เจ้าหญิงสึงูโกะแห่งทากามาโดะ
เจ้าหญิงสึงูโกะแห่งทากามาโดะ (ญี่ปุ่น: 承子女王; โรมาจิ: Tsuguko Joō; ประสูติ 8 มีนาคม พ.ศ. 2529) เป็นพระธิดาในเจ้าชายโนริฮิโตะ ทากามาโดะโนะมิยะ กับเจ้าหญิงฮิซาโกะ พระชายาฯ เป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ พระประวัติเจ้าหญิงสึงูโกะแห่งทากามาโดะประสูติเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2529 เป็นพระธิดาองค์โตในเจ้าชายโนริฮิโตะ ทากามาโดะโนะมิยะ กับเจ้าหญิงฮิซาโกะ พระชายาฯ มีพระขนิษฐาอีกสองพระองค์ คือ โนริโกะ เซ็งเงะ และอายาโกะ โมริยะ เจ้าหญิงสึงูโกะทรงการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกากูชูอิง ทรงศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาสาขาวัฒนธรรมนานาชาติศึกษา (Intercultural Studies) วิทยาลัยหญิงกากูชูอิง แต่ทรงหยุดเรียน (drop) เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 และทรงศึกษาต่อที่ด้านจิตวิทยาอาชญากร (criminal psychology) และสังคมวิทยา (sociology) ณ มหาวิทยาลัยเอดินบะระในสกอตแลนด์ ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2547 จนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551[1][2] และทรงหยุดเรียน[3][4][5] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 พระองค์สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากโรงเรียนศิลปศาสตร์นานาชาติ (School of International Liberal Studies) มหาวิทยาลัยวาเซดะ[2][6] พระกรณียกิจพ.ศ. 2549 เจ้าหญิงสึงูโกะทรงร่วมงานในพระราชพิธีครบรอบการอภิเษกสมรสของแกรนด์ดยุกอ็องรีกับแกรนด์ดัชเชสมาเรีย เตเรซาแห่งลักเซมเบิร์ก ในฐานะตัวแทนของสมาชิกพระราชวงศ์ญี่ปุ่น[7] เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 พระองค์ตามเสด็จเจ้าหญิงฮิซาโกะ พระชนนี ในงานนิทรรศการศิลปะผู้พิการโตเกียว ครั้งที่ 28 ซึ่งถูกจัดขึ้น ณ ห้างสรรพสินค้าเซบุ อิเกบูกูโระ โตเกียว ซึ่งผู้ชนะในการแข่งขันนี้ได้จะรับเกียรติถ่ายภาพร่วมกับเจ้าหญิงฮิซาโกะและเจ้าหญิงสึงูโกะ[8] เดือนเมษายน พ.ศ. 2556 พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในกรรมการประจำประเทศญี่ปุ่นของยูนิเซฟ[9] และร่วมประกอบพระกรณียกิจร่วมกับพระชนนีอยู่เสมอ ๆ[10] ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันนั้น พระองค์ได้เสด็จเยือนประเทศศรีลังกา ตามคำกราบทูลเชิญของมหินทะ ราชปักษะ (Mahinda Rajapaksa) ประธานาธิบดีศรีลังกา เพื่อร่วมฉลองในวันครบรอบ 60 ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ โดยพระองค์ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากศีรันถิ ราชปักษะ (Shiranthi Rajapaksa)[11] เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 เจ้าหญิงสึงูโกะได้ตามเสด็จเจ้าหญิงฮิซาโกะเยือนเมืองวาตาริ จังหวัดมิยางิ ซึ่งได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ทอดพระเนตรความเรียบร้อยของกองบังคับการหน่วยยามฝั่งแห่งที่ 2 และทรงเยี่ยมหน่วยกู้ภัยทางน้ำมิยางิ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของสมาคมกู้ภัยทางน้ำญี่ปุ่นที่เจ้าหญิงฮิซาโกะพระชนนีเป็นประธานกิตติมศักดิ์[12] หลังจากนั้นทรงวางพวงมาลาไว้อาลัยแด่ผู้เสียชีวิต และมีพระดำรัสให้กำลังใจแก่สมาชิก[13] พงศาวลี
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|