นครพนม |
---|
พ.ศ. 2329 – พ.ศ. 2443 |
เมืองหลวง |
- เมืองมรุกขนคร (ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง)
- (หลัง พ.ศ. 2281–2309)
- เมืองมรุกขนคร (ฝั่งขวาแม่น้ำโขง)
- (พ.ศ. 2309–2329)
- เมืองนครพนม (บ้านหนองจันทน์)
- (พ.ศ. 2329–2340)
- เมืองนครพนม (บ้านโพธิ์คำ)
- (พ.ศ. 2340–2443)
|
---|
การปกครอง | |
---|
• ประเภท | อาญาสี่ |
---|
เจ้าเมือง | |
---|
|
• พ.ศ. 2329–2338 | พระบรมราชา (พรหมา) |
---|
• พ.ศ. 2349–2370 | พระบรมราชา (มัง) |
---|
• พ.ศ. 2373–2395 | พระสุนทรราชวงศา |
---|
|
|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
|
• ตั้งเมืองมรุกขนครที่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง | หลัง พ.ศ. 2281 |
---|
• เปลี่ยนนามเมืองเป็นนครพนม | พ.ศ. 2329 |
---|
• ยกเลิกตำแหน่งอาญาสี่ | พ.ศ. 2443 |
---|
|
|
เมืองนครพนม เป็นหัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขงภายใต้ปริมณฑลแห่งอำนาจของอาณาจักรรัตนโกสินทร์ และได้รับการยกฐานะเป็นประเทศราชในบางช่วงเวลา[1] ภายหลังถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลอุดรของสยาม
ประวัติศาสตร์
การสร้างเมืองมรุกขนคร
ดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณเมืองนครพนมเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรโคตรบูร เมื่ออาณาจักรล้านช้างมีอำนาจเหนือบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง อาณาจักรโคตรบูรจึงกลายเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรล้านช้าง ต่อมาบริเวณที่ตั้งเมืองที่ริมน้ำหินบูรได้ถูกน้ำเซาะตลิ่งโขงพังทลายลง จึงได้ย้ายเมืองลงไปทางตอนใต้ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงบริเวณที่เป็นดงไม้รวก ซึ่งในสมัยโบราณเชื่อว่ามีความอุดมสมบูรณ์ แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "มรุกขนคร" ซึ่งหมายถึง ดงไม้รวก[ต้องการอ้างอิง]
การสร้างเมืองนครพนม
ปี พ.ศ. 2329 พระบรมราชา เจ้าเมืองมรุกขนครได้เห็นว่าการที่เมืองมรุกขนครตั้งอยู่ที่บ้านธาตุน้อยศรีบุญเรือง ริมห้วยบังฮวกมาเป็นเวลาถึง 20 ปีแล้วนั้น ถูกน้ำเซาะตลิ่งโขงพังและบ้านเรือนราษฎรเสียหาย จึงได้ย้ายเมืองขึ้นไปตั้งทางเหนือตามลำแม่น้ำโขงที่บ้านหนองจันทน์ ห่างจากจังหวัดนครพนมไปทางใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเมืองเมือง จาก "เมืองมรุกขนคร" เป็น "เมืองนครพนม"[2]
ชื่อนครพนมนั้นมีข้อสันนิษฐานไว้ 2 ประการ คือ คำว่า "นคร" หมายถึง เมืองที่เคยเป็นเมืองลูกหลวงมาก่อน และเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ส่วนคำว่า "พนม" มาจาก พระธาตุพนม ปูชนียสถานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน บางตำราก็ว่า เดิมเมืองมรุกขนครมีอาณาเขตกินไปถึงดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงซึ่งมีภูเขาสลับซับซ้อนมากมาย จึงนำคำว่า "พนม" ซึ่งแปลว่าภูเขามาใช้ ส่วนคำว่า "นคร" เป็นการดำรงชื่อเมืองไว้ คือ เมืองมรุกขนคร[3] จึงนำคำว่าพนมมาต่อท้ายคำว่านคร เป็น "นครพนม" ซึ่งหมายถึงหมายถึง "เมืองแห่งภูเขา" นั่นเอง
ภายใต้การปกครองของสยาม
ปี พ.ศ. 2338 ได้เกิดศึกพม่าทางเมืองเชียงใหม่ พระบรมราชาเจ้าผู้ครองเมืองนครพนมได้ไปออกศึกในครั้งนี้ด้วย ได้บริโภคผักหวานเบื่อจนถึงแก่อนิจกรรมที่เมืองเถิน ท้าวสุดตา ซึ่งเป็นพี่ชายของพระมเหสีของพระบรมราชา จึงได้นำเครื่องราชบรรณาการลงไปเฝ้ารัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุดตาเป็นผู้ครองเมืองนครพนม
รายพระนามและรายนามเจ้าเมือง
ลำดับ
|
ชื่อ
|
เริ่มต้น (พ.ศ.)
|
สิ้นสุด (พ.ศ.)
|
หมายเหตุ
|
เมืองมรุกขนคร
|
-
|
พระบรมราชา (เอวก่าน)
|
หลัง 2281
|
2308
|
ขึ้นครองเมืองศรีโคตรบูรณ์ในปี พ.ศ. 2281
|
-
|
พระนครานุรักษ์ (คำสิงห์)
|
2308
|
2309
|
|
-
|
พระบรมราชา (กุแก้ว)
|
2309
|
2321
|
|
-
|
พระบรมราชา (พรหมา)
|
2321
|
2329
|
|
เมืองนครพนม
|
1
|
พระบรมราชา (พรหมา)
|
2329
|
2338
|
|
2
|
พระบรมราชา (สุดตา)
|
2339
|
2347
|
|
3
|
พระบรมราชา (อุ่นเมือง)
|
2348
|
2348
|
|
4
|
พระบรมราชา (มัง)
|
2349
|
2370
|
|
ว่างตำแหน่ง 2370–2373
|
5
|
พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต)
|
2373
|
2395
|
ว่าราชการเมืองนครพนมและเมืองยโสธร
|
6
|
พระพนมนครานุรักษาธิบดี ศรีโคตรบูรณ์หลวง (จันโท)
|
2396
|
2398
|
ดำรงตำแหน่งว่าที่เจ้าเมือง
|
2398
|
3 พฤศจิกายน 2410
|
|
7
|
พระพนมนครานุรักษ์สิทธิศักดิ์เทพฤายศ ทศบุรีศรีโคตรบูรณ์หลวง (อรรคราช)
|
2411
|
2413
|
ดำรงตำแหน่งว่าที่เจ้าเมือง
|
2413
|
31 มีนาคม 2414
|
|
8
|
พระพนมนครานุรักษ์สิทธิศักดิ์เทพฤายศ ทศบุรีศรีโคตรบูรณ์หลวง (เลาคำ)
|
2415
|
1 พฤศจิกายน 2423
|
|
9
|
พระพนมนครานุรักษ์สิทธิศักดิ์เทพฤายศ ทศบุรีศรีโคตรบูรณ์หลวง (บุญมาก)
|
2423
|
26 กันยายน 2426
|
ดำรงตำแหน่งว่าที่เจ้าเมือง
|
26 กันยายน 2426
|
16 มกราคม 2432
|
|
10
|
ว่าที่ พระยาพนมนครานุรักษ์ฯ (ทองทิพย์)
|
2433
|
5 มิถุนายน 2440
|
ดำรงตำแหน่งว่าที่เจ้าเมือง
|
11
|
พระยาพนมนครานุรักษ์มหาสวามิภักดิ์นคราธิบดี (ศรีวิชัย)
|
2441
|
12 มกราคม 2442
|
|
ว่างตำแหน่ง 2442–2443
|
ยกเลิกตำแหน่งอาญาสี่ (2443)
|
การปกครอง
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ นครราชสีมา, จังหวัด (1983), ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดนครราชสีมา, นครราชสีมา: สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา, p. 65, สืบค้นเมื่อ 2024-12-01
- ↑ นครพนม, จังหวัด (2018), ๒๓๒ ปี เมืองนครพนม (PDF), มหาสารคาม: สำนักงานจังหวัดนครพนม, pp. 10–27, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-08-09, สืบค้นเมื่อ 2024-12-01
- ↑ นครพนม, จังหวัด (1986), ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดนครพนม, นครพนม: องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม, p. 33, สืบค้นเมื่อ 2024-12-01
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
การเมือง | |
---|
กีฬา | |
---|
|
---|
|
รัฐสิ้นสภาพในประเทศไทย |
---|
|
ภาคเหนือ | ข้อถกเถียง | |
---|
หัวเมือง | |
---|
นครรัฐ | |
---|
อาณาจักร | |
---|
|
---|
ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ | ข้อถกเถียง | |
---|
หัวเมือง | |
---|
นครรัฐ | |
---|
อาณาจักร | |
---|
|
---|
ภาคกลาง | ข้อถกเถียง | |
---|
หัวเมือง | |
---|
นครรัฐ | |
---|
อาณาจักร | |
---|
|
---|
ภาคใต้ | ข้อถกเถียง | |
---|
หัวเมือง | |
---|
นครรัฐ | |
---|
อาณาจักร | |
---|
|
---|
|