โรงเรียนหอวัง ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2509 เป็นโรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีประวัติการก่อกำเนิดโรงเรียนเกี่ยวเนื่องกับ "โรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย"
ประวัติ
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงยกเลิกตำแหน่งวังหน้าและตั้งมกุฎราชกุมารขึ้นมาแทน และทรงตั้งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้นมาแห่งหนึ่ง ณ ทุ่งปทุมวัน ชื่อว่า "วังวินด์เซอร์" หรือเรียกกันโดยสามัญว่า "พระตำหนักหอวัง" เนื่องจากเป็นตึกมีหอสูง
หลังจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ประชวรจนเสด็จสวรรคต ก็มิได้ใช้พระตำหนักหอวังในการประทับ หากแต่ใช้เป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459
โรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ภายหลังการก่อตั้ง แผนกฝึกหัดครูของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบัน คือ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2472 เพื่อให้นิสิตแผนกฝึกหัดครู ใช้ฝึกความชำนาญในการสอน และได้ใช้อาคารวังวินด์เซอร์ เป็นอาคารเรียน เรียกว่า ตึกหอวัง[1]
เมื่อ พ.ศ. 2478 กรมพลศึกษาได้ทำสัญญาเช่าที่ดินตำบลวังใหม่จากมหาวิทยาลัย และรื้อตึกหอวัง เพื่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติ โรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงย้ายไปอยู่ที่อาคารเรียนสร้างใหม่ ริมถนนพญาไท จนถึง พ.ศ. 2481 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ยุบโรงเรียนมัธยมหอวังฯ ลง และจัดตั้ง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาของชาติในระยะนั้น
เมื่อ พ.ศ. 2509 ศิษย์เก่าจากโรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รวมตัวกันก่อตั้ง สมาคมนักเรียนเก่ามัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้น และมติในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคมว่า ควรฟื้นฟูโรงเรียนขึ้นมาอีก ให้เป็นที่ชุมนุมของนักเรียนเก่า และได้พิจารณาสถานที่ตั้งของ โรงเรียนบางเขนวิทยา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2509
กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีประกาศเรื่อง เปลี่ยนชื่อ "โรงเรียนบางเขนวิทยา" เป็น "โรงเรียนหอวัง" ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2511 ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 โรงเรียนหอวังผ่านการประเมินรอบที่ 3 จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาให้เป็น 1 ใน 8 โรงเรียนคุณภาพระดับพิเศษของกรุงเทพมหานครและ 1 ใน 16 โรงเรียนคุณภาพพิเศษของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2554
รายนามผู้บริหาร
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนหอวัง
|
รายชื่อ
|
ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
|
1. นายดุสิต พูนพอน
|
พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2512
|
2. นายเจริญ วงศ์พันธ์
|
พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2523
|
3. นางลออศรี ชุมวรชาติ
|
พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2532
|
4. นายสมพงศ์ ธรรมอุปกรณ์
|
พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2540
|
|
5. นายณรงค์ รักเดช
|
พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2542
|
6. นายมนตรี แสนวิเศษ
|
พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2545
|
7. นางพิศวาส ยุติธรรมดำรง
|
พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2549
|
8. นางสาวสุกัญญา สันติพัฒนาชัย
|
พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550
|
9. นายปลองยุทธ อินทพันธุ์
|
พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2554
|
|
10. นายพชรพงศ์ ตรีเทพา
|
พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2555
|
11. นายธงชาติ วงษ์สวรรค์
|
พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2556
|
12. นายสวัสดิ์ เพชรบูรณ์
|
พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2561
|
13. นายเลิศศิลป์ รัตนมุสิก
|
พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2562
|
14. นายธรรมรงค์ เสนจันทร์
|
พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2563
|
15. นายประวัติ สุทธิประภา
|
พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2567
|
16. นายมานัส เวียงวิเศษ
|
พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน
|
อาคารและสถานที่
- อาคาร 1 เป็นอาคาร 2 ชั้น พื้นห้องเรียนและโต๊ะเรียนเป็นไม้สักทั้งหมด ปัจจุบันถูกรื้อถอนเพื่อนำพื้นที่ไปใช้สร้างอาคารวชิรุณหิศหรืออาคาร 10
- อาคาร 2 เป็นอาคาร 2 ชั้น พื้นห้องเรียนและโต๊ะเรียนเป็นไม้สักทั้งหมด ลักษณะเป็นอาคารแฝดกับอาคาร 1 ที่ชั้น 2 เคยมีภาพเขียนฝาผนัง ซึ่งเลือนลางมาก ปัจจุบันถูกรื้อถอนเพื่อนำพื้นที่ไปใช้สร้างอาคารวชิรุณหิศ
- อาคาร 3 เป็นอาคาร 4 ชั้นเป็นอาคารประจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีห้องที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ห้องกลุ่มบริหารงานบุคคล ห้องรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล ห้องพักครูภาษาจีน ศูนย์บูรณาการทางภาษา ศูนย์วัฒนธรรมไทย ห้องปฏิบัติการด้านเสียง (sound lab) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
- อาคาร 4 เป็นอาคารวิทยาศาสตร์ 4 ชั้นติดเครื่องปรับอากาศทุกห้องเรียนสำหรับเรียนปฏิบัติทางวิชาวิทยาศาสตร์นอกจากนี้ยังเป็นของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีห้องที่สำคัญมากมายได้แก่ ศูนย์คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ศูนย์ชีววิทยา ห้องแนะแนว ห้องสหกรณ์
- อาคาร 5 เป็นอาคาร 4 ชั้นเป็นอาคารประจำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีห้องที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ห้องเกียรติยศ ห้องเรียนสีเขียว ห้องกลุ่มบริหารงานทั่วไป ห้องพยาบาล สำนักผู้อำนวยการ ห้องการเงินพัสดุ ห้องทะเบียนวัดผล กลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหารงบประมาณ ห้องรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานทั่วไปห้อง รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ ห้องรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ห้องจริยธรรม ห้องประชุมเล็ก ห้องอาเซียน ห้องคลินิกวิจัยให้คำปรึกษาครู ห้องแผนงานโรงเรียน ห้องธนาคารโรงเรียน
- อาคาร 6 เป็นอาคาร 4 ชั้นเป็นอาคารที่เกี่ยวกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะและการงานพื้นฐานอาชีพ มีโรงฝึกช่าง ห้องหล่อเรซิน ห้องศิลปะไทย ห้องนาฏศิลป์ ห้องขับร้องดนตรีสากล
- อาคาร 9 เป็นอาคาร 4 ชั้นติดเครื่องปรับอากาศครบทุกห้อง เป็นอาคารประจำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นอกจากนี้ยังมีห้องอื่น ๆ อีกได้แก่ ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ห้องสมุดคณิตศาสตร์ ห้องกิจกรรมนักเรียน (ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ห้องพลศึกษาและลีลาศ
- อาคาร 10 (อาคารวชิรุณหิศ) เป็นอาคาร 8 ชั้นชื่อของอาคารเป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอาคารประจำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, 3 และ 4 นอกจากนี้ยังประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศที่ใหญ่ที่สุดและยังมีห้องปฏิบัติการอื่น ๆ ได้แก่ ห้องสมุด ศูนย์อินเทอร์เน็ต ศูนย์คอมพิวเตอร์ ห้องนวัตกรรม (เมื่อพ.ศ. 2556 มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาลและบุกยึดสถานที่ราชการ กระทรวงศึกษาธิการจึงย้ายมาทำงานที่ห้องนี้ชั่วคราว) ห้องประชุมวชิรุณหิศ (ห้องมุข) ห้องพักครู โดยมีลิฟต์โดยสาร 2 ตัว
- ศูนย์อาหาร เป็นศูนย์อาหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยโดยเป็นอาคาร 3 ชั้น สร้างขึ้นปี พ.ศ. 2551 งบประมาณก่อสร้างกว่า 45 ล้านบาทมีลิฟต์ขนส่ง 2 ตัว ชั้นที่ 1 เป็นลานสำหรับเล่นกีฬาเทเบิ้ลเทนนิส พักผ่อนและลานจอดรถ ชั้นที่ 2 เป็นศูนย์อาหารมีร้านจำหน่ายอาหารมากกว่า 30 ร้านค้า มีห้องรับประทานอาหารครูและบุคลากรทางการศึกษาติดเครื่องปรับอากาศ ชั้นที่ 3 เป็นโรงกีฬามีสนามกีฬาบาสเก็ตบอล วอลเล่ย์บอล เทนนิส นอกจากนี้ยังเป็นสนามเทนนิสในร่มที่เดียวในประเทศไทยอีกด้วย
- หอประชุม เป็นอาคาร 2 ชั้นโดยเป็นอาคารปรับอากาศทั้งหลัง ชั้นที่ 1 มีห้องวงโยธวาทิตโรงเรียนหอวัง ห้องเรียนการงาน ห้องครัวสำหรับเรียนทำอาหาร หอประชุมโรงเรียนได้มีการจัดงานที่สำคัญหลายงาน เช่น งานวันภาษาไทยแห่งชาติโดยนายสมัคร สุนทรเวช ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีและนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้ยังได้ใช้หอประชุมโรงเรียนจัดงานโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพโดยนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในงานดังกล่าว ด้านหน้าอาคารหอประชุมมีต้นไม้ทรงปลูกใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
- อาคารที่พักนักการ เป็นลักษณะแฟลต 4 ชั้น ด้านล่างสุดเป็นห้องเรียนเกษตร และร้านโฮมเมด
- เรือนเพาะชำ เป็นของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพเพื่อปลูกต้นไม้เพาะพันธุ์
- สวนสมุนไพร เป็นสวนที่มีสมุนไพรไทยและป้ายบรรยายสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด
- สวนไม้ในวรรณคดี เป็นสวนที่มีชื่อปรากฏอยู่ในวรรณคดีไทยแต่ละเรื่อง
- สวนไม้มงคล เป็นสวนไม้มงคลของประเทศไทย อาทิ กฤษณา มะยม เป็นต้น
- สวนจตุรทัศวรรษ เป็นสวนขนาดใหญ่ตั้งอยู่ติดกับประตูโรงเรียนฝั่งพหลโยธิน มีศาลาประชุมทรงไทยตั้งอยู่กลางสวน
- สวนน้ำตก ตั้งอยู่ระหว่างศูนย์อาหารโรงเรียนกับอาคาร 5 เดิมเป็นสะพานข้ามบ่อน้ำพุต่อมาได้ปรับเปลี่ยนให้เป็นสวนน้ำตกมีความร่มรื่นมาก
กลุ่มโรงเรียนหอวัง
ลำดับที่
|
โรงเรียน
|
อักษรย่อ
|
จังหวัด
|
สถาปนา / ยกฐานะ
|
หมายเหตุ
|
1
|
โรงเรียนหอวัง
|
ห.ว. / HW
|
กรุงเทพมหานคร
|
9 มกราคม พ.ศ. 2509; 58 ปีก่อน (2509-01-09)
|
|
2
|
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี
|
ห.ว.น. / HWN
|
นนทบุรี
|
4 มีนาคม พ.ศ. 2535; 32 ปีก่อน (2535-03-04)
|
นอกจากนี้ยังเป็นโรงเรียนในเครือข่ายโรงเรียนนวมินทราชินูทิศร่วมกับอีก 8 โรงเรียน
|
3
|
โรงเรียนหอวัง ปทุมธานี
|
ห.ว.ป. / HWP
|
ปทุมธานี
|
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550; 17 ปีก่อน (2550-02-08)
|
เดิมเป็นโรงเรียนในเครือข่ายโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุง โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุง ปทุมธานี สาขาวัดบุญบางสิงห์" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนสิงห์ปทุมราษฎร์วิทยา" ตามลำดับ
|
การเดินทางมายังโรงเรียน
- รถยนต์ส่วนบุคคล
- รถโดยสารประจำทางสายต่าง ๆ เช่น ปอ.29, ปอ.510 ฯลฯ
- รถเมล์ของทหารอากาศ
- รถตู้
- รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (MRT) (สายสีน้ำเงิน) ให้ลงที่สถานีพหลโยธิน
- รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา สาย 1(รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท) ให้ลงที่สถานีห้าแยกลาดพร้าว
รายนามศิษย์เก่าผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตและผู้มีชื่อเสียง
สถานที่ใกล้เคียง
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ระดับมัธยมศึกษา |
---|
กรุงเทพมหานคร | |
---|
ภาคกลางตอนบน | |
---|
ภาคกลางตอนล่าง | |
---|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน | |
---|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง | |
---|
ภาคเหนือตอนบน | |
---|
ภาคเหนือตอนล่าง | |
---|
ภาคตะวันออก | |
---|
ภาคใต้ตอนบน | |
---|
ภาคใต้ตอนล่าง | |
---|