเป็นเจ้านาย[25]
เจ้าหญิงมาโกะสนพระทัยในกิจการของผู้พิการทางการได้ยินเช่นเดียวกับเจ้าหญิงคิโกะ พระมารดา ทั้งนี้พระองค์สามารถสื่อสารด้วยภาษามือญี่ปุ่นได้[26]
ชีวิตส่วนพระองค์
ความสนพระทัย
ระหว่างที่ยังทรงศึกษาในโรงเรียนกากูชูอิงนั้น ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 พระองค์ได้เสด็จไปประเทศออสเตรียจากโครงการร่วมบ้านกับคนท้องถิ่น (homestay program) ที่ได้รับการสนับสนุนจากโรงเรียน และประทับที่นั้นเป็นเวลาสองสัปดาห์ ทรงประทับในบ้านของชายออสเตรียในเวียนนาซึ่งเป็นสหายของทัตสึฮิโกะ คาวาชิมะ พระอัยกาฝ่ายพระมารดา ทั้งนี้ทรงสนพระทัยด้านศิลปะและวัฒนธรรม ทรงเข้าชมพิพิธภัณฑ์ อาสนวิหารนักบุญสเทเฟน และพระราชวังเชินบรุนน์[27][28]
พระองค์เคยหาประสบการณ์พิเศษจากการทรงงานในพิพิธภัณฑ์โคเวนทรีระหว่างที่ยังทรงศึกษาในมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ สหราชอาณาจักร[29] ปัจจุบันเจ้าหญิงมาโกะทรงงานเป็นนักวิจัยในพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยโตเกียว[30]
ความนิยม
เจ้าหญิงมาโกะเป็นเน็ตไอดอลมาตั้งแต่ พ.ศ. 2547 หลังมีพระฉายาลักษณ์ขณะทรงฉลองพระองค์นักเรียนแบบกะลาสีออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ต่อมาพระฉายาลักษณ์ดังกล่าวและวีดิโอที่จัดทำโดยแฟนอาร์ตที่ชื่นชมเจ้าหญิงคาโกะพระขนิษฐา ถูกอัปโหลดลงเว็บไซต์นิโกนิโกโดงะ (ญี่ปุ่น: ニコニコ動画) อันเป็นเว็บไซต์ที่แบ่งปันวีดิโอที่ชนนิยม ผลคือมีผู้รับชมกว่า 340,000 ครั้ง และมีผู้แสดงความเห็น 86,000 ข้อความ ส่วนสำนักพระราชวังอิมพีเรียลได้แสดงความเห็นว่าไม่ทราบว่าจะจัดการกับปรากฏการณ์นี้อย่างไร เพราะพวกเขาไม่เห็นร่องรอยแห่งการอาฆาตมาดร้ายหรือดูหมิ่นพระราชวงศ์[31]
เสกสมรส
เจ้าหญิงมาโกะทรงคบหากับเค โคมูโระ (ญี่ปุ่น: 小室圭; โรมาจิ: Komuro Kei) ชายสามัญชนผู้เคยศึกษาในมหาวิทยาลัยนานาชาติคริสเตียนด้วยกัน[32][33] ทั้งสองพบกันครั้งแรก ณ ร้านอาหารแห่งหนึ่งย่านชิบูยะ[21] โคมูโระเคยทำงานเป็นนายธนาคาร[21] ขณะนั้นกำลังศึกษาวิชาเอกกฎหมาย สถาบันมหาบัณฑิตยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยฮิตตสึบาชิ[34] เจ้าชายฟูมิฮิโตะและโคมูโระปฏิเสธการสืบค้นปูมหลังโดยสำนักพระราชวังก่อนพระราชพิธีหมั้น หลังจากนั้นจึงเกิดการขุดคุ้ยเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโคมูโระขึ้น โดยเฉพาะเรื่องอื้อฉาว เช่น ชีวิตสมรสและการฉ้อโกงเงินของมารดานายโคมูโระ และกรณีโคมูโระกลั่นแกล้งเพื่อนในชั้นเรียน[35][36]
วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2560 สำนักพระราชวังญี่ปุ่นได้ประกาศว่าเจ้าหญิงมาโกะและนายโคมูโระจะมีการหมั้นหมายกัน[37] โดยจะมีพิธีหมั้นในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2561 และจะมีพิธีเสกสมรสในวันที่ 4 พฤศจิกายนปีเดียวกัน[38][39] ต่อมาในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 สำนักพระราชวังประกาศเลื่อนพิธีเสกสมรสออกไปจนถึงปี พ.ศ. 2563 และให้เหตุผลว่าทั้งสองยังไม่พร้อมสำหรับการเสกสมรส[40][41] โดยเจ้าหญิงมาโกะทรงกล่าวขออภัยมาด้วยว่า "ข้าพเจ้าขออภัยที่สร้างความวุ่นวายและภาระที่เพิ่มขึ้นแก่ผู้ที่ช่วยเหลือเราในการเตรียมงาน"[42][43] รวมทั้งเพื่อรอให้ผ่านพ้นพิธีสละพระราชบัลลังก์ของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ พระอัยกาในปี พ.ศ. 2562 ออกไปก่อน[44] ทั้งนี้เจ้าหญิงมาโกะจะเป็นเจ้านายฝ่ายในพระองค์ที่เก้าที่เสกสมรสกับชายสามัญชน และจะต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์ตามกฎมนเทียรบาล[45] แต่พระราชพิธีเสกสมรสถูกระงับไว้ เพราะปัญหาด้านการเงินของมารดานายโคมูโระ[46][47] นอกจากนี้แหล่งข้อมูลบางแห่งระบุว่าตาของนายโคมูโระมีเชื้อสายเกาหลี[48]
วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 สำนักข่าวเอ็นเอชเครายงานข่าวว่าเจ้าหญิงมาโกะจะเสกสมรสกับนายโคมูโระในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564 แต่จะไม่มีการจัดพิธีหมั้นและพิธีเสกสมรสตามธรรมเนียมญี่ปุ่น รวมทั้งทรงปฏิเสธเงินบำเหน็จการลาออกจากฐานันดรศักดิ์จำนวน 150 ล้านเยน หรือราว 44 ล้านบาท โดยหลังจากพิธีเสกสมรสเสร็จสิ้นลงแล้ว พระองค์จะออกไปใช้ชีวิตกับพระภัสดาที่นิวยอร์ก สหรัฐ[49][50]
ที่สุดเจ้าหญิงมาโกะและโคมูโระได้จดทะเบียนสมรสภายในหน่วยงานรัฐแห่งหนึ่งเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564 หรือวันสามวันหลังวันครบรอบวันประสูติของเจ้าหญิง[51] พระองค์ต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์หลังการเสกสมรส เช่นเดียวกับซายาโกะ คูโรดะ ซึ่งเป็นพระปิตุจฉา[52] หลังการจดทะเบียนสมรส มีการตั้งโต๊ะสัมภาษณ์ ทั้งสองจะตอบคำถามที่สื่อมวลชนญี่ปุ่นส่งมาล่วงหน้า ทั้งนี้เพื่อป้องกันคำถามที่รุนแรง เพราะมาโกะยังประชวรด้วยโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง[53]
มาโกะออกไปประทับ ณ พระตำหนักส่วนพระองค์ย่านชิบูยะเพื่อรอหนังสือเดินทางและวีซ่าสหรัฐ เพราะเมื่อลาออกจากฐานันดรศักดิ์แล้ว จะต้องย้ายออกจากพระราชวังของพระราชวงศ์ตามกฎหมาย[54] และจะติดตามพระภัสดาซึ่งสำเร็จการศึกษาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฟอร์ดแฮมใน พ.ศ. 2564 และทำงานในบริษัทกฎหมายโลเวนสไตน์แซนด์เลอร์ แอลแอลพี (Lowenstein Sandler LLP) ในนิวยอร์ก[19][20] วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 มาโกะและโคมูโระเดินทางออกจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้ชีวิตที่สหรัฐ[55][56]
พระเกียรติยศ
ธรรมเนียมพระยศของ เจ้าหญิงมาโกะ (พ.ศ. 2534–2564) |
---|
ธงประจำพระอิสริยยศ |
การทูล | เด็งกะ/เท็งกะ (殿下) |
---|
พระอิสริยยศ
- 23 ตุลาคม พ.ศ. 2534 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564 : เจ้าหญิงมาโกะแห่งอากิชิโนะ
- 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน : มาโกะ โคมูโระ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พงศาวลี
อ้างอิง
- ↑ "Visit of the General Public to the Palace for His Majesty's Birthday". The Imperial Household Agency. สืบค้นเมื่อ 30 October 2021.
- ↑ "Number of Imperial Telegrams (1991)". The Imperial Household Agency. สืบค้นเมื่อ 30 October 2021.
- ↑ "「研究部」". The University Museum, The University of Tokyo (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 15 September 2016.
- ↑ "Their Imperial Highnesses Crown Prince and Crown Princess Akishino and their family". Imperial Household Agency. สืบค้นเมื่อ 26 October 2021.
- ↑ "Japanese royal to spend time in Dublin studying English". The Irish Times. June 18, 2010. สืบค้นเมื่อ April 11, 2016.
- ↑ "「眞子さま、アイルランドから帰国 」". The Nikkei (ภาษาญี่ปุ่น). August 15, 2010. สืบค้นเมื่อ April 11, 2016.
- ↑ "Princess Mako Graduates University". The Royal Forums.
- ↑ "Their Imperial Highnesses Prince and Princess Akishino and their family - The Imperial Household Agency". kunaicho.go.jp.
- ↑ "「眞子さま、国際基督教大学をご卒業 「感謝しています」 」". Sankei Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). March 26, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-09. สืบค้นเมื่อ April 11, 2016.
- ↑ 「〈眞子さま〉国際基督教大学を卒業「一生の思い出の4年間」 Mainichi Shimbun March 26, 2014
- ↑ "Princess Mako celebrates her graduation from university". Royalista.
- ↑ "Princess Mako leaves for one year of study in England ‹ Japan Today: Japan News and Discussion". japantoday.com.
- ↑ "Japan's Princess Mako to study at Edinburgh University". deadlinenews.co.uk.
- ↑ "Princess Mako describes life at British university as 'fruitful' - The Japan Times". The Japan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2017-05-18.
- ↑ "Hosting royalty". ed.ac.uk. 4 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-27. สืบค้นเมื่อ 2017-05-18.
- ↑ "眞子さまが9月に英国ご留学". MSN Sankei News (ภาษาญี่ปุ่น). Sankei Shimbun. August 3, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2012. สืบค้นเมื่อ April 11, 2016.
- ↑ "眞子さま、「複雑性PTSD」と診断 宮内庁が発表". The Asahi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). The Asahi Shimbun. Oct 1, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 1, 2021. สืบค้นเมื่อ October 25, 2021.
- ↑ "Princess Mako's marriage prospects unknown, Crown Prince Akishino says". The Japan Times. 22 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-26. สืบค้นเมื่อ 4 September 2021.
- ↑ 19.0 19.1 McCurry, Justin (1 October 2021). "Princess Mako wedding announcement stirs up media frenzy in Japan". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 1 October 2021.
- ↑ 20.0 20.1 Landers, Peter; Inada, Miho (1 October 2021). "Japan's Princess Mako to Marry as Palace Blames Media for Her PTSD". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 1 October 2021.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 "เผยโฉมหนุ่มสุดหล่อ ว่าที่คู่หมั้นเจ้าหญิงแห่งญี่ปุ่น". MGR Online. 17 พฤษภาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-19. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2560.
- ↑ "Princess Mako off to Austria". The Japan Times.
- ↑ List of Overseas Visits by the Emperor, Empress and Imperial Family (1999 – 2008)
- ↑ "Japan's Princess Mako turns 20 and becomes newest adult member of Imperial Family". Telegraph.co.uk. 24 October 2011.
- ↑ 眞子さま、身分を隠しボランティア活動「実際に行ってみないとわからない…」
- ↑ "Image of Mako sign language".
- ↑ 「眞子さまがホームステイ 夏にオーストリアへ」 เก็บถาวร 2015-01-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Hokkaido Shimbun July 11, 2006 10:44
- ↑ 「世界遺産の宮殿を見学 ウィーンで眞子さま」 Chugoku Shimbun August 12, 2006
- ↑ ""เจ้าหญิงมาโกะ" เรียนต่อเมืองนอกเงียบ ๆ ปฏิบัติเยี่ยง "สามัญชน ม.ชม-ทรงถ่อมตัว"". มติชนออนไลน์. 24 กันยายน 2558. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2560. [ลิงก์เสีย]
- ↑ 5:00
- ↑ "ネットで大人気「眞子様萌え」! 宮内庁は困惑気味?". Yahoo! Netallica. 15 June 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2008.
- ↑ Yoshida, Reiji (16 May 2017). "Princess Mako, granddaughter of Emperor, set to marry ex-classmate". The Japan Times Online. สืบค้นเมื่อ 16 May 2017.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Princess Mako to lose Japan royal status by marrying commoner". BBC. 18 May 2017. สืบค้นเมื่อ 27 September 2017.
- ↑ "เผยประวัติว่าที่คู่หมั้นหนุ่มที่เจ้าหญิงมาโกะจะทรงสละฐานันดรศักดิ์มาแต่งงานด้วย". ข่าวสด. 17 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2560.
- ↑ "小室圭さんから"イジメ被害"の同級生が初告白「あれだけのことをしておいて、既読スルー」". Bunshun Online (ภาษาญี่ปุ่น). Bunshun. May 9, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2021. สืบค้นเมื่อ October 25, 2021.
- ↑ "詐欺罪で告発された小室佳代さん 渡米に必要なビザ取得に影響の可能性も". News Post Seven (ภาษาญี่ปุ่น). Shogakukan. October 13, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2021. สืบค้นเมื่อ October 25, 2021.
- ↑ "Japan's Princess Mako announces engagement". BBC. 4 September 2017. สืบค้นเมื่อ 27 September 2017.
- ↑ "Japan's Princess Mako Gives Up her Royal Status to Marry a Commoner". Time. 3 September 2017. สืบค้นเมื่อ 21 October 2017.
- ↑ "ญี่ปุ่นเผย 2 กำหนดการสำคัญ พระจักรพรรดิสละบังลังก์, เจ้าหญิงเสกสมรส". MGR Online. 23 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2560.
- ↑ "Princess Mako to postpone her wedding to 2020". NHK World. 6 February 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-07. สืบค้นเมื่อ 6 February 2018.
- ↑ "รีบเกินไป! 'เจ้าหญิงมาโกะ' ขอเลื่อนงานหมั้น-เสกสมรสแฟนหนุ่มไปอีก 2 ปี". ไทยรัฐออนไลน์. 6 กุมภาพันธ์ 2561. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ "เจ้าหญิงมาโกะแห่งญี่ปุ่นเลื่อนพิธีเสกสมรสกับหนุ่มสามัญชนออกไปอย่างน้อย 2 ปี". MGR Online. 6 กุมภาพันธ์ 2561. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ "เจ้าหญิงมาโกะแห่งญี่ปุ่นทรงเลื่อนพิธีเสกสมรสออกไปจนถึงปี 2020". บีบีซีไทย. 7 กุมภาพันธ์ 2561. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ "เจ้าหญิงมาโกะของญี่ปุ่นเลื่อนพิธีเสกสมรส". มติชนออนไลน์. 6 กุมภาพันธ์ 2561. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ Fogarty, Philippa (19 May 2017). "The princess, the palace and the shrinking royal line". BBC. สืบค้นเมื่อ 27 September 2017.
- ↑ "Princess Mako's marriage prospects unknown, Crown Prince Akishino says". The Japan Times. 22 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-26. สืบค้นเมื่อ 14 July 2019.
- ↑ "คู่หมั้น 'เจ้าหญิงมาโกะ' ประกาศเคลียร์ปัญหาหนี้สินของครอบครัว-พร้อมเดินหน้าพิธีเสกสมรส". ผู้จัดการออนไลน์. 23 มกราคม 2562. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2563.
- ↑ Julian Ryall (7 กุมภาพันธ์ 2561). "Bad debts and Korean blood: Japanese tabloids in a frenzy after Princess Mako's wedding postponed". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2563.
- ↑ "Princess Mako to wed boyfriend Komuro this year". NHK. 1 กันยายน 2564. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2564.
- ↑ "เจ้าหญิงมาโกะ เข้าพิธีเสกสมรสปลายปีนี้ และไม่ขอรับเงินจากราชวงศ์ตามสิทธิที่ได้รับ". มติชนออนไลน์. 1 กันยายน 2564. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2564.
- ↑ Reuters, Story by. "Japan's Princess Mako celebrates final birthday as member of imperial family before wedding to commoner". CNN. สืบค้นเมื่อ 2021-10-23.
- ↑ Fogarty, Philippa (19 May 2017). "The princess, the palace and the shrinking royal line". BBC. สืบค้นเมื่อ 4 September 2021.
- ↑ "眞子さまと小室さんの会見 質疑応答は取りやめに". TV Asashi News (ภาษาญี่ปุ่น). TV Asashi. October 26, 2021. สืบค้นเมื่อ October 26, 2021.
- ↑ "眞子さま渋谷区内のマンションで渡米準備 あす婚姻届提出後に皇籍離脱". TBS News (ภาษาญี่ปุ่น). October 25, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-25. สืบค้นเมื่อ October 25, 2021.
- ↑ Philip Wang (14 พฤศจิกายน 2564). "Former Japanese princess moves to New York with newlywed husband". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564.
- ↑ "อดีตเจ้าหญิงมาโกะพร้อมสามี ออกเดินทางตั้งต้นชีวิตใหม่ที่สหรัฐฯ". ไทยรัฐออนไลน์. 14 พฤศจิกายน 2564. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564.
- ↑ Régine. "Les 20 ans de la princesse Mako du Japon". Noblesse & Royautés. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-12. สืบค้นเมื่อ 2017-06-22.
- ↑ "Brazil Decorates Princess Mako". Nippon.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-12. สืบค้นเมื่อ 2021-10-26.
- ↑ "Crown Prince Akishino, Princess Mako Get Medals from Paraguay". 5 October 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-09. สืบค้นเมื่อ 2021-10-26.
แหล่งข้อมูลอื่น
เจ้าหญิงแห่งญี่ปุ่น |
---|
|
รุ่นที่ 1 | | |
---|
รุ่นที่ 2 | ไม่มี |
---|
รุ่นที่ 3 | |
---|
รุ่นที่ 4 | |
---|
รุ่นที่ 5 | |
---|
* ถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์ตามข้อกำหนดของสหรัฐอเมริกา † ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อเสกสมรส |