ลำดับที่
|
ชื่อสวน
|
ตำแหน่งที่ตั้ง
|
เนื้อที่ (ไร่)
|
หมายเหตุ
|
1
|
สวนหลวง ร.9
|
ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงหนองบอน เขตประเวศ
|
500.00
|
เป็นสวนสาธารณะและสวนพฤกษศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2530
|
2
|
สวนวชิรเบญจทัศ
|
ถนนกำแพงเพชร 3 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร
|
375.00
|
เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ มีเนื้อที่กว่า 375 ไร่ มีเนื้อที่ติดกับสวนสาธารณะสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ และสวนจตุจักร อยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
|
3
|
สวนลุมพินี
|
แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน
|
360.00
|
สวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย เปิดให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 ก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 7 ในที่ดินเนื้อที่ 360 ไร่ ณ ทุ่งศาลาแดง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานสำหรับสร้าง "สยามรัฐพิพิธภัณฑ์" เพื่อจัดแสดงสินค้าไทยเป็นครั้งแรก และจัดให้เป็น "สวนสาธารณะ" สำหรับประชาชน พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า "สวนลุมพินี" ซึ่งเป็นชื่อสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าในประเทศเนปาล แต่พระองค์เสด็จสวรรคตก่อนจึงไม่แล้วเสร็จ
|
4
|
สวนเสรีไทย
|
ถนนเสรีไทย แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม
|
350.00
|
|
5
|
สวนป่าเบญจกิติ
|
เขตคลองเตย
|
320.00
|
|
6
|
อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
|
เขตดุสิต
|
279.00
|
|
7
|
สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
|
ถนนกำแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร
|
196.00
|
ตั้งอยู่ติดกับสวนจตุจักรและสวนวชิรเบญจทัศ สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถครบ 5 รอบ ซึ่งตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 โครงการนี้ริเริ่มโดยคณะรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2534 เปิดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2539 มีพื้นที่ระยะแรก 140 ไร่ (0.22 ตร.กม.) โครงการระยะที่สองจะเพิ่มพื้นที่อีก 60 ไร่ในอนาคต
|
8
|
สวนจตุจักร
|
ถนนกำแพงเพชร 1 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร
|
155.00
|
เป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร ทิศตะวันออกจรดถนนพหลโยธิน ทิศเหนือจรดถนนวิภาวดีรังสิต ทิศตะวันตกและทิศใต้จรดถนนกำแพงเพชร 3 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามของสวนแห่งนี้ว่า "สวนจตุจักร" (ซึ่งเป็นชื่อภาษาสันสกฤต มีความหมายว่า "สี่รอบ") สวนจตุจักรเปิดทำการในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2523
|
9
|
สวนเบญจกิติ
|
ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย
|
130.00
|
เป็นสวนสาธารณะเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวาระพระชนมายุครบ 60 พรรษาเมื่อปี พ.ศ. 2535 ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่โรงงานยาสูบเดิม ข้างศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถนนรัชดาภิเษกช่วงระหว่างถนนพระรามที่ 4 กับ ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ชื่อสวนเบญจกิติได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ มาทรงทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2547
|
10
|
สวนวารีภิรมย์
|
ถนนประชาร่วมใจ แขวงทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวา
|
121.00
|
มีพื้นที่ 121 ไร่ 3 งาน 38 ตารางวา เดิมเรียกว่า บึงมะขามเทศและบึงสะแกงามสามเดือน ใช้พื้นที่เป็นแก้มลิงรับน้ำของกรุงเทพมหานคร ฝั่งตะวันออก ต่อมากรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์และจัดทำเส้นทางจักรยาน ทางเดิน-วิ่ง ระยะทาง 4.2 กิโลเมตร เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 82 พรรษา เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557[3]
|
11
|
สวนนวมินทร์ภิรมย์ (บึงลำพังพวย)
|
แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม
|
76.00
|
เป็นสวนสาธารณะในการกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 เป็นสวนสาธารณะขนาดกลาง บนเนื้อที่กว่า76ไร่ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พ.ศ. 2549 โดยพื้นที่แห่งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากการเคหะแห่งชาติ ทางกรุงเทพมหานคร จึงปรับปรุงพื้นที่แห่งนี้ เป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ ตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร
ภายในใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชนทั่วไป มีลานสำหรับออกกำลังกาย มีสนามเด็กเล่น และอื่นๆ มีศาลาเป็นซุ้มไม้เลื้อยและศาลานั่งริมน้ำ น้ำพุกลางบึงน้ำ สนามเด็กเล่น ลานอเนกประสงค์ เวทีกลางแจ้ง สถานีออกกำลังกาย ทางออกกำลังกาย สะพานข้ามบึงน้ำ ห้องสุขาสาธารณะ
โดยสวนสาธารณะแห่งนี้ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามว่าสวนนวมินทร์ภิรมย์
|
12
|
สวนธนบุรีรมย์
|
ถนนพุทธบูชา แขวงบางมด เขตทุ่งครุ
|
63.00
|
|
13
|
สวน 60 พรรษา สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
|
ถนนเคหะร่มเกล้า แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง
|
61.00
|
|
14
|
สวนกีฬารามอินทรา
|
ถนนรามอินทรา แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน
|
59.00
|
|
15
|
สวนทวีวนารมย์
|
แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา
|
54.00
|
|
16
|
สวนพระนคร (สวนลาดกระบัง)
|
ถนนลาดกระบัง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง
|
50.00
|
|
17
|
สวนวนธรรม (สวนธรรม 70 พรรษา มหาราชินี)
|
แขวงหนองบอน เขตประเวศ
|
43.00
|
|
18
|
สวนปทุมวนานุรักษ์
|
ถนนราชดำริ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน
|
37.00
|
เป็นสวนสาธารณะเนื้อที่ประมาณ 37 ไร่ ซึ่งได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และจัดสร้างโดยสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
|
19
|
สวนหนองจอก
|
ถนนเลียบวารี แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก
|
35.00
|
เป็นสวนสาธารณะอีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร อยู่ภายใต้การควบคุมของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 35 ไร่ 2งาน เป็นสวนชุมชน เป็นสวนสาธารณะที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2530 และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2530
|
20
|
สวนวัชราภิรมย์
|
ถนนรามอินทรา แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน
|
34.00
|
|
21
|
อุทยานเบญจสิริ
|
ถนนสุขุมวิท ระหว่างซอยสุขุมวิท 22–24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย
|
29.00
|
เป็นสวนสาธารณะระดับชุมชนขนาดเล็กในกรุงเทพมหานครสร้างบนที่ดินเดิมเนื้อที่ 29 ไร่ของกรมอุตุนิยมวิทยาริมถนนสุขุมวิทที่ย้ายออกไปอยู่ที่ถนนสุขุมวิท เขตบางนา โดยด้านข้างของสวนสาธารณะแห่งนี้ติดกับโรงแรมอิมพีเรียลควีนส์พาร์ค ห้างสรรพสินค้าเอ็มโพเรี่ยม กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ในสมัยรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ จัดสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษาในปีพ.ศ. 2535 ได้รับการออกแบบภูมิทัศน์โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ
|
22
|
สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา
|
เชิงสะพานพระราม 9 ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม
|
29.00
|
เป็นสวนสาธารณะอีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร อยู่ภายใต้การควบคุมของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 29 ไร่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542
|
23
|
สวนรมณีนาถ
|
ถนนศิริพงษ์ แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร
|
29.00
|
|
24
|
สวนสราญรมย์
|
ถนนราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
|
23.00
|
|
25
|
สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
|
ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย
|
21.00
|
ตั้งอยู่ที่ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย เป็นสวนสาธารณะที่ทางกรุงเทพมหานคร ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมธนารักษ์ ดำเนินการก่อสร้างสวนสาธารณะแห่งนี้ขึ้น บนเนื้อที่กว่า21ไร่ ริมถนนบางขุนนนท์ โดยภายในประกอบด้วยสนามเด็กเล่น ศาลาพักผ่อนริมน้ำ เรือนทรงไทย และอื่นๆ และยังมีศูนย์สำหรับเรียนรู้พฤกษศาสตร์ตามแนวพระราชดำริอีกด้วย
|
26
|
สวนบึงน้ำลาดพร้าว 71
|
แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว
|
21.00
|
|
27
|
สวน 50 พรรษา มหาจักรีสิรินธร
|
ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ
|
20.00
|
|
28
|
สวนสันติภาพ
|
ถนนราชวิถี แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี
|
20.00
|
เป็นสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณถนนราชวิถีกับถนนรางน้ำ เขตราชเทวี ใกล้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นพื้นที่ที่กรุงเทพมหานครเช่าจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ป้ายชื่อสวนเป็นลายมือของท่านพุทธทาสภิกขุ โดยเริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540
โดยที่ชื่อสวนนั้น หมายถึง สันติภาพจากสงคราม โดยทำการเปิดให้บริการวันแรกคือวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2541 อันตรงกับวันครบรอบการที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง
|
29
|
สวนหลวงพระราม 8
|
เชิงสะพานพระราม 8 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด
|
20.00
|
สวนหลวงพระราม 8 มีขนาดพื้นที่ประมาณ 35 ไร่ ความยาว 500 เมตร อยู่บริเวณใต้สะพานพระราม 8 ฝั่งธนบุรี ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งทิศตะวันตก จัดเป็นที่ ๆ ที่มีบรรยากาศและทิวทัศน์งดงาม สามารถมองเห็นสิ่งก่อสร้างสำคัญทางประวัติศาสตร์ของกรุงรัตนโกสินทร์ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามได้หลายแห่ง เช่น ป้อมพระสุเมรุ, วังบางขุนพรหม, ยอดอาคารโดมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งอยู่ฝั่งพระนคร และสะพานพระปิ่นเกล้า ได้อย่างชัดเจน รวมถึงยังประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
|
30
|
สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสมหามงคลพระชนมพรรษา 80 พรรษา
|
ถนนสาทร แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร
|
17.00
|
|
31
|
สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน
|
ถนนเวฬุวนาราม แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง
|
15.00
|
แต่เดิมคือ สวนป่าสีกัน ต่อมาทางเขตดอนเมืองได้รับนโยบายจากกระทรวงมหาดไทยให้ปรับปรุงพื้นที่แห่งนี้เพื่อเป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจในเขตดอนเมือง ภายในประกอบด้วย ลานสำหรับออกกำลังกาย ศาลาพักผ่อน
โดยสวนสาธารณะแห่งนี้ได้รับพระราชทานชื่อจาก สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ว่า สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน อันหมากถึง สวนที่ให้ความร่มรื่นใจประจำทุ่งสีกัน
|
32
|
สวนพรรณภิรมย์
|
เขตห้วยขวาง
|
14.00
|
|
33
|
สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติเกียกกาย
|
ถนนทหาร แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต
|
10.00
|
เป็นสวนสาธารณะที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พุศ. 2542 ซึ่งสร้างขึ้นบนองค์การทอผ้า ของกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้เลิกกิจการไป ทางกรุงเทพมหานครจึงได้ปรับปรุงพื้นที่ในปี พ.ศ. 2546 และจึงเริ่มดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2548 มีเนื้อที่ 10 ไร่ ภายในประกอบด้วย พิพิธภัณฑ์เด็กเกียกกาย ลานออกกำลังกาย สนามเด็กเล่น ซึ่งภายในประดับประดาไปด้วยพรรณไม้นานาพันธุ์
|
34
|
สวนสันติชัยปราการ
|
ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร
|
8.00
|
เป็นสวนสาธารณะระดับชุมชนเมือง สร้างบนพื้นที่ประมาณ 8 ไร่เศษ บริเวณโดยรอบป้อมพระสุเมรุ ซึ่งตั้งอยู่ที่ช่วงปลายถนนพระอาทิตย์ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาตรงปากคลองบางลำพู สวนแห่งนี้จัดสร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลสมัย เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยภายในบริเวณสวนมีพระที่นั่งสันติชัยปราการ ที่มีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติมาประดับไว้ พร้อมกับท่ารับเสด็จขึ้นลงเรือพระที่นั่ง เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นที่จัดพระราชประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแม่น้ำเจ้าพระยา
|
35
|
สวนนาคราภิรมย์ (สวนกรมการค้าภายใน)
|
ถนนมหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
|
3.00
|
|
36
|
สวนจรัญภิรมย์
|
ซอยจรัญสนิทวงศ์ 42 แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด
|
3.00
|
|
36
|
สวนสิรินธราพฤกษาพรรณ
|
ซอยจรัญสนิทวงศ์ 25 แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย
|
3.00
|
เป็นสวนสาธารณะแห่งที่ 28 ของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนเนื้อที่กว่า 3 ไร่ 16 ตารางวา ตั้งอยู่ที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 25 เขตบางกอกน้อย เป็นสวนสาธารณะขนาดเล็กซึ่งพื้นที่ของสวนสาธารณะได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระองค์ได้รับมอบที่ดินจากนายอุ๋ย จันทร์เสริม ที่น้อมเกล้าฯ ถวาย โดยภายในสวนประดับประดาไปด้วยพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ มีสนามเด็กเล่น มีลานออกกำลังกาย และยังเป็นที่ตั้งของศูนย์ฝึกอาชีพมูลนิธิชัยพัฒนา และยังเป็นที่ตั้งของเรือนไทยอนุรักษ์ซึ่งเป็นเรือนไม้ทรงพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้อนุรักษ์เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเครื่องมือช่างไม้ไทย
โดยสวนสาธารณะแห่งนี้ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า สวนสิรินธราพฤกษาพรรณ และเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดสวนสาธารณะแห่งนี้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
|
37
|
สวนยอดแขม
|
แขวงหนองแขม เขตหนองแขม
|
3.00
|
|
38
|
สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์
|
เขตบางรัก
|
0.70
|
เป็นสวนหย่อมขนาดเล็ก สร้างลงบนพื้นที่ว่างซึ่งได้รับการบริจาคในเขตชุมชนใกล้ซอยวัดหัวลำโพงซึ่งเป็นของหม่อมหลวงธิษัณ ศรีธวัช เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ในสวนนี้มีทางวิ่งออกกำลังกาย ศาลา เวทีกลางแจ้ง อุปกรณ์ออกกำลังการ และปลูกพืชสวนครัว เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564[4][5]
|
39
|
สวนมณฑลภิรมย์
|
เขตตลิ่งชัน
|
0.50
|
|
40
|
สวนเปรมประชาวนารักษ์
|
เขตหลักสี่
|
10
|
เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2567[6]
|