โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล
โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล ช.ย.(อังกฤษ: Chaiyabhum Bhakdeechumphon School) เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดชัยภูมิ ชัยภูมิ เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบโรงเรียนสหศึกษา และเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ คำว่า ชัยภูมิภักดีชุมพล มาจากคำสองคำคือ ชัยภูมิ คือชื่อจังหวัดอันเป็นที่ตั้งของโรงเรียน และ ภักดีชุมพล มาจากบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองคนแรกของจังหวัดชัยภูมิ หรือ พระยาภักดีชุมพล โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] กับการก่อตั้งโรงเรียนซึ่งปัจจุบันในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2445 [4] ประวัติโรงเรียนยุคบุกเบิกโรงเรียนวัดชัยประสิทธิ์ หรือ วัดสะแก ซึ่งในปี พ.ศ. 2435 ยังเป็นวัดร้างอยู่ พระประสิทธิ์ได้มาบูรณะซ่อมแซมขึ้นใหม่ จึงขนานนามวัดใหม่ตามชื่อของท่านว่า "วัดประสิทธิ์" และในปี พ.ศ. 2439 ได้ทำการสอนปริญัติธรรมซึ่งมีกำหนดไม่แน่นอนและเป็นการสอนทางธรรมเสียมากกว่า ต่อมา ประมาณปี พ.ศ. 2442 พระยาหฤทัยราชเดช เจ้าเมืองชัยภูมิสมัยนั้นได้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นที่วัดชัยประสิทธิ์ โดยอาศัยศาลาการเปรียญเป็นห้องเรียน ได้แบ่งชั้นเรียนออกเป็นประโยค 1-2 ประโยค 1 มีชั้น ป.1 กับ ป.2 ประโยค 2 มี ป.3 กับ ป.4 เมื่อเรียนสำเร็จประโยค 2 (หากจะเทียบกับปัจจุบันก็คือ มัธยมศึกษาปีที่ 3) ปฐมอาจารย์แห่งโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลคือ อาจารย์เกิด มีตำแหน่งเป็นครูใหญ่ กับครูน้อยอีก 1 คนคือ อาจารย์คำ ต่อมาอาจารย์เกิดซึ่งเป็นครูใหญ่ได้ลาออกไปเป็นเสมียนมหาดไทยจังหวัดนครราชสีมา อาจารย์เปล่ง (ซึ่งเป็นพระภิกษุ) เป็นครูน้อยแทนอาจารย์คำ ขณะนั้นอาจารย์เปล่งครูใหญ่ได้เลื่อนตำแหน่งทางพระเป็นพระวินัยธรรม ประมาณปี พ.ศ. 2446 มีครูเพิ่มขึ้นอีก 3 คนคืออาจารย์หรั่ง อาจารย์จ้อย และนายดาบอิน เมือได้เป็นครู 1 ปีอาจารย์หรั่ง ขอลาออกไปเรียนต่อที่กรุงเทพมหานคร อาจารย์ทับเป็นครูน้อยแทนอาจารย์หรั่ง ปฐมกาลแห่งการสถาปนา (พ.ศ. 2442 - พ.ศ. 2445)ภัยจากการคุมคามของประเทศมหาอำนาจในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 หรือปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ลัทธิจักรวรรดินิยมกำลังแผ่ขยายมายังประเทศต่างๆ ในเอเชียซึ่งประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่าญวน เขมรและมลายูเป็นต้น ต่างตกอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศมหาอำนาจ ส่วนประเทศไทยมีจุดอ่อนทั้งในเรื่องความล้าหลัง ระบบการปกครองและการกำหนดเขตแดนที่ชัดเจนพระองค์จึงทรงห่วงใยบ้านเมืองจึงดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบประนีประนอมและเร่งปรับปรุงประเทศ โดยเน้นการ ศึกษาของชาติ โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลก็เป็นส่วนหนึ่งของยุคปฏิรูปการศึกษาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่นกัน โดยในยุคแรกได้ใช้ศาลาการเปรียญของวัดชัยประสิทธิ์ (วัดสะแก) ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านหนองบ่อ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ เมื่อปี พ.ศ. 2442 วัดสะแก หรือวัดชัยประสิทธิ์ ( วัดประสิทธิ์ ) เดิมเป็นวัดร้าง พระประสิทธิ์ได้มาซ่อมแซมบูรณะขึ้นใหม่ราวปี พ.ศ. 2432 และได้ขนานนามวัดใหม่ตามนามของท่านว่า “วัดชัยประสิทธิ์” ต่อมาพระประสิทธิ์ได้ทำการสอนพระปริยัติธรรมแก้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่สนใจในพระพุทธศาสนา ซึ่งนับเป็นการเรียนการสอนยุคแรกของโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล เมื่อปี พ.ศ. 2442 พระหฤทัย (บัว) ผู้รั้งผู้ว่าราชการจังหวัด (ดำรงตำแหน่งระหว่าง : พ.ศ. 2442 – 2444) เจ้าเมืองชัยภูมิได้ตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกของจังหวัดชัยภูมิขึ้นที่วัดชัยประสิทธิ์ตามพระบรมราโชบายปฏิรูปการศึกษาหัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร และความต้องการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติโดยได้ออก "ประกาศจัดการเล่าเรียนในหัวเมือง" เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 ความว่า
ในการจัดการศึกษาขั้นต้นตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาลสยามในสมัยนั้น พระหฤทัย (บัว) ได้มีนโยบายในการจัดการศึกษาในจังหวัดเพื่อตอบสนองความต้องการของนโยบายรัฐบาลนั้นได้จัดการศึกษาขึ้นที่วัดชัยประสิทธิ์ โดยมอบหมายให้พระครูจรูญ นิโรธกิจ เป็นผู้จัดการเรียนการสอนขึ้น โดยมีนายพรหมมา และนายป้อมเป็นครูผู้สอน ในปี พ.ศ. 2442 ณ ศาลาการเปรียญวัดชัยประสิทธิ์เปิดสอนในประโยค 1 – 2 โดยประโยค 1 มีชั้น ป.1 และ ป.2 ประโยค 2 คือชั้น ป.3 และ ป.4 เมื่อสำเร็จชั้นประโยค 2 ถือว่าสำเร็จชั้นสูงสุดการศึกษาภายในจังหวัดชัยภูมิ ในต้นปี พ.ศ. 2445 ที่มีนักเรียนเป็นจำนวนมากซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นบุตร ธิดาของบรรดาข้าราชการ คหบดี พ่อค้า ประชาชนทั่วไป ในจังหวัดชัยภูมิ ต่อมาในปีกลาง พ.ศ. 2445 โรงเรียนวัดประสิทธิ์มีนักเรียนทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ศึกษาเล่าเรียนรวมทั้งสิ้น 100 คน มีครูเพียง 1 คน ซึ่งที่นั่งนักเรียนไม่เพียงพอที่จะจัดการเรียนการสอน ผู้รั้งผู้ว่าราชการจังหวัด หลวงพิทักษ์นรากร ได้เห็นถึงปัญหาการขาดแคลนสถานที่จัดการเรียนการสอนและจำนวนครูผู้สอนไม่เพียงพ่อต่อนักเรียนกอปรกับ ในปี พ.ศ. 2445 การปฏิรูปการศึกษาของประเทศนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์” ซึ่งในแง่มุมของการศึกษา ถือเป็นการแบ่งงานระหว่างพระสงฆ์กับกรมศึกษาธิการ โดยพระสงฆ์จะจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา ส่วนในระดับสูงกว่าเป็นหน้าที่ของกรมศึกษาธิการ จึงมีการรวบรวมรายชื่อโรงเรียนเพื่อจัดทำทะเบียนโรงเรียนหลวงขึ้น หลวงพิทักษ์นรากร จึงรวบรวมเงินบริจาคจากข้าราชการในจังหวัดชัยภูมิเพื่อปรับปรุงโรงเรียนเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีผู้บริจาคทั้งสิ้น 166 บาท 8 อัฐ เงินจำนวนนี้นับเป็นเงินบำรุงสถานศึกษาชุดแรกที่ก่อให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาในจังหวัดชัยภูมิโดยเงินจำนวนดังกล่าวได้นำไปจ้างครูเพิ่มอีก 2 คน คนละ 5 บาทต่อเดือนคงเหลือเงิน 22 บาท 08 อัฐ ได้นำไปซื้อม้านั่งสำหรับเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2442 2 ธันวาคม ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) หลวงพิทักษ์นารากร ผู้รั้งผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิได้เสนอชื่อโรงเรียนวัดประสิทธิ์ไปยังกระทรวงมหาดไทยและได้เสนอก่อตั้งเป็นโรงเรียนหลวงขึ้นพร้อมรายนามข้าราชการที่บริจาคเงินบำรุงโรงเรียนวัดประสิทธิ์ 12 ธันวาคม ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) พระยาศรีสหเทพ ราชปลัดทูลฉลอง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เสนอขอตั้งโรงเรียนไปยังพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ปลัดกระทรวงธรรมการ และได้เสนอต่อไปยังสำนักราชเลขานุการได้นำความกราบบังคมทูล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธ์ โดยมีเนื้อความว่า
ในวันเดียวกันความถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงมีพระราชกระแสลายพระหัตถ์รับสั่ง “อนุโมทนา” ในวันที่ ๒๗ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๑ พระยาวุฒิการบดี ได้แจ้งเรื่องผ่านทางกรมราชเลขานุการด้วยหนังสือ ที่ 67 / 2029 ความว่า
ยุคแรกแห่งแสงอรุณทางการศึกษาของโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล และชาวชัยภูมิได้เริ่มต้นขึ้น และในยุคนี้ได้ถูกขนานนามว่า “ยุคสถาปนา” ยุคบุกเบิกการศึกษาโดยคณะภิกษุสงฆ์ (พ.ศ. 2445 - พ.ศ. 2452)หลังจากโรงเรียนก่อตั้งได้ไม่นาน พระอาจารย์จรูญ นิโรธกิจ (เจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ) ก็ต้องย้ายไปรับราชการในระดับเขตการศึกษา เพื่อควบคุมการศึกษาภาษาไทยในเมืองชัยภูมิ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นพัฒนาการทางการสอนที่เท่ากัน และเท่าเทียม สำหรับผู้ชายและผู้หญิงนั้นสามารถศึกษาได้อย่างเท่าเทียม ทางราชการได้แต่งตั้งพระอาจารย์เกิดมาเพื่อรับตำแหน่งแทนพระครูจรูญ นิโรธกิจซึ่งรับราชการในระดับที่สูงขึ้น การศึกษาในยุคนี้มิได้เน้นวิชาสมัยใหม่เหมือนในกรุงเทพมหานคร อต่เป็นการสอนการเขียน การอ่านภาษาไทย การเรียนวิชาในพุทธศาสนา และการสอนนั้นเน้นไปในทางปริญัติธรรมเสียส่วนใหญ่ ยุคบุกเบิกการศึกษาโดยฆราวาส (พ.ศ. 2452 - พ.ศ. 2478)ในยุคนี้ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นครูใหญ่ผู้บุกเบิกคือ นายมนู นาคามดี ครูใหญ่ผู้บุกเบิกโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล ซึ่งตามประวัติที่มีการจดบันทึกไว้จากการบอกเล่าของ นงไฉน ปริญญาธวัช (ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรมปี พ.ศ. 2555) บุตรสาวของนายหนู นาคามดี นายหนู ต้องเดินทางมายังโรงเรียนชัยภูมจากจังหวัดนครราชสีมาด้วยระยะทางเพียง 100 กิโลเมตรเศษโดยใช้เวลา 5 วัน 5 คืน ซึ่งในขณะนั้นจังหวัดชัยภูมินับว่าเป็นดินแดนที่ "กันดาร" ตามคำบอกเล่าของบุตรสาวและได้ขยายโรงเรียนแห่งใหม่โดยซื้อที่ดินคืนจากชาวบ้านที่มาทำนา ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนมาจนถึงปัจจุบัน ในอดีตไม่มีใครอยากจะมาเป็นข้าราชการที่จังหวัดอันห่างไกลแห่งนี้ แต่นายหนู เดินทางมาด้วยความมานะอุตสาหะ ด้วยความไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก นายหนูได้รับยกย่องให้เป็นครูสอนวิชาภาษาอังกฤษคนแรกของจังหวัดชัยภูมิอีกด้วย ในวัยก่อนเกษียนท่านได้รับคำนำหน้าชื่อเป็น รองอำมาตย์ตรี มนู นาคามดี นับว่าเป็นสิ่งที่แสดงความตั้งใจในการทำงานและเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงมานะอุตสาหะของครูผู้บุกเบิกผู้นี้ ยุคแห่งผู้บริหารจาก "ธรรมศาสตร์" (พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2494)ยุคแห่งผู้บริหารจาก "ธรรมศาสตร์" ในยุคนี้มีผู้อำนวยการถึง 3 คนที่จบปริญญาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ นายกุหลาบ ประภาสโนบล นายทอง พงศ์อนันต์ และนายชะลอ ปทุมานนท์ ซึ่งล้วนแล้วแต่นำสิ่งใหม่ๆมาสู่โรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นสีประจำโรงเรียน (เหลืองแดง) ต้นไม้ที่ปลูกรอบโรงเรียนล้วนได้รับอิทธิพลจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แม้กระทั่งตราโรงเรียนยุคแรกก็ยังได้รับอิธิพลจากตราธรรมจักรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการตีพิมพ์วารสารโรงเรียนขึ้นเป็นครั้งแรกโดยได้รับความร่วมมือจากกระทรวงและเป็นการกำหนดหลักสูตรให้กับโรงเรียนโดยรอบจังหวัดผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ซึ่งถือว่าเป็นสื่อที่ทันสมัยในยุคนั้น
สืบเนื่องจากนโยบายทางการศึกษาของรัฐบาลใหม่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงแยกโรงเรียนออกเป็นชายล้วนและหญิงล้วนในระหว่างช่วงนี้โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลได้แยกนักเรียนหญิงในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นไปยัง โรงเรียนสตรีชัยภูมิ และได้ทำการสอนนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตามปกติจนกระทั่งปี พ.ศ. 2483 โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลจึงกลายโรงเรียนชายล้วนอย่างสมบูรณ์ ยุคแห่งการพัฒนา (พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2500)การพัฒนาทั้งทางด้านการศึกษา พัฒนาด้านการเรียนการสอน อาคารเรียนและบุคลากรทางการศึกษา มีนักเรียนรุ่นที่จบไปแล้วเริ่มมารับราชการครูในโรงเรียนที่ตนเคยศึกษา การเรียนการสอนถูกปรับปรุงให้ทันสมัยเข้าสู่ยุคและสังคมที่ทันสมัยขึ้น บริเวณโรงเรียนและอาคารเรียนมีมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามกระแสของการตื่นตัวทางการศึกษาของคนไทยในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง นโยบายทางการศึกษาใหม่ๆ ทำให้มีการส่งเสริมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่รู้จักกันในนาม โรงเรียนชัยภูมิ โรงเรียนประจำจังหวัดชัยภูมิ และยุคนี้คือ "ยุคแห่งการพัฒนา" ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 โรงเรียนได้งบประมาณสร้างบ้านพักครูหนึ่งหลังเป็นเงิน 25,000 บาท ซึ่งได้สร้างทางทิศตะวันออกของสระพัง สร้างแล้วเสร็จให้นายวินิช เวชสัสถ์ ครูโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลขึ้นอยู่อาศัย เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2497 ในปีนี้โรงเรียนได้ขยายโรงอาหารออกไปทางทิศใต้และทิศตะวันออก เพื่อใช้เป็นสถานที่ประชุม โดยเงินสะสมเพื่อสร้างโรงอาหารของโรงเรียนเป็นเงิน 8,225.05 บาท แต่นักเรียนมีมากถึง 500 คนทำให้ที่ประชุมคับแคบไป ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2498 โรงเรียนได้จัดหาวัสดุมาสร้างบ้านพักครูอีกหลังหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของสระพัง เป็นบ้านทรงปั้นหยา 2 ห้องมีระเบียงสองข้าง และมีนอกชาน ต่อจากนี้มีห้องครัว 2 ห้อง ห้องส้วมอยู่บนบ้านสร้างขึ้นไม่มีงบประมาณ แต่อาศัยเงินบำรุงจำนวน 4,271.71 บาท สร้างเสร็จให้นายบุญเรือน แช่มชื่น ครูสอนแตรขึ้นอยู่อาศัยแต่นายบุญเรือง แช่มชื่น ลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2489 จึงให้นายมงคล ประภาสโนบล อยู่แทน ยุคแห่งความมั่นคง (พ.ศ. 2500 - พ.ศ. 2532)ในยุคนี้โรงเรียนที่มีอายุมากถึง 50 ปีเป็นตัวชี้ศักยภาพทางการศึกษา มีเหตุการณ์ที่แสดงความสามารถการันตีความเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด ไม่ว่าจะมีระดับชั้นการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในจังหวัดที่เตรียมตัวเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา การจัดทำหนังสืออนุสรณ์ การสร้างถนนในโรงเรียน การเตรียมการสำหรับแนวการศึกษาใหม่ๆ การศึกษาวิชาพละศึกษาที่ไม่เคยมีการสอนมาก่อน เป็นต้น สร้างได้เพียงครึ่งเดียว ทางโรงเรียนจึงอนุมัติงบอีก 7,000 บาทเพื่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จตลอดสาย ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นำโดยนายสมเกียรติ วิจิตรธนสาร ได้จัดหาเงินสร้างสนามบาสเก็ตบอลเป็นคอนกรีต โดยใช้เงินทั้งสิ้น 14,458.00 บาท และในปีเดียวกันนี้ทางโรงเรียนได้งบประมาณรื้อถอน และซ่อมแซมโรงอาหารหลังเก่า ขยายให้กว้าง ลาดพื้นซีเมนต์เพื่อใช้เป็นห้องฝึกหัดพละศึกษาและใช้เป็นห้องประชุม และเงินงบประมาณยอดเดียวกันนี้ ได้ทาสีโรงเรียนใหม่ และซ่อมแซมประตูหน้าต่างให้เสร็จหมดงบประมาณทั้งสิน 100,000 บาท และ ได้สร้างบ้านภารโรงขึ้น ๑ หลัง อยู่ทางทิศใต้ของหนองสระพัง ด้วยเงินบำรุงการศึกษา 3,000 บาท ผู้บริหารผู้อำนวยการโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลแบ่งได้เป็น 4 ยุคด้วยกันคือ ยุคพระภิกษุ ยุคครูใหญ่ ยุคอาจารย์ใหญ่ และยุคผู้อำนวยการ ซึ่งมีรายนามดังต่อไปนี้
อาคารและสิ่งก่อสร้าง
แบ่งออกเป็น 3 ชั้นโดยชั้นแรกเป็นชั้นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้นที่สองเป็นที่ตั้งของ ห้องสมุดกลาง โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล และชั้นที่สาม เป็นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
แบ่งออกเป็น 3 ชั้น
เป็นอาคารที่ใช้งานเฉพาะชั้น 1 และ 2 โดยยกเลิกการป็นอาคารเรียนเมื่อปี พ.ศ. 2553 และปัจจุบันมีเฉพาะชั้นล่างเท่านั้นที่มีการใช้งานบ่อยครั้ง
เป็นอาคารของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม โดยมีทั้งหมด 3 ชั้นคือ
เป็นอาคารที่ใหญ่ที่สุดในโรงเรียนมีทั้งสิ้น 6 ชั้น
เป็นอาคารของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และเป็นที่ตั้งของห้องสมุด 111 ปีโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล มีทั้งสิ้น 4 ชั้น
เป็นอาคารสามชั้น
สระน้ำกลางโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล
รูปจำลองพระยาภักดีชุมพล (แล) เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก ตั้งบริเวณหน้าอาคาร 1
มีการบวงสรวงเป็นประจำทุกปีในวันสถาปนาโรงเรียน (25 ธันวาคมของทุกปี) ศูนย์เรียนรู้ไทยภัณฑ์ศูนย์เรียนรู้ไทยภัณฑ์เป็นองค์กรที่มุ่งมั่นพัฒนาความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ให้แก่บุคคลที่สนใจ "เมื่อเราศึกษาอดีตอย่างมีเหตุและมีผลจะทำให้เราสามารถทำตัวอยู่กับปัจจุบันอย่างมีเหตุผล" เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว จึงมีผู้ที่ต้องการรวบรวมความรู้ด้านประวัติศาสตร์ของสถานศึกษา และท้องถิ่น โดยงานหลักของศูนย์เรียนรู้ไทยภัณฑ์คือการดูแลรักษาสมบัติของโรงเรียนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีรวมถึงประมวลภาพเหตุการณ์ของโรงเรียนทั้งฟิมล์ สไลด์ หรือไฟล์ดิจิทัล เพลงโรงเรียนตั้งแต่ยุคแผ่นเสียง เทป จนสู่ยุคแผ่นซีดี และงานจดหมายเหตุต่างๆ กิจกรรมภายในโรงเรียน
โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลจะมีการจัดกการแข่งขันกีฬาภายในหรือกีฬาสีในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมของทุกปี ปีละ 5 วัน โดยแบ่งเป็น 6 คณะสี เรียงตามสีประจำวัน (ยกเว้นสีเหลืองและสีแดงที่เป็นสีประจำโรงเรียน) มีชื่อเรียกตามชื่ออัญมณีต่างๆ เพื่อทำกิจกรรมดังนี้
กองลูกเสือกองลูกเสือโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2458 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งกองลูกเสือโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลเดิมใช้ชื่อว่า "กองลูกเสือมณฑลนครราชสีมาที่ 3 ประจำเมืองไชยภูมิ" และในปีเดียวกันนั้นได้แต่งตั้งนายมนู นาคามดี ขึ้นเป็นผู้กำกับการกองลูกเสือจังหวัดชัยภูมิคนแรก จึงนับได้ว่ากองลูกเสือโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลเป็กองลูกเสือกองแรกและเป็นกองลูกเสือบุกเบิกของจังหวัดชัยภูมิโดยตั้งหลังจากทรงนำกิจการลูกเสือเข้ามาในสยามได้เพียง 4 ปีเท่านั้น ปัจจับันกิจการลูกเสือในโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลนั้นสำคัญมากโดยเฉพาะในจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งกองลูกเสือของโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลนั้นเป็นแบบอย่างที่สำคัญของการพิทักษ์ดูแลและรักษาความคิดและธำรงค์ไว้ซึ่งกิจการลูกเสือไทย และที่สำคัญโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล ได้รับมอบหมายให้เป็นสถานที่เก็บรักษาธงลูกเสือจังหวัดชัยภูมิ จากคณะกรรมการลูกเสือจังหวัดชัยภูมิ เชิงอรรถ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |