จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ (เกิด 15 สิงหาคม พ.ศ. 2489) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และอดีตที่ปรึกษาศูนย์รักษาความสงบ ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคยรับราชการในตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงแรงงาน และนายอำเภอหลายอำเภอ ปัจจุบันเป็นเลขาธิการองค์กรเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ประวัติจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ที่กรุงเทพมหานคร (จังหวัดพระนครในขณะนั้น) เป็นบุตรของร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณ กับนางอรนุช เรืองสุวรรณ จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจาก วิทยาลัยบางแสน และจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ จบปริญญานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนั้นแล้วยังผ่านการศึกษาอบรมในหลักสูตรนายอำเภอ รุ่นที่ 16 (พ.ศ. 2521) หลักสูตรนักปกครองระดับสูง (นปส.) รุ่นที่ 19 (พ.ศ. 2527) และหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 41 (วปรอ.4111) จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ สมรสกับนางสุพัตรา เรืองสุวรรณ มีบุตร 3 คน คือ นายหมวดตรี[2]จารุวงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[3] นางจารุพัตรา อาร์ นีล และนายจารุพันธุ์ เรืองสุวรรณ[4] การทำงานจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เริ่มรับราชการที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) ต่อมาได้โอนย้ายไปเป็นปลัดอำเภอ และเป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอเสิงสาง นายอำเภอดอนเจดีย์ นายอำเภอพล เป็นเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (อาษา เมฆสวรรค์) เป็นนายอำเภอบ้านโป่ง เป็นผู้อำนวยการเขตบางบอน ในปี พ.ศ. 2529 เป็นรองผู้อำนวยการสำนักรักษาความสะอาด กทม. ในปี พ.ศ. 2534 เป็นผู้ช่วยปลัดกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2536 กระทั่งในปี พ.ศ. 2538 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง นักบริหาร ระดับ 10 (เป็นผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชน ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา และรองปลัดกรุงเทพมหานครตามลำดับ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้โอนย้ายมารับตำแหน่งรองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และเป็นปลัดกระทรวงแรงงาน ในปี พ.ศ. 2546 ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เป็น ปลัดกระทรวงยุติธรรม ที่ดำรงตำแหน่งเพียง7เดือน11วัน หลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว ได้เข้าทำงานด้านการศึกษา โดยรับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2549 ถึงปี พ.ศ. 2553[4] งานการเมืองวิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคพลังประชาชน[5] และต่อมาได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย จนกระทั่งในการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรค ในเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ได้มีมติแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค[6] แทนนายสุพล ฟองงามที่ลาออกไปก่อนหน้านั้น[7] ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[8] จากนั้นจึงได้ลาออกจากการเป็น ส.ส.ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555[9] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[10] (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) ต่อมาได้รับเลือกเป็น "หัวหน้าพรรคเพื่อไทย" เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555[11] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 3[12]และลาออกในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 นายจารุพงศ์ได้ขึ้นปราศัยบนเวทีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ต่อมาถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดว่าเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยละเว้นไม่ดำเนินการ ไม่สั่งการตรวจสอบ หรือดำเนินการใดๆเพื่อระงับยับยั้งหรือป้องกันเหตุการณ์ ความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้นตามแนวทางและข้อเสนออันละเมิดต่อกฎหมายของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่กล่าวปราศรัยในครั้งนั้น[13] เขาถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติสั่งอายัดทรัพย์ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 10/2557 และศาลทหารออกหมายจับในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัวของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ การเคลื่อนไหวทางการเมืองหลังรัฐประหาร 2557เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ภายหลังการยึดอำนาจการปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เขาได้ประกาศจัดตั้งองค์กรเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย[14] เขายังเป็นประธานในการประชุม สมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2559 ที่ ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา[15] โดยสมาชิกในกลุ่มอาทิ เสน่ห์ ถิ่นแสน (หรือนามแฝง ดร.เพียงดิน รักไทย) ชูพงศ์ ถี่ถ้วน จรัล ดิษฐาอภิชัย สุนัย จุลพงศธร จาตุรนต์ ฉายแสง ดารุณี กฤตบุญญาลัย มนูญ หรือ เอนก ชัยชนะ จอม เพชรประดับ จรรยา ยิ้มประเสริฐ ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560 เขาได้แถลงการณ์ผ่านสื่อมวลชนในนาม เลขาธิการองค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย [16] รางวัลและเกียรติยศ
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เมื่อ พ.ศ. 2555[17] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|