| บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วย ปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่ หน้าอภิปราย
- บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ
- บทความนี้ต้องการจัดรูปแบบข้อความ การจัดหน้า การแบ่งหัวข้อ การจัดลิงก์ภายใน และอื่น ๆ
- บทความนี้ต้องการแหล่งอ้างอิงเพิ่มเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง
|
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย |
---|
Yupparaj Wittayalai School (ปัจจุบัน) Yuparaj Royal’s College (เดิม) |
|
ที่ตั้ง |
---|
|
|
ข้อมูล |
---|
ชื่ออื่น | ย.ว. / YRC |
---|
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
---|
คติพจน์ | เรียนให้เด่น เล่นให้ดี มีศีลธรรม สจฺจ วาจา คตา สจฺจ สามคฺคี พลวา พล (วาจาสัตย์นำไปสู่ความจริง สามัคคีคือพลังอันยิ่งใหญ่) |
---|
สถาปนา | • พ.ศ. 2448 (โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย)
• พ.ศ. 2432 (โรงเรียนเมืองนครเชียงใหม่) |
---|
ผู้ก่อตั้ง | • พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชทานนามโรงเรียน พ.ศ. 2448) |
---|
หน่วยงานกำกับ | กระทรวงศึกษาธิการ |
---|
ผู้อำนวยการ | นางสุปราณี ปัญญานะ |
---|
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาตอนต้น-มัธยมศึกษาตอนปลาย |
---|
เพศ | สหศึกษา |
---|
จำนวนนักเรียน | 3,679 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2562) |
---|
สี | บานเย็น |
---|
สังกัด | สพฐ. |
---|
เว็บไซต์ | www.yupparaj.ac.th |
---|
ยุพราชวิทยาลัย (จังหวัดเชียงใหม่) |
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย (อักษรย่อ: ย.ว.;อังกฤษ: Yupparaj Wittayalai School) เป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของภาคเหนือ และโรงเรียนสหศึกษาของรัฐบาลประจำจังหวัดเชียงใหม่ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นสถานศึกษาในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โรงเรียนก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2432 โดยมีชื่อแรกตั้งว่า "โรงเรียนเมืองนครเชียงใหม่" และเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2448 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยศยศเป็น สมเด็จพระยุพราชในรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า "โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย" ซึ่งมีความหมายว่า "โรงเรียนของสมเด็จพระยุพราช (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร)"
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของจังหวัดเชียงใหม่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2432 และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลพายัพ หรือโรงเรียนตัวอย่างประจำ ภาคเหนือเมื่อปี พ.ศ. 2442 ตามพระบรมราโชบาย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในการขยายการศึกษาออกสู่หัวเมือง เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร และความต้องการจัดการ ศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติโดยได้ออก"ประกาศจัดการเล่าเรียนในหัวเมือง" เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 ความว่า
…ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดแต่ความประพฤติชอบ และการเลี้ยงชีวิตโดยชอบเป็นที่ตั้ง ครั้นทั้งหลายจะประพฤติชอบ แลจะหาเลี้ยงชีวิตโดยชอบนั้นเล่า ก็ย่อมอาศัยการได้ศึกษาวิชา ความรู้ ในทางที่จะให้บังเกิดประโยชน์ มาแต่ย่อมเยาว์ และฝึกซ้อมสันดานให้น้อยในทางสัมมาปฏิบัติและเจริญปัญญา สามารถในกิจการต่าง ๆ อันเป็นเครื่องประกอบการหาเลี้ยงชีพเมื่อเติบใหญ่ จึงเชื่อว่าได้เข้าสู่ทางความเจริญ… บัดนี้การฝึกสอนในกรุงเทพฯ เจริญแพร่หลายมากขึ้นแล้ว สมควรจะจัดการฝึกสอนให้หัวเมืองได้เจริญขึ้นตามกัน…
สำหรับเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นหัวเมืองใหญ่ของมณฑลพายัพนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมี พระราชประสงค์ จะให้จัดเป็นโรงเรียนตัวอย่างและฝึกอบรมกุลบุตรกุลธิดา ให้รู้ธรรมเนียมการหนังสือ และฝึกหัดลายมือ ให้ใช้เป็นเสมียนได้ วิชาคิดเลขและวิชาช่างที่เป็นประโยชน์ และธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เป็นคุณแก่แผ่นดิน ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์ก็ยังมีพระราชประสงค์จะปลูกฝังคุณสมบัติ ให้นักเรียนเป็นคนขยันขันแข็ง สะอาดทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ซื่อสัตย์สุจริตมีอุปนิสัยใจคอดี และเป็นพลเมืองดีในที่สุด
เมื่อแรกเริ่มก่อตั้งนั้น โรงเรียนมีที่ตั้งอยู่ที่ศาลากลางสวน ในจวนของพระยานริศรราชกิจ (สาย โชติกเสถียร) ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพในขณะนั้น ลักษณะการก่อตั้งโรงเรียนเป็นไปตามแนวพระดำริ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ต้องการให้โรงเรียนหลวงตั้งอยู่ริมจวนข้าหลวง หรือในวัด ที่อยู่ไกล้จวนข้าหลวง เพื่อจะได้ช่วย เป็นธุระดูแลและให้ครูได้ตั้งใจสั่งสอนนักเรียน โรงเรียนหลวงที่ตั้งขึ้นมีจุดประสงค์สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เพื่อเป็น โรงเรียนตัวอย่าง แก่โรงเรียนอื่น ๆ ในเมืองเชียงใหม่ จึงมีชื่อเป็นที่รู้จักของคนสมัยนั้นว่า โรงเรียนประจำมณฑลพายัพ หรือโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลพายัพ เริ่มต้นจากการสอนภาษาพื้นเมือง ภาษาไทย และวิชาชีพต่าง ๆ รวมทั้งการอบรมความประพฤติ ให้รู้จักรับผิดชอบ ในระยะแรกเริ่มนั้นจัดการศึกษาเป็นแบบสหศึกษา มีนักเรียนชาย หญิง พระภิกษุ สามเณร เรียนรวมกัน มีขุนอุปกรณ์ศิลปศาสตร์ ข้าหลวงธรรมการมณฑล เป็นครูใหญ่คนแรก
โรงเรียนหลวงประจำมณฑลพายัพ ซึ่งระยะแรกตั้งอยู่ที่ศาลากลางสวน ในจวนของข้าหลวงใหญ่ เริ่มมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น จึงได้ขยายที่เรียนมาอยู่ที่โรงละคร ของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 8 เมื่อปี พ.ศ. 2444 แต่ภายหลังการศึกษาเพื่อให้เกิดความผสมผสานกลมกลืนกันในชาติ โดยใช้วิธีสอนหนังสือไทยกลางให้เหมือนกันทั่วประเทศ และเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ ในมณฑลพายัพต่างสนับสนุนการจัดการศึกษาของรัฐบาลอย่างดี สำหรับเมืองเชียงใหม่นั้น เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้สนับสนุนการตั้งโรงเรียนเพื่อสอนภาษาไทยชั้นสูง โดยได้บริจาคที่ดิน คือที่ดินตำบลสี่แยกถนนวโรรส ในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีขนาดเนื้อที่ความยาว 37 วา 2 ศอก ความกว้าง 19 วา 2 ศอก และยกโรงเรือนซึ่งเป็นโรงละครเดิมจำนวน 1 หลัง ประกอบด้วยเสาไม้แก่นมีเครื่องบน และพื้นไม้จริงเพื่อให้สร้างโรงเรียนต่อไป สำหรับตัวอาคารของโรงเรียนหลังแรกนี้ ได้วางรูปแบบเป็นรูปทรงปั้นหยา มี 9 ห้อง มีขนาดความยาว 17 วา 2 ศอก ความกว้าง 6 วา มีเรือนโถงต่อจากเรือนเดิม เพื่อใช้เป็นที่นั่งเล่นหรือประโยชน์อื่น ๆ รวม 4 ด้าน การก่อสร้างทำได้ถึงขั้นสร้างโครง และติดเครื่องบนแต่เนื่องจากขาดทุนทรัพย์การก่อสร้างโรงเรียน จึงหยุดชะงักไปชั่วคราว
ปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระยาสุรสีห์ วิสิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ขึ้นมารับราชการตำแหน่ง ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ โดยเฉพาะทางด้านการศึกษานั้น พระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์พยายามดำเนินการทุกวิถีทางในอันที่จะใช้ "การศึกษาแผนใหม่" เป็นเครื่องช่วยในการปฏิรูป มณฑลพายัพ โดยเริ่มจากการสร้างโรงเรียน ท่านได้มอบหมายให้ขุนอุปกรณ์ศิลปศาสตร์ ข้าหลวงธรรมการมณฑลพายัพ เป็นหัวหน้าบอกบุญเรี่ยรายเงิน จากเจ้านายฝ่ายเหนือและข้าราชการมณฑล ได้เงินจำนวนมาก การก่อสร้างโรงเรียนที่ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงค์ได้ก่อสร้างค้างไว ้จึงได้เริ่มดำเนินการต่อ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2448
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ครั้งยังดำรงพระอิสริยศเป็นสมเด็จพระบรม โอรสาธิราช สยามมงกุฏราชกุมาร ได้เสด็จประพาสมณฑลพายัพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จเยี่ยมโรงเรียนเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2448 ดังความปรากฏในลิลิตพายัพ ความว่า "…ครั้นรุ่งขึ้นพระองค์ทรงรัถยานขับรี่ สู่ที่ตั้งโรงเรียน อ่านเขียนหนังสือสยาม เล่าบ่นตามกำหนด หมดทั้งเลขวิทยา ราชาทอดพระเนตรเสร็จ ผันพักตร์เสด็จโดยบาท สู่อาวาสเจดีย์หลวง…" ในการเสด็จประพาสมณฑลพายัพครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรด พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 500 บาท สมทบการสร้างโรงเรียน และได้พระราชทานนามโรงเรียน ที่ก่อสร้างใหม่ว่า โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ซึ่งมีความหมายว่าเป็นโรงเรียนของสมเด็จพระยุพราช นั่นเอง[1][2]
ข้อมูลปัจจุบัน
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เป็นโรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 (เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน) ตั้งอยู่กลางเมืองเชียงใหม่และอยู่บนเนื้อที่ 29 ไร่ 3 งาน เปิดการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 แบบสหศึกษา ปัจจุบันเป็นศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (โครงการ พสวท.) ประจำภาคเหนือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527
รายนามผู้บริหารโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
ลำดับ |
รูป |
รายนาม |
เริ่มวาระ |
สิ้นสุดวาระ
|
1. | | หม่อมราชวงศ์จันทร์ มหากุล | พ.ศ. 2432 | พ.ศ. 2442 | |
2. | | พระยาอุปกรณ์ศิลปศาสตร์ (เจริญ อากาสวรรธนะ) | พ.ศ. 2442 | พ.ศ. 2446 | |
3. | | นายเงิน ตุลยสัชฎ์ | พ.ศ. 2447 | พ.ศ. 2448 | |
4. | | นายอิน นุพงศ์ไทย | พ.ศ. 2449 | พ.ศ. 2449 | |
5. | | ขุนประยุทธนิติสาร | พ.ศ. 2450 | พ.ศ. 2453 | |
6. | | นายโชติ ไชยภัฏ | พ.ศ. 2453 | พ.ศ. 2453 | |
7. | | รองอำมาตย์เอกหลวงสุนทรเสข | พ.ศ. 2454 | พ.ศ. 2456 | |
8. | | รองอำมาตย์เอกหลวงสุทธิชัยนฤเวทย์ | พ.ศ. 2457 | พ.ศ. 2458 | |
9. | | รองอำมาตย์ตรีหลวงวุฒิศรเนติสาร | พ.ศ. 2459 | พ.ศ. 2461 | |
10. | | รองอำมาตย์เอกหลวงอาจวิชชาสรร (ทอง ชัยปาณี) | พ.ศ. 2462 พ.ศ. 2469 | พ.ศ. 2467 พ.ศ. 2474 | |
11. | | รองอำมาตย์โทขุนชำนิอนุสาสน์ | พ.ศ. 2467 | พ.ศ. 2468 | |
12. | | นายถวิล ดารากร ณ อยุธยา | พ.ศ. 2475 | พ.ศ. 2475 | |
13. | | หลวงปราโมทย์จรรยาวิภาช | พ.ศ. 2476 | พ.ศ. 2478 | |
14. | | นายเกยูร ผลาชีวะ | พ.ศ. 2479 | พ.ศ. 2487 | |
15. | | นายชื่น จรินโท | พ.ศ. 2488 | พ.ศ. 2490 | |
16. | | นายโปร่ง ส่งแสงเติม | พ.ศ. 2491 | พ.ศ. 2495 | |
17. | | นายโสภิต ศุขเกษม | พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2512 | พ.ศ. 2510 พ.ศ. 2515 | |
18. | | นายสนอง มณีภาค | พ.ศ. 2511 | พ.ศ. 2512 | |
19. | | นายสุเชฎฐ วิชชวุต | พ.ศ. 2516 | พ.ศ. 2520 | |
20. | | นายบรรจง พงศ์ศาสตร์ | พ.ศ. 2520 | พ.ศ. 2525 | |
21. | | นายสมชาย นพเจริญกุล | พ.ศ. 2525 | พ.ศ. 2535 | |
22. | | นายประสิทธิ์ แสนไชย | พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2537 | |
23. | | นายสุรชาติ ช่วงฉ่ำ | พ.ศ. 2537 | พ.ศ. 2540 | |
24. | | นายสาหร่าย แสงทอง | พ.ศ. 2541 | พ.ศ. 2544 | |
25. | | นายวีรยุทธ จงสถาพรพงศ์ | พ.ศ. 2544 | พ.ศ. 2547 | |
26. | | นายประดิษฐ์ จันทร์แสนตอ | พ.ศ. 2547 | พ.ศ. 2549 | |
27. | | นายบรรจง พลฤทธิ์ | พ.ศ. 2549 | พ.ศ. 2552 | |
28. | | นายวิษณุ ไชยแก้วเมร์ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ | พ.ศ. 2554 | พ.ศ. 2557 | |
29. | | นายบุญเสริญ สุริยา ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ | พ.ศ. 2557 | พ.ศ. 2562 | |
30. | | นายฐิตติณัฐ ศักดิ์ธนานนท์ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ | พ.ศ. 2562 | พ.ศ. 2563 | |
31. | | นายทีปชัย วงษ์วรศรีโรจน์ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ | พ.ศ. 2564 | พ.ศ. 2564 | |
32. | | นายพูลศักดิ์ จิตสว่าง ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ | พ.ศ. 2564 | พ.ศ. 2566 | |
33. | | นายสำเร็จ ไกรพันธ์ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ | พ.ศ. 2566 | พ.ศ. 2567 | |
34. | | นางสาวสุปราณี ปัญญานะ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ | พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน |
|
อาคารเรียน
หมายเลขอาคาร
|
ชื่ออาคาร
|
ห้องเรียน
|
1
|
ตึกยุพราช
|
- หอเกียรติประวัติและจัดแสดงผลงานของโรงเรียน
- หอวชิราวุธานุสรณ์ ประจำจังหวัดเชียงใหม่
|
2
|
เรือนวิเชียร
|
- ห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
- ห้องเรียนโครงการ English Program
- ศูนย์บริการการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
|
3
|
เรือนรัตน์
|
- ศูนย์ให้คำปรึกษาเพื่อนใจวัยรุ่น ชมรมทูบีนัมเบอร์วัน
- ศูนย์สเต็มศึกษา ภาคเหนือ
- งานธนาคารโรงเรียน
- ห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
- ห้องเรียนประจำระดับชั้น ม.3
|
4
|
เรือนเพชร
|
- ห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- ห้องเรียนปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
- ห้องโสตทัศนูปกรณ์
- ศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(พสวท.) ภาคเหนือ
|
5
|
เรือนวชิระ
|
- สำนักงานผู้อำนวยการ
- สำนักงานฝ่ายอำนวยการ
- สำนักงานฝ่ายจัดการศึกษา
- สำนักงานฝ่ายนโยบายและแผน
- ห้องเรียนประจำระดับชั้น ม.1
|
6
|
เรือนพัชระ
|
- ห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
- ห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
- ห้องปฏิบัติการงานคหกรรม
|
7
|
อาคารรัตนมณี
|
- ห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- ห้องเรียนประจำระดับชั้น ม.5
- ห้องแนะแนว
- ห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์)
|
8
|
อาคารศรีมรกต
|
- ห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
- ห้องเรียนประจำระดับชั้น ม.2
|
9
|
อาคารนวรัตน์
|
- โรงอาหาร 2
- ห้องสมุดกลาง เฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก
- ห้องประชุมวิภาตะวณิช
- หอประชุมใหญ่
|
10
|
อาคารเพชรรัตนราชสุดา
|
- ห้องจัดแสดงผลงานของโรงเรียน
- ห้องชมรมและกลุ่มกิจกรรม (งานนักศึกษาวิชาทหาร, งานลูกเสือ, สำนักงานสภานักเรียน และคณะสี)
- ห้องเรียนปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์
- ห้องเรียนประจำระดับชั้น ม.4
|
11
|
อาคารยุพราชรังสรรค์
|
- โรงอาหาร 1
- อาคารเอนกประสงค์
|
12
|
อาคารวชิรดารา
|
- ห้องเรียนประจำระดับชั้น ม.5-6
|
|
อาคารยุพราช 100 ปี
|
- ห้องเรียนปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และพิมพ์ดีด
- ห้องเรียนปฏิบัติการทางหุ่นยนต์
- ห้องเรียนปฏิบัติการทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference)
|
|
อาคารพยาบาล 100 ปี
|
- ห้องปฏิบัติการพยาบาล
- กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)
|
|
อาคารประชาสัมพันธ์ 100 ปี
|
- สำนักงานฝ่ายบริหารงานทั่วไป
|
|
ธรรมสถาน
|
- พระวิหารวัดนางเหลียว ภายในประดิษฐานพระทศพลญาณมหามุนี และพระสมเด็จพระยุพราช
- ห้องเรียนวิชาพระพุทธศาสนา
|
|
อาคารพลศึกษา
|
- โรงยิมพลศึกษา
- กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา)
|
|
อาคารดนตรีไทย
|
- ห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรีไทย)
|
|
โรงช้างต้น
|
- ห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (วงโยธวาทิต)
|
|
เรือนแก้ว
|
- พิพิธภัณฑ์ และศูนย์จัดแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนาและโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบภายในโรงเรียน
- ศูนย์การเรียนรู้อาเซียนศึกษา
|
|
อาคารสมาคมผู้ปกครองและครูยุพราชวิทยาลัย (สปย.)
|
- สำนักงานฝ่ายกิจการนักเรียน
- งานระเบียบวินัย
- งานคุณธรรมจริยธรรม
- งานสารวัตรนักเรียน
- งานจราจร และรักษาความปลอดภัย
- ห้องประชุมสมาคมผู้ปกครองและครูยุพราชวิทยาลัย (สปย.)
|
|
ศูนย์ประชาสัมพันธ์ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
|
- ห้องครูเวรประจำวัน
- ห้องพักครูเวรสตรี วันหยุดราชการ
|
|
แหล่งการเรียนรู้รังผึ้งสุขสันต์
|
|
|
สวนบ้านบานเย็น
|
|
เพลงประจำโรงเรียน
- เพลง ยุพราช-บานเย็น (เพลงประจำสถาบัน)
- เพลง ชาวบานเย็น
- เพลง ใต้ร่มธงบานเย็น
- เพลง ยุพราชอนุสรณ์
- เพลง อย่าลืมบานเย็น
- เพลง ยุพราชฯองอาจบานเย็น (เพลงพิเศษเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การพระราชทานนาม "ยุพราชวิทยาลัย")
- เพลง ยุพราชร้อยปี (เพลงพิเศษเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การพระราชทานนาม "ยุพราชวิทยาลัย")
แผนการเรียน
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
- ห้องเรียนโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program)
- ห้องเรียน Smart YRC
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม
- ห้องเรียนสำหรับนักเรียนหลักสูตรปกติ
- ห้องเรียน international program
- ห้องเรียนหลักสูตรวิทย์พลังสิบ
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
- ห้องเรียนสำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม
- ห้องเรียนสำหรับนักเรียนทุนโครงการ พสวท. (ผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) และนักเรียนโครงการห้องเรียน พสวท. (สู่ความเป็นเลิศ)
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และ นักเรียนความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ (Gifted Math)
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และ นักเรียนความสามารถพิเศษด้านภาษาอังกฤษ (Gifted Eng)
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และ นักเรียนความสามารถพิเศษด้านภาษาไทย (Gifted Thai)
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และ นักเรียนความสามารถพิเศษด้านคอมพิวเตอร์ (Gifted Computer)
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์พิเศษ (SMART YRC)
- ห้องเรียนสำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคสมทบ (โครงการ พสวท. สมทบ)
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาเกาหลี
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ทัศนศิลป์
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ดนตรี
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-สังคมศึกษา
- ห้องเรียนโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program)
- ห้องเรียนหลักสูตรวิทย์พลังสิบ
แผนการเรียนพิเศษ
- โครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
- โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program)
- โครงการหลักสูตรนานาชาติ (International Program)
- โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม
- โครงการส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (โครงการ พสวท.) ประจำภาคเหนือ
- โครงการห้องเรียนส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่ความเป็นเลิศ (พสวท. (สู่ความเป็นเลิศ)) ประจำภาคเหนือ
- โครงการส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคสมทบ (โครงการ พสวท.สมทบ)
- โครงการส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และคอมพิวเตอร์
- โครงการSmart YRC. ส่งเสริมทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์
บุคคลที่มีชื่อเสียงที่สำเร็จการศึกษา
อ้างอิง
- ↑ จดหมายเหตุ ร.ศ.125 เรื่อง การสร้างโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย. (เอกสารชั้นต้น)
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-28. สืบค้นเมื่อ 2011-05-22.
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1704.1518°47′30″N 98°59′19″E / 18.79167°N 98.98861°E / 18.79167; 98.98861
|
---|
วัด/องค์กรศาสนา | | |
---|
สถาบันการศึกษา | |
---|
กองสาธารณสุข | |
---|
องค์กรสาธารณกุศล | |
---|
โรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ |
---|
*เปิดสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า, †เปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, ‡เปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย |
สังกัด สพม. เชียงใหม่ | |
---|
สังกัด สพป. เชียงใหม่ | เขต 1 | |
---|
เขต 2 | |
---|
เขต 3 | |
---|
เขต 4 | |
---|
เขต 5 | |
---|
เขต 6 | |
---|
|
---|
สังกัด สศศ. | |
---|
สังกัด อปท. | |
---|
สังกัด สช. | |
---|
สังกัดอื่น ๆ | |
---|
|
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ |
---|
|
โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ระดับมัธยมศึกษา |
---|
กรุงเทพมหานคร | |
---|
ภาคกลางตอนบน | |
---|
ภาคกลางตอนล่าง | |
---|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน | |
---|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง | |
---|
ภาคเหนือตอนบน | |
---|
ภาคเหนือตอนล่าง | |
---|
ภาคตะวันออก | |
---|
ภาคใต้ตอนบน | |
---|
ภาคใต้ตอนล่าง | |
---|