Share to:

 

ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้

ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้
สมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกโดยตำแหน่ง
6​ ธันวาคม พ.ศ. 2563 – 11 กันยายน พ.ศ. 2566
(2 ปี 279 วัน)
ก่อนหน้าพลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์
ถัดไปพลเอก เจริญชัย หินเธาว์
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
(2 ปี 222 วัน)
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1​ ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 11 กันยายน พ.ศ. 2566
(2 ปี 345 วัน)
ก่อนหน้าพลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์
ถัดไปพลเอก เจริญชัย หินเธาว์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2506 (61 ปี)
คู่สมรสพิมพ์พิศา จิตต์แก้วแท้
ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ชื่อเล่นบี้, เฑียร[1]
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
กองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2529 – 2566
ยศ พลเอก
บังคับบัญชากองทัพบกไทย
ผ่านศึกวิกฤตการณ์ติมอร์ตะวันออก
ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[2]

พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ หรือชื่อเกิดว่า มณเฑียร แก้วแท้[1] (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2506) เป็นนายทหาร และนักการเมืองชาวไทย เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบกคนที่ 42 เคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[3] และยังดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 12 โดยตำแหน่ง

ประวัติและการศึกษา

ชีวิตส่วนตัว

ณรงค์พันธ์ (ชื่อเดิม มณเฑียร แก้วแท้) เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2506 มีชื่อเล่นว่า "บี้" สมรสกับ พ.อ. หญิง พิมพ์พิศา จิตต์แก้วแท้ มีบุตร 1 คน[4]

การศึกษา

ก่อนเข้ารับราชการ ศึกษาโรงเรียนอำนวยศิลป์ รุ่นที่ 53 ในปี พ.ศ. 2521 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 22 ปริญญาตรีวิทยาศาตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 33 ปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิต โรงเรียนเสนาธิการทหารบก (หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 73) นอกจากนี้ยังสำเร็จการฝึกหลักสูตรส่งทางอากาศ รุ่นที่ 153, หลักสูตรจู่โจม รุ่นที่ 78, หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าทหารราบ รุ่นที่ 78 และหลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารราบ รุ่นที่ 56 การศึกษาต่างประเทศ หลักศูตรชั้นนายร้อยทหารราบ และหลักสูตรนายทหารเครื่องยิงลูกระเบิด ณ ค่ายเบนนิ่ง รัฐจอร์เจีย สหรัฐ[4]

การรับราชการ

เขาเข้ารับราชการตำแหน่งที่สำคัญ ได้แก่

การปฏิบัติราชการพิเศษ

  1. ปฏิบัติหน้าที่ในกองกำลังนานาชาติ Interfet และกองกำลังสหประชาชาติ UNTAET ภารกิจรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก[4]
  2. ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หลังเหตุการณ์ปล้นปืนที่ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยกองทัพภาคจะส่งกำลังพลลงไปสนับสนุนกองทัพภาคที่ 4 ในการจัดหน่วยเฉพาะกิจลงไปรักษาความสงบเรียบร้อย เช่นเดียวกับกองทัพภาคที่ 1 เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์[4]
  3. ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดยะลาระหว่างความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้[5]
  4. นายทหารพิเศษประจำหน่วยทหารรักษาพระองค์ สังกัดกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์[4]
  5. ราชองค์รักษ์เวร[4]
  6. นายทหหารพิเศษประจำกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์[4]

กระทั่งวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รับโอน พล.อ. ณรงค์พันธ์ ผู้บัญชาการทหารบก (อัตราพลเอกพิเศษ) มาสังกัดหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการสำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตราพลเอกพิเศษ)[6][7]

ภาพถ่ายณรงค์พันธ์ (ยืนขวามือ) ขณะกำลังปฏิบัติงานสร้างสันติภาพที่ประเทศติมอร์-เลสเต

ความเห็นทางการเมือง

ณรงค์พันธ์ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน เป็นครั้งแรกภายหลังเข้ารับตำแหน่ง โดยอ้างว่ากองทัพไม่มีความคิดรัฐประหาร และให้ผู้ประท้วง "ปฏิรูปตัวเองก่อน"[8] ในเดือนพฤศจิกายน 2563 เขาให้สัมภาษณ์ว่าจะไม่ปกป้องคนผิดกรณีพลทหารพิชวัฒน์ผูกคอตายในค่ายทหาร[9] เขาทวงถามความรับผิดชอบจากผู้ประท้วงที่ไปชุมนุมที่ "พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์" ของกรุงเทพมหานคร[10] เขามีท่าทีตอบรับคำขอของนายทหารเกษียณนายหนึ่งที่ให้ช่วยดูแล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา[11]

ในปี 2565 จากกรณีโฆษณาของลาซาดาที่มีคนนั่งวีลแชร์นั้น ทำให้เขาสั่งห้ามพาหนะของลาซาดาเข้าค่ายทหารทั่วประเทศ และห้ามหน่วยงานของกองทัพบกสั่งซื้อของจากบริษัทดังกล่าว[12] เขากล่าวหาว่าโฆษณาดังกล่าวล้อเลียนผู้พิการ และอาจกระทบถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ คนไทยควรเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้พิการตามหลักเรื่องสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นกฎหมายสากล และกล่าวอีกว่า "เบี่ยงเบนทางร่างกาย หรือเบี่ยงเบนทางอะไรได้ แต่อย่าเบี่ยงเบนทางจิตใจ พยายามทำจิตใจให้สูงเข้าไว้"[13]

ปีต่อมาไม่กี่วันก่อนการเลือกตั้งใหญ่ เขากล่าวว่าจะไม่มีการปฏิวัติหรือรัฐประหารอีก และขอความร่วมมือสื่อมวลชนไม่ถามเรื่องนี้กับกองทัพ[14]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 รายงานพิเศษ / โค้งสุดท้าย โผทหาร ‘บิ๊กอุ้ย-บิ๊กแอร์’ แม่ทัพเรือ-ทัพฟ้า กับ ‘สัญญาใจ’ ทัพไทย และ 10 เรื่องไม่ลับ ของ ‘บิ๊กบี้’ ทบ.1 คอแดง อึ้ง! ‘ทรงวิทย์’ เจอทางเบี่ยง
  2. "พล.ท.ณรงค์พันธ์" ว่าที่ ผบ.ทบ.ลูกผสม "วงเทวัญ-บูรพาพยัคฆ์" - Nation TV
  3. ราชกิจจานุเบกษา,แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม, เล่มที่ 133, ตอนพิเศษ 230 ง, 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559, หน้า 1-2
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 "ชีวประวัติ พล.อ.ณรงค์พันธ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-01. สืบค้นเมื่อ 2020-10-29.
  5. ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ : "ทหารคอแดง" ผู้จงรักภักดี ผงาดนั่งเก้าอี้ ผบ.ทบ. คนที่ 42
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รับโอนนายทหารสัญญาบัตรเป็นข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหาร
  7. โปรดเกล้าฯ รับโอน 'พล.อ.ณรงค์พันธ์' สังกัดหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
  8. "ผบ.ทบ. ลั่นโอกาสรัฐประหาร "เป็นศูนย์"". BBC Thai. สืบค้นเมื่อ 6 October 2020.
  9. "ผบ.ทบ.ยันไม่ปกป้องคนผิดกรณี "พลทหาร พิชวัฒน์" ผูกคอดับ ลั่นปัดความรับผิดชอบไม่ได้". ผู้จัดการออนไลน์. 9 November 2020. สืบค้นเมื่อ 9 November 2020.
  10. "ผบ.ทบ.ถามม็อบคณะราษฎรพุ่งตรงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หากเกิดเสียหายใครรับผิดชอบ". ผู้จัดการออนไลน์ (ภาษาอังกฤษ). 9 November 2020. สืบค้นเมื่อ 10 November 2020.
  11. "ผบ.ทบ. พยักหน้ารับหลังทหารเกษียณ ขอให้ช่วยดูแล "นายกฯ"". โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 10 November 2020.
  12. "ทบ.แบน "ลาซาด้า" ห้ามรถส่งสินค้าเข้าเขตทหารทั่วประเทศ ให้ทุกหน่วยงานงดสั่งของ เว้นกำลังพลซื้อส่วนตัว". ผู้จัดการออนไลน์. 9 May 2022. สืบค้นเมื่อ 10 May 2022.
  13. "ผบ.ทบ.ลั่นปกป้องสถาบัน ปมแบน 'ลาซาด้า' เตือนอย่าเบี่ยงเบนจิตใจ". VoiceTV. 10 May 2022. สืบค้นเมื่อ 10 May 2022.
  14. "คำต่อคำ "บิ๊กบี้" ขอลบคำ "ปฏิวัติรัฐประหาร" ออกจากพจนานุกรมกองทัพ". Thai PBS.
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๘, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘๐, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๓๔ ข หน้า ๔, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๗
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๒ ข หน้า ๑๙, ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๖
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๖, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเหรียญตราต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๗, ๒๖ มกราคม ๒๕๔๔
  21. ผบ.ทบ.เยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ของผู้บัญชาการทหารบก ใน 3-4 ก.พ.65. Army Spoke Team 4 กุมภาพันธ์ 2565
  22. ผบ.ทบ.เยือนสิงคโปร์ รับมอบเหรียญอิสริยาภรณ์เชิดชูเกียรติทางทหาร สานสัมพันธ์สองกองทัพ ร่วมมือฝึกศึกษา พัฒนากำลังพล. Army Spoke Team 10 กุมภาพันธ์ 2566
  23. General Narongpan, Chief of Army, Royal Thai Army visits the Pentagon. Defense Visual Information Distribution Service. 22 พฤษภาคม 2566
Kembali kehalaman sebelumnya