Share to:

 

โรงเรียนราชินีบูรณะ

โรงเรียนราชินีบูรณะ
Rachineeburana School
ตราประจำโรงเรียนราชินีบูรณะ
ที่ตั้ง
แผนที่
9 ถนนหน้าพระ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000
ข้อมูล
ชื่ออื่นร.ณ. (RN)
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คติพจน์คำขวัญ
(เรียนดี มีวินัย น้ำใจงาม พร้อมความเป็นไทย)
คติธรรม
ปญฺญา หิ เสฏฐา กุสลา วทนฺติ
(คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐสุด)
สถาปนา10 มิถุนายน พ.ศ. 2462
ผู้ก่อตั้งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6
สี   น้ำเงิน และขาว
เพลงมาร์ชราชินีบูรณะ, แดนสราญรมย์, เทอดเกียรติราชินี, ราชินีบูรณะ, รำวงราชินี, รื่นเริงราชินี, โรงเรียนที่รัก, ลาแล้วราชินี, หอมกลิ่นราชาวดี, ศรีพัชรินทร์, สินธุรวี, สุดท้าย
ดอกไม้(ดอกราชาวดี)
เว็บไซต์www.rn.ac.th
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง องค์ผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนราชินีบูรณะ
มุมมองหนึ่งของตึกศรีพัชรินทร์และพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในปัจจุบัน

โรงเรียนราชินีบูรณะ (อังกฤษ: Rachineeburana School) เป็นโรงเรียนตั้งอยู่ใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ก่อตั้งครั้งแรกใน พ.ศ. 2457 โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า "สตรีวิทยา" รวมถึง โรงเรียนราชินีบูรณะเป็นศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสที่สำคัญของภูมิภาค[1] โรงเรียนราชินีบูรณะเป็นโรงเรียนสตรีแห่งแรกในมณฑลนครไชยศรี ที่สมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะขึ้น[2]

ประวัติ

โรงเรียนราชินีบูรณะก่อตั้งครั้งแรกใน พ.ศ. 2457 โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า "สตรีวิทยา" จากนั้นในปี พ.ศ. 2460 โรงเรียนได้ถูกเพลิงไหม้ จึงได้ย้ายสถานศึกษามาอยู่ที่เรือนพักกองเสือป่า ในภายหลัง เจ้าพระยาศรีวิไชยชนินทร (ชม สุนทราชุน) ผู้เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลผู้สำเร็จราชการมณฑลนครชัยศรี ได้ให้คุณหญิงทองอยู่ สุนทราชุน ผู้เป็นภรรยา เข้ารับพระราชทานทรัพย์ พร้อมที่ดินจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระพันปีหลวง มาสร้างโรงเรียนรวมถึงอาคารเรียนตามแปลนของกระทรวงธรรมการในสมัยนั้น และจัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2462 โดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระพันปีหลวง โปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เสด็จแทนพระองค์ และพระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า "โรงเรียนราชินีบูรณะ" นับแต่นั้นเป็นต้นมา[3]

เนื่องด้วยมีนักเรียนเพิ่มขึ้นในทุกปี พ.ศ. 2477 พระยาพิพิธอำพลวิมลภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม จึงได้เริ่มสร้างอาคารไม้ชั้นเดียว และเปิดใช้ ณ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2478 โดยใช้ชื่อ "เรือนพิพิธอำพลบูรณะ" และ พ.ศ. 2497 ได้ใช้ทุนบำรุงการศึกษาต่อเติมชั้นล่างเพิ่มอีก 5 ห้อง ต่อมา พ.ศ. 2497 ได้ใช้เงินบำรุงการศึกษาต่อเติม ชั้นล่างขึ้นอีก 5 ห้อง รวมเป็น 10 ห้องเรียน และได้ซื้อที่ดินเพิ่มด้านตะวันออก อีก 1 ไร่ 25 ตารางวา เป็นเงิน 45,000 บาท โดยได้รับพระราชทานเงินจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เป็นเงิน 3,500 บาท รวมกับเงินบริจาคของศิษย์ทุกรุ่น โรงเรียนจึงได้จัดสร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้น พ.ศ. 2499 ผู้ปกครองนักเรียนพร้อมใจกันบริจาคเงินต่อเติมโรงอาหาร ต่อมาได้สร้างอาคาร 2 ชั้น มีห้องเรียน 6 ห้อง ขึ้นใหม่ โดยได้รับบริจาคจากนางทิมและนางสาวละออง ประพันธสิริ เป็นเงิน 140,000 บาท สร้างอาคาร มีชื่อว่า "เรือน ทิม-ละออง ประพันธสิริ" ปัจจุบัน เรือน"ทิม-ละออง ประพันธสิริ" ทำการรื้อถอนเพื่อก่อสร้างอาคารใหม่ 4 ชั้น นอกจากนี้ นางทิมยังได้กรุณามอบพันธบัตร เป็นเงิน 100,000 บาท เพื่อจัดตั้งเป็นมูลนิธิเก็บดอกผลเป็นทุนการศึกษาแก่เด็กยากจน ให้ชื่อว่า "มูลนิธิทิม-ละออง ประพันธสิริ อนุสรณ์"

พ.ศ. 2502 ได้ก่อตั้งสมาคมผู้ปกครอง ครู และศิษย์เก่าราชินีบูรณะ โดยมีนายวิจิตร นิลพันธ์ เป็นนายกสมาคมฯ คนแรก

พ.ศ. 2515 ได้ซื้อที่ดินด้านติดถนนคตกฤช อีก 97 ตารางวา

พ.ศ. 2526 สร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 4 ชั้น โดยรื้อถอนอาคารเดิมทั้งหมด คงอนุรักษ์ไว้แต่อาคารศรีพัชรินทร์ และในปีงบประมาณ 2528 ได้ต่อเติมอาคารเรียนแบบพิเศษ

พ.ศ. 2528 การพัฒนาโรงเรียนเป็นไปตามลำดับ แต่เนื่องจากคณะศรีพัชรินทร์ มีบริเวณคับแคบ ยากแก่การบริหารหลักสูตร ด้วยความสนับสนุนของสมาคมผู้ปกครอง ครูและศิษย์เก่าราชินีบูรณะ และผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม จึงตัดสินใจซื้อที่ดินเพิ่มอีก 4 ไร่มูลค่ารวมค่าชดเชยบ้าน 22 หลัง เป็นเงิน 8 ล้าน 2 แสนบาท ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ของผู้อำนวยการยุพิน ดุษิยามี โครงการซื้อที่ดินก็สำเร็จสมความมุ่งหวังของทุกคน และได้สร้างอาคารเอนกประสงค์ ขึ้น 1 หลัง

พ.ศ. 2538 ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2538 และวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2538 เวลา 10.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ณ โรงเรียนราชินีบูรณะ

พ.ศ. 2539 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีเสด็จมาพระราชทานทุนสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ แก่นักเรียนในพระอุปถัมภ์ ณ โรงเรียนราชินีบูรณะ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และในปีนี้มีการก่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 5 ชั้น และบ้านพักผู้บริหาร

พ.ศ. 2543 สร้างอาคารเรียน 2 หลัง คือ อาคารสุนทร-ทัศนีย์ เทียนทอง และอาคารเรียนแบบพิเศษ 5 ชั้น ภายใต้การริเริ่มและการหาทุนจัดสร้างโดย ผู้อำนวยการ สิริยุพา ศกุนตะเสฐียร[2]

ทำเนียบผู้บริหาร

  1. นางไปล่ วิศาลดรุณกร (1 พฤศจิกายน 2457)
  2. นางหว่าง ธนากรภักดี (5 มีนาคม 2462)
  3. นางพิมเสน ฉัตรกุล ณ อยุธยา (19 มีนาคม 2463)
  4. นางไปล่ วิศาลดรุณกร (1 มิถุนายน 2466)
  5. นางสาวอาภรณ์ คชเสนี (1 มิถุนายน 2485)
  6. นางสาวสุภาพ พลจันท (28 พฤษภาคม 2486)
  7. นางสาวระเบียบ ลิมอักษร (10 มิถุนายน 2489)
  8. นางสาวสาคร เทวาหุดี (28 พฤษภาคม 2495)
  9. นางสาวพะเยีย อุทยานิน (1 เมษายน 2513)
  10. นางจันทร์เพ็ญ เจริญผลารักษ์ (1 ตุลาคม 2518)
  11. นางปราณีต โกมารกุล ณ นคร (30 กันยายน 2520)
  12. นางอำนวยพร กาญจนวงษ์ (1 ตุลาคม 2521)
  13. นางอาภา อุดมรัตน์ (1 ตุลาคม 2522)
  14. นางสาวยุพิน ดุษิยามี (1 ตุลาคม 2523)
  15. นางสาววิมล สุวรรณเวลา (1 ตุลาคม 2536)
  16. นางสิริยุพา ศกุนตะเสฐียร (1 ตุลาคม 2543)
  17. นายวรพจน์ นาคนคร (1 ตุลาคม 2547)
  18. นายจิรพร สมบูรณ์วงศ์ (18 ธันวาคม 2550)

อ้างอิง

  1. "ศูนย์ภาษาต่างประเทศล้ำหน้าพัฒนาเครือข่ายทำบทเรียนภาษาฝรั่งเศส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-06-19.
  2. 2.0 2.1 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม "ราชินีบูรณะ"[ลิงก์เสีย]
  3. โรงเรียนราชินีบูรณะ - กรมศิลปากร[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya