"เมาฏินี " (อาหรับ : موطني , แปลตรงตัว 'มาตุภูมิของข้า') เป็นเพลงชาติ อิรัก ที่นำมาใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 2004
ในอดีต เพลงนี้เป็นเพลงชาติอย่างไม่เป็นทางการของรัฐปาเลสไตน์ ในช่วงกบฏอาหรับปาเลสไตน์ตอนปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 ถึง ค.ศ. 1996 หลังประเทศนี้นำเพลงชาติมาใช้อย่างเป็นทางการ[ 1] [ 2] ถึงแม้ว่าจะถูกแทนที่ด้วยเพลงชาติอย่างเป็นทางการ ก็ตาม ชาวปาเลสไตน์ หลายคนยังคงรู้สึกภูมิใจและถือเป็นเพลงชาติอย่างไม่เป็นทางการที่สอง เพลงนี้ถือเป็นหนึ่งในเพลงชาตินิยมอาหรับ
ประวัติ
วงโยธวาทิตสหรัฐเล่นเพลง "เมาฏินี" ใน ค.ศ. 2009
เพลงนี้มีที่มาจากกวีโด่งดังที่แต่งโดยอิบรอฮีม ฏูกอน นักกวีชาวปาเลสไตน์ประมาณ ค.ศ. 1934 และประพันธ์นำนองโดยมุฮัมมัด ฟลัยฟิล นักแต่งเพลงชาวเลบานอน ตอนแรกเพลงนี้ถือเป็นเพลงชาติปาเลสไตน์โดยพฤตินัย ก่อนที่จะแทนที่ด้วย"ฟิดาอี "อย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1996 อย่างไรก็ตาม ชาวปาเลสไตน์หลายคนยังคงรู้สึกถึงความเป็นอัตลักษณ์ร่วมกับ "ฟิดาอี" และให้เพลงก่อนหน้าเป็นเพลงชาติอย่างไม่เป็นทางการอันที่สอง[ 3]
ใน ค.ศ. 2004 เพลงนี้ได้รับการรับรองให้ใช้เป็นเพลงชาติอิรักอีกครั้ง ตามคำสั่งของพอล เบรเมอร์ [ 4] เพื่อใช้แทนเพลงเดิมคือเพลงอัรฎุลฟุรอตัยน์ อันเป็นเพลงชาติอิรักในสมัยที่ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน เรืองอำนาจ[ 5]
ภูมิหลัง
ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 หลังอิรักกลายเป็นสาธารณรัฐ จึงใช้เพลงชาติ "เมาฏินี" ที่ประพันธ์โดยเลวิส แซนบากา[ 6] ถึงแม้ว่าจะมีชื่อเดียวกันกับเพลงชาติอิรักในปัจจุบัน ทั้งสองเพลงนี้เป็นเพลงที่แตกต่างกัน[ 6] โดยเพลงก่อนหน้ามีแต่เสียงบรรเลง ไม่มีเนื้อร้อง[ 7] [ 6]
หลังระบอบบะอัษถูกโค่นใน ค.ศ. 2003 จึงมีการใช้ "เมาฏินี" ฉบับเก่าเป้นการชั่วคราว[ 6] ก่อนแทนที่ด้วย "เมาฏินี" ฉบับปัจจุบันใน ค.ศ. 2004
เนื้อร้อง
ภาษาอาหรับ[ 8] [ 9]
ถ่ายเสียงด้วยอักษรโรมัน
สัทอักษรสากล
แปลไทย
كورال:
مَوطِنِي مَوطِنِي
الجلالُ والجمالُ والسَّنَاءُ والبَهَاءُ
في رُبَاكْ في رُبَاكْ
والحياةُ والنجاةُ والهناءُ والرجاءُ
في هواكْ في هواكْ
هلْ أراكْ هلْ أراكْ
𝄇 سالِماً مُنَعَّماً و غانما مكرما 𝄆
هلْ أراكْ في عُلاكْ
تبلُغُ السِّمَاكْ تبلغُ السِّمَاكْ
مَوطِنِي مَوطِنِي
٢
مَوطِنِي مَوطِنِي
الشبابُ لنْ يكِلَّ هَمُّهُ أنْ يستقلَّ[ a]
أو يَبيدْ أو يَبيدْ
نَستقي منَ الرَّدَى ولنْ نكونَ للعِدَى
كالعَبيدْ كالعَبيدْ
لا نُريدْ لا نُريدْ
𝄇 ذُلَّنَا المُؤَبَّدا وعَيشَنَا المُنَكَّدا 𝄆[ b]
لا نُريدْ بلْ نُعيدْ
مَجدَنا التّليدْ مَجدَنا التّليدْ
مَوطِنِي مَوطِنِي
٣
مَوطِنِي مَوطِنِي
الحُسَامُ و اليَرَاعُ لا الكلامُ والنزاعُ
رَمْزُنا رَمْزُنا
مَجدُنا و عهدُنا وواجبٌ منَ الوَفاء
يهُزُّنا يهُزُّنا
عِزُّنا عِزُّنا
𝄇 غايةٌ تُشَرِّفُ و رايةٌ ترَفرِفُ 𝄆
يا هَنَاكْ في عُلاكْ
قاهِراً عِداكْ قاهِراً عِداكْ
مَوطِنِي مَوطِنِي
I
Mawṭinī mawṭinī
al-Jalālu wa-l-jamālu wa-s-sanāʾu wa-l-bahāʾu
Fī rubāk fī rubāk
Wa-l-ḥayātu wa-n-najātu wal-hanāʾu wa-r-rajāʾu
Fī hawāk fī hawāk
Hal ʾarāk hal ʾarāk
𝄆 Sāliman munaʿʿaman wa-ġāniman mukarraman 𝄇
Hal ʾarāk fī ʿulāk
Tabluġu s-simāk tabluġu s-simāk
Mawṭinī mawṭinī
II
Mawṭinī mawṭinī
Aš-šabābu lan yakilla hammuhu ʾan yastaqilla[ a]
ʾAw yabīd, ʾaw yabīd
Nastaqī mina r-radā wa-lan nakūna li-l-ʿidāʾ
Kā-l-ʿabīd, kā-l-ʿabīd
Lā nurīd lā nurīd
𝄆 Ḏullanā l-muʾabbada wa ʿayšanā l-munakkadā 𝄇
Lā nurīd bal nuʿīd
Majdanā t-talīd majdanā t-talīd
Mawṭinī mawṭinī
III
Mawṭinī mawṭinī
Al-ḥusāmu wa-l-yarāʿu lā l-kalāmu wa-n-nizāʿu
Ramzunā ramzunā
Majdunā wa ʿahdunā wa-wājibun mina l-wafāʾ
Yahuzzunā yahuzzunā
ʿIzzunā ʿizzunā
𝄆 Ġāyatun tušarrifu wa rāyatun turafrifu 𝄇
Yā hanāk fī ʿulāk
Qāhiran ʿidāk qāhirān ʿidāk
Mawṭinī mawṭinī
1
[mɑw.tˤɪ.niː mɑw.tˤɪ.niː]
[æl.d͡ʒæ.læː.lʊ wæ‿l.d͡ʒæ.mæː.lʊ wæ‿s.sæ.næː.ʔʊ wæ‿l.bæ.hæː.ʔʊ]
[fɪː rʊ.bæːk fɪː rʊ.bæːk]
[wæ‿l.ħɑ.jæː.tʊ wæ‿n.næ.d͡ʒæː.tʊ wæ‿l.hæ.næː.ʔʊ wɑ‿r.rɑ.d͡ʒæː.ʔʊ]
[fiː hæ.wæːk fiː hæ.wæːk]
[hæl ʔɑ.rɑːk hæl ʔɑ.rɑːk]
𝄆 [sæː.li.mæn mʊ.nɑʕ.ʕɑ.mæn wɑ ɣæː.ni.mæn mʊ.kɑr.rɑ.mæn] 𝄇
[hæl ʔɑ.rɑːk fiː ʕʊ.læːk]
[tæb.lʊ.ɣu‿s.si.mæːk tæb.lʊ.ɣu‿s.si.mæːk]
[mɑw.tˤɪ.niː mɑw.tˤɪ.niː]
2
[mɑw.tˤɪ.niː mɑw.tˤɪ.niː]
[æʃ.ʃæ.bæː.bʊ læn jæ.kɪl.læ hæm.mʊ.hu ʔæn jæs.tɑ.qɪl.læ][ a]
[ʔɑw jæ.biːd ʔɑw jæ.biːd]
[næs.tɑ.qɪː mi.næ‿r.rɑ.dæː wɑ læn næ.kuː.næ lɪ‿l.ʕɪ.dæːʔ]
[kæː‿l.ʕɑ.biːd kæː‿l.ʕɑ.biːd]
[læː nʊ.riːd læː nʊ.riːd]
𝄆 [ðʊl.læ.næː‿l.mu.ʔæb.bæ.dæ wɑ ʕɑj.ʃæ.næː‿l.mʊ.næk.kæ.dæː] 𝄇
[læː nʊ.riːd bæːl nʊ.ʕiːd]
[mæd͡ʒ.dæ.næː‿t.tæ.liːd mæd͡ʒ.dæ.næː‿t.tæ.liːd]
[mɑw.tˤɪ.niː mɑw.tˤɪ.niː]
3
[mɑw.tˤɪ.niː mɑw.tˤɪ.niː]
[æl.ħʊ.sæː.mʊ wæ‿l.jɑ.rɑː.ʕʊ læː‿l.kæ.læː.mʊ wæ‿n.ni.zɑː.ʕʊ]
[rɑm.zʊ.næː rɑm.zʊ.næː]
[mæd͡ʒ.dʊ.næː wɑ ʕɑh.dʊ.næː wɑ wæː.d͡ʒi.bʊn mi.næ‿l.wɑ.fæːʔ]
[jæ.hʊz.zʊ.næː jæ.hʊz.zʊ.næː]
[ʕɪz.zʊn.næː ʕɪz.zʊn.næː]
𝄆 [ɣɑː.jæ.tʊn tʊ.ʃɑr.rɪ.fu wɑ rɑː.jæ.tʊn tʊ.rɑf.rɪ.fʊ] 𝄇
[jæː hæ.næːk fiː ʕʊ.læːk]
[qɑː.hɪ.rɑn ʕɪ.dæːk qɑː.hɪ.rɑn ʕɪ.dæːk]
[mɑw.tˤɪ.niː mɑw.tˤɪ.niː]
๑
มาตุภูมิของข้า มาตุภูมิของข้าเอย
เกียรติศักดิ์ ความงดงาม ความประเสริฐ และความรุ่งโรจน์
ล้วนอยู่ในเนินเขาของท่าน ล้วนอยู่ในเนินเขาของท่าน
ชีวิต การปลดปล่อย ความปีติยินดี และความหวัง
ล้วนอยู่ในท้องนภาท่าน อยู่ในท้องนภาท่าน
ข้าจะเห็นท่านไหมหนอ? ข้าจะเห็นท่านไหมหนอ?
𝄆เห็นซึ่งความปลอดภัย ความอบอุ่น อันแข็งแกร่งและมีเกียรติ𝄇
ข้าจะได้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของท่านไหมหนอ?
จงไขว่คว้าให้ถึงเป้าหมาย จงไขว่คว้าให้ถึงเป้าหมายเถิด
มาตุภูมิของข้า มาตุภูมิของข้าเอย
๒
มาตุภูมิของข้า มาตุภูมิของข้าเอย
เยาวชน จะไม่อ่อนล้า จนกว่าจะได้เอกราช
หรือม้วยมรณา หรือม้วยมรณา
เราจะดื่มจากความตาย และจะไม่เป็นอย่างศัตรูของเรา
เป็นเยี่ยงทาส เป็นเยี่ยงทาส
เราไม่ต้องการ เราไม่ต้องการ
𝄆ทั้งการถูกดูหมิ่นชั่วนิรันดร์ หรือการมีชีวิตที่น่าสังเวช𝄇
เราไม่ต้องการ แต่เราจะนำกลับคืนมา
ซึ่งเกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่ของเรา เกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่ของเรา
มาตุภูมิของข้า มาตุภูมิของข้าเอย
๓
มาตุภูมิของข้า มาตุภูมิของข้าเอย
ดาบและปากกา ไม่ใช่ทั้งการเจรจาและการทะเลาะเบาะแว้ง
แต่เป็นสัญลักษณ์ของเรา แต่เป็นคือสัญลักษณ์ของเรา
เกียรติศักดิ์ สัญญา และหน้าที่แห่งความภักดี
คือสิ่งขับเคลื่อนพวกเรา คือสิ่งขับเคลื่อนพวกเรา
ศักดิ์ศรีของเรา ศักดิ์ศรีของเรา
𝄆คือเหตุอันมีเกียรติ และคือธงชัยที่โบกสะบัด 𝄇
โอ ท่านจงคอยดู ความยิ่งใหญ่ของท่านเถิด
ชัยชนะของท่านจงอยู่เหนือเหล่าอริศัตรู
มาตุภูมิของข้า มาตุภูมิของข้าเอย!
ดูเพิ่ม
หมายเหตุ
อ้างอิง
↑ "National Anthems" .
↑ "The song that inspired the Arab world: Ibrahim Tuqan and the making of "Mawtini" " . Palestinian Journeys . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-29. สืบค้นเมื่อ 2019-02-15 .
↑ Wills, Emily Regan (July 2016). "Discourses and Differences: Situating Pro-Palestine Activism in Discursive Context" . Theory in Action . 9 (3): 48–71. doi :10.3798/tia.1937-0237.16018 .
↑ "Iraq aims to unite with new national anthem, flag" . The Daily Star . September 24, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-08-21. สืบค้นเมื่อ 1 October 2012 .
↑ "Iraq - Mawtini" . NationalAnthems.me. สืบค้นเมื่อ 2011-11-05 .
↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 Schaffer, Edward; Scotland, Jan; Popp, Reinhard (2017). "Iraq (1958-1965, 2003-2004)" . National Anthems . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2017. สืบค้นเมื่อ November 30, 2017 . Immediately after the fall of the Sadam Hussein government in 2003, 'Mawtini' was used again for a brief time as an interim anthem until a new one was adopted. (The title of this anthem is identical to the title of the anthem that replaced it in 2004). {{cite web }}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์ )
↑ Wetzel, Dan (August 24, 2004). "One last chance" . Yahoo! Sports . Yahoo!. สืบค้นเมื่อ December 4, 2017 . The song is 'My Country.' It is relatively short, contains no words and was composed by a man named Lewis Zanbaka...
↑ 8.0 8.1 نشيد مَوطِني . المدرسة العربية الالكترونية . April 2003.
↑ سمير الرسام - النشيد الوطني العراقي - موطني بحلته الجديدة - الحوار المتمدن . Ahewar . December 18, 2016.
↑ "National Anthem of Iraq - مَوطِنِي (Iraq anthem, 이라크의 국가)" . YouTube .
แหล่งข้อมูลอื่น