อำเภอเชียงกลาง
เชียงกลาง (ไทยถิ่นเหนือ: ) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดน่าน เป็นอำเภอที่รองรับการขยายตัวเศรษฐกิจแห่งที่ 2 ของจังหวัดน่านตอนเหนือ สาระสังเขปอำเภอเชียงกลาง เป็นอำเภอที่เล็กที่สุดของจังหวัดน่าน แต่เต็มไปด้วยความสวยงามธรรมชาติอันบริสุทธิ์ผุดผ่องของภูเขา ลำธาร อาทิ น้ำตกตาดม่าน แก่งสะม้าเก้าบั้ง ที่ตั้งและอาณาเขตอำเภอเชียงกลางตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ประวัติอำเภอเชียงกลาง (คำเมืองออกเสียงว่า เจียงก๋าง) ตามคำบอกเล่าสรุปความว่า เดิมทีเดียวจังหวัดน่านมีที่ตั้งอยู่ที่อำเภอปัวเรียกว่า "วรนคร" และมีเมืองน้อยใหญ่เป็นเมืองบริวาร ทางเหนือของเมืองปัวมีเมืองเปือ เมืองงอบ และเมืองปอน ซึ่งสมัยนั้นข้าศึกที่มักยกกำลังมาย่ำยีคือ เงี้ยวหรือไทยใหญ่ หัวเมืองทางเหนือของเมืองปัวก็ได้แตกร่นถอยลงมาอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกอนที่มาบรรจบกับแม่น้ำน่านเรียกว่า "สบกอน" ในบริเวณที่ตั้งของเมืองที่แตกทัพร่นมาตั้งมั่นอยู่ตรงระหว่างเมืองเชียงกลางในปัจจุบัน เดิมพื้นที่ของอำเภอเชียงกลางอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอทุ่งช้าง โดยเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกตำบลเปือ ตำบลเชียงกลาง ตำบลเชียงคาน และตำบลนาไร่หลวง ออกจากการปกครองของอำเภอทุ่งช้าง รวมจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอเชียงกลาง[1] และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเชียงกลางเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514[2] ต่อมาอำเภอเชียงกลางได้จัดตั้งตำบลใหม่ดังนี้
ต่อมาได้มีการจัดตั้ง กิ่งอำเภอสองแคว โดยแยกตำบลนาไร่หลวง ตำบลชนแดน และตำบลยอด เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2535 และได้จัดตั้งเป็นอำเภอสองแควเมื่อ ปี พ.ศ.2540 การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคอำเภอเชียงกลางแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 60 หมู่บ้าน ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่อำเภอเชียงกลางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยวสถานที่และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอเชียงกลาง ได้แก่
ตั้งอยู่บ้านหนองแดง หมู่ที่ 1 ตำบลเปือ ห่างจากที่ว่าการอำเภอ 2 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานเก่าแก่ของล้านนาไทย ก่อสร้างโดยช่างชาวไทยลื้อ (แคว้นสิบสองปันนา) มีอายุประมาณ 200 ปีเศษ
ตั้งอยู่บ้านเหล่า หมู่ที่ 8 ตำบลพระพุทธบาท ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานเก่าแก่เป็นที่เคารพบูชาองประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะราษฎรตำบลเชียงคานและตำบลพระพุทธบาท มีอายุประมาณ 100 ปีเศษ
ตั้งอยู่บ้านตึ๊ด หมู่ที่ 10 ตำบลพระพุทธบาท ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 11 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นโขดหินและลานหินขวางกั้นลำน้ำน่าน ลดหลั่นกันไปถึงขั้นมีระยะทางยาวถึง 3 กิโลเมตร สองฟากฝั่งลำน้ำน่านมีลักษณะเป็นภูเขาและป่าไม้อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การพักผ่อนและตั้งแคมป์ค้างแรม
ตั้งอยู่บริเวณบ้านดอนแก้ว หมู่ที่ 1 ตำบลพระธาตุ ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 7 กิโลเมตร
ตั้งอยู่บ้านดอนแท่น หมู่ที่ 3 ตำบลเชียงคาน ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ รอบบริเวณอ่างร่มรื่นไปด้วยป่าไม้ธรรมชาติ เหมาะแก่การพักผ่อนและตกปลา
ตั้งอยู่บ้านน้ำคา หมู่ที่ 1 ตำบลพญาแก้ว ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นสถานที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและฝึกอบรมปฏิบัติธรรม
ตั้งอยู่บ้านน้ำอ้อ หมู่ที่ 3 ตำบลเปือ ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 8 กิโลเมตร
ตั้งอยู่บ้านพญาแก้ว หมู่ที่ 4 ตำบลพญาแก้ว ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 6 กิโลเมตร
ตั้งอยู่บ้านหนองปลา หมู่ที่ 10 ตำบลพระธาตุ ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 15 กิโลเมตร
ตั้งอยู่บ้านเกวต หมู่ที่ 6 ตำบลพญาแก้ว ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 37 กิโลเมตร
ตั้งอยู่บ้านเจดีย์ หมู่ 3 ตำบลเชียงกลาง ห่างจากที่ว่าการอำเภอ ประมาณ 3 กิโลเมตร
ตั้งอยู่บ้านป่าเลา หมู่ที่ 6 ตำบลพระพุทธบาท ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร
ตั้งอยู่บ้านส้อ หมู่ 9 ตำบลเปือ ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 8 กิโลเมตร
ตั้งอยู่บ้านสบกอน หมู่ที่ 5 ตำบลเชียงกลาง เดิมชื่อวัดสบกอน เป็นวัดเก่าและสร้างคู่มากับหมู่บ้านสบกอน
ตั้งอยู่ที่บ้านเจดีย์ หมู่ที่ 3 ตำบลเชียงกลาง เดิมชื่อวัดคาว เป็นวัดเก่าแก่ของอำเภอเชียงกลาง
เป็นพระธาตุเก่าแก่คู่ตำบลเชียงกลาง มีรูปทรงลังกาฐานกว้าง 12 เมตร สูง 16 เมตร
ตั้งอยู่บ้านตึ๊ด หมู่ที่ 10 ตำบลพระพุทธบาท ลักษณะเป็นภูเขาศิลา (หินผา) บริเวณนี้เดิมเป็นสถานที่สู้รบกันระหว่างพวกม่านกับพวกเงี้ยวได้สู้รบกันจนมีรอยเลือดแดงฉานกระเด็นติดตามหน้าผา จึงเรียกว่าผาแดงหรือผาม่าน
ตั้งอยู่บ้านดอนสบเปือ หมู่ที่ 7 ตำบลเปือ ค้นพบครั้งแรกอยู่บนแท่นผาบริเวณวังพระพุทธบาท ปัจจุบันรอยพระพุทธบาทแห่งนี้เป็นที่เคารพนับถือของชาวอำเภอเชียงกลางและศิษยานุศิษย์ของพระครูชัยวัฒน์อธิโต
ตั้งอยู่บ้านสบกอน หมู่ที่ 5 ตำบลเชียงกลาง เจ้าพ่อพญาไมยเป็นเทพยดาที่ชาวอำเภอเชียงกลางและอำเภอใกล้เคียงเคารพนับถือและเลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์
ตั้งอยู่บ้านตึ๊ด หมู่ที่ 10 ตำบลพระพุทธบาท เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาบริเวณท่าน้ำหลังวัดชัยมงคลถึงสะพานข้ามแม่น้ำน่าน
ตั้งอยู่บ้านหนองผุก หมู่ที่ 10 ตำบลเปือ มีลักษณะเป็นวังน้ำวนขนาดเล็กมี 2 หาด เหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจนักท่องเที่ยว การเดินทางจากตัวเมืองไปตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1080 ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร อ้างอิง
|