อำเภอทุ่งช้าง |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Thung Chang |
---|
|
คำขวัญ: พิพิธภัณฑ์เรืองรอง ส้มสีทองเรืองนาม สาวงามพริ้มพราย ผ้าลายไทลื้อ ยึดถือธรรมะ พระพุทธรูป 700 ปี |
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอทุ่งช้าง |
พิกัด: 19°23′14″N 100°52′33″E / 19.38722°N 100.87583°E / 19.38722; 100.87583 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | น่าน |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 760.811 ตร.กม. (293.751 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2566) |
---|
• ทั้งหมด | 18,908 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 24.85 คน/ตร.กม. (64.4 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 55130 |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 5508 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอทุ่งช้าง ถนนน่าน-ทุ่งช้าง ตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน 55130 |
---|
|
ทุ่งช้าง (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดน่าน เดิมมีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอเชียงกลาง[1][2][3][4] อำเภอสองแคว[5]ทั้งหมด และตำบลห้วยโก๋นของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ[6][7]
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอทุ่งช้างมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังต่อไปนี้
ประวัติ
แต่เดิมท้องที่อำเภอทุ่งช้างเป็นบริเวณที่เรียกว่าแขวงเมืองและ ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอ ชื่อว่าอำเภอและ[8] ตามตำบลที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ โดยมีอาคารที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่บ้านเฟือยลุง หมู่ 9 ตำบลและ เมื่อปี พ.ศ. 2504 ต่อมาได้ย้ายอาคารที่ว่าการอำเภอมาตั้งใหม่ซึ่งห่างจากเดิม 2 กิโลเมตร อยู่ในเขตบ้านทุ่งช้าง หมู่ 2 ตำบลทุ่งช้าง จึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอและ จังหวัดน่าน เป็นอำเภอทุ่งช้าง[9] ในวันที่ 11 เมษายน ปีเดียวกัน และย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่ที่ตำบลทุ่งช้างจนถึงปัจจุบัน
อำเภอทุ่งช้าง มีประวัติศาสตร์การสู้รบที่ยาวนาน คือสงครามอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางความทางคิด อุดมการณ์ ลัทธิการปกครอง ผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์ที่แทรกซึมเพื่อหวังทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ พ.ศ. 2506 ทวีความรุนแรงตั้งแต่ พ.ศ. 2513 จนถึง พ.ศ. 2518 ชาวไทยที่รักชาติต้องพลีชีพปกป้องผืนแผ่นดินไทยมากมายถึง 600 กว่าคน ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร ปัจจุบันชาวอำเภอทุ่งช้างมีวิถีชีวิตที่สุขสงบท่ามกลางธรรมชาติที่ร่มรื่นสวยงาม อากาศบริสุทธิ์ ผู้คนมีอัธยาศัยไมตรี ราษฎรมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ถึงแม้จะประกอบด้วยราษฎรหลากหลายเผ่าพันธ์ เช่น ไทยเหนือ ไทลื้อ ม้ง ขมุ ลัวะ เย้า ถิ่น แต่ชนทุกเผ่าก็อยู่อาศัยร่วมกันในผืนดินนี้อย่างสุขสงบ ไม่เคยมีปัญหาด้านการปกครอง
- วันที่ 8 กันยายน 2450 รวมเมืองและ เมืองปอน เมืองงอบ เมืองเบือ ขึ้นเป็นแขวงเมืองและ ตั้งที่ว่าการแขวงที่เมืองและ[8]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลงอบ แยกออกจากตำบลปอน ตั้งตำบลเปือ แยกออกจากตำบลและ ตั้งตำบลเชียงคาน แยกออกจากตำบลเชียงกลาง[10]
- วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลและ ในท้องที่บางส่วนของตำบลและ[11]
- วันที่ 11 เมษายน 2504 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอและ จังหวัดน่าน เป็น อำเภอทุ่งช้าง[9]
- วันที่ 18 มิถุนายน 2511 แยกพื้นที่ตำบลเปือ ตำบลเชียงกลาง ตำบลเชียงคาน และตำบลนาไร่หลวง อำเภอทุ่งช้าง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเชียงกลาง ขึ้นกับอำเภอทุ่งช้าง[3]
- วันที่ 17 กันยายน 2511 จัดตั้งสุขาภิบาลสบกอน ในท้องที่บางส่วนของตำบลเชียงกลาง และตำบลเปือ[12]
- วันที่ 16 พฤศจิกายน 2514 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง เป็น อำเภอเชียงกลาง[4]
- วันที่ 13 กันยายน 2520 ตั้งตำบลทุ่งช้าง แยกออกจากตำบลและ[13]
- วันที่ 9 ตุลาคม 2535 ตั้งตำบลห้วยโก๋น แยกออกจากตำบลปอน[6]
- วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 แยกพื้นที่ตำบลห้วยโก๋น อำเภอทุ่งช้าง และตำบลขุนน่าน อำเภอบ่อเกลือ มาตั้งเป็น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ[7] เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลและ เป็นเทศบาลตำบลและ[14]
- วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลและ อำเภอทุ่งช้าง เป็นเทศบาลตำบลทุ่งช้าง[15]
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอทุ่งช้างแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 40 หมู่บ้าน ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอทุ่งช้างประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
แหล่งข้อมูลอื่น
อ้างอิง
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
|
---|
|