โรงเรียนสิงห์บุรี เป็นสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา แห่งแรกของ จังหวัดสิงห์บุรี ปัจจุบันจัดอยู่ในประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในรูปแบบสหศึกษา ทำการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 มีจำนวนนักเรียนประมาณ 3,000 คน และบุคลากรทางการศึกษาอีกกว่า 150 คน โดยมีเนื้อที่ 121 ไร่
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนสิงห์บุรี เดิมชื่อโรงเรียนวัดพรหมสาคร ตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2449 ได้รับการสนับสนุนจาก พระสิงห์บุราจารย์ (ลบ บัวสรวง) เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรีได้ร้องเรียนเจ้าหน้าที่ขออนุญาตตั้งสถานที่เรียน โดยมี สามเณรสงวน ต่อจรัส เป็นครูใหญ่คนแรก สถานที่ตั้งเดิม วัดพรหมสาคร ตำบลบางพุทรา อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี ปลายปี 2452 ทางราชการยกฐานะเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อแรกเปิดสอน มีจำนวนนักเรียนชาย 50 คน ได้จัดสอนเพียง 4 ชั้น อาศัยศาลาการเปรียญของวัดเป็นสถานที่เรียน ราชบุรุษบุญเหลือ บุญยานุตร เป็นครูใหญ่ พระปลัดเขียวเจ้าคณะอำเภอเมืองสิงห์บุรี เป็นผู้อุปการะการเรียนการสอน เรียนทุกวัน หยุดเรียนวันพระ
- 19 กันยายน 2470 กระทรวงธรรมการ มีคำสั่งให้ยุบโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสิงห์บุรี รวมกับโรงเรียนประจำจังหวัดชาย และแยกนักเรียนประถมชายและครูไปรวมสอนที่โรงเรียนสตรีเดิมในจวนผู้ว่าราชการจังหวัดและจัดเป็นแผนกประถม ส่วนที่โรงเรียนประจำจังหวัดเดิมในวัดพรหมสาครจัดเป็นแผนกมัธยม และเป็นที่ตั้งของโรงเรียนประจำจังหวัดสิงห์บุรี
- ปลายปี พ.ศ. 2474 ได้ก่อสร้างอาคารเรียนขึ้น 1 หลัง มีพระประชากรบริรักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ขุนสมรรถคุรุการ ศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้ให้การสนับสนุน และนายกวย ปาลวัฒน์ คหบดีตำบลบ้านไร่ อำเภออินทร์บุรี บริจาคเงิน 3,000 บาท มณฑลอยุธยาบริจาค 3,000 บาท เปิดอาคารเรียน
- เมื่อ 28 สิงหาคม 2475 และทางราชการได้ตั้งชื่อโรงเรียนนี้ว่า โรงเรียนสิงหวัฒนพาห เพื่อเป็นเกียรติแก่ตระกูลปาลวัฒน์
- 22 มิถุนายน 2476 จังหวัดได้ผ่อนผันให้รับนักเรียนหญิงชั้นมัธยมต้นเรียนปนกับนักเรียนชาย มีนักเรียนหญิงลงทะเบียนเรียนชั้นมัธยม 1 วันนี้รวม 7 คน
- 18 ธันวาคม 2477 แยกให้นักเรียนสตรีไปเรียนที่วัดโพธิ์แก้วนพคุณ
- 31 พฤษภาคม 2478 ธรรมการจังหวัด สั่งให้แยกโรงเรียนสตรีที่วัดโพธิ์แก้วไปเรียนที่ศาลา การเปรียญวัดพรหมสาคร และมีการปันเขตนักเรียนชายหญิง ไม่ให้เล่นปะปนกัน
- 17 พฤษภาคม 2484 โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสิงห์บุรีแยกตนเอง ไปเปิดทำการสอน ณ วัดโพธิ์ทอง บ้านบางแค มีนักเรียนที่แยกมาจากโรงเรียนเดิม (โรงเรียนประจำจังหวัดสิงห์บุรี) จำนวน 30 คน เป็น นักเรียนชั้นมัธยมสาม 14 คน ชั้นมัธยมสอง 16 คน ครูทั้งหมด 4 คน และนางสาวสมจิตต์ เกตุพล เป็นครูใหญ่คนแรก
- 24 มีนาคม 2515 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศรวมโรงเรียนสตรีสิงห์บุรีกับโรงเรียน สิงหวัฒนพาห เป็นโรงเรียนเดียวกัน ประเภทสหศึกษา และให้ชื่อว่า โรงเรียนสิงห์บุรี สังกัดกอง โรงเรียนรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2515 สถานที่ตั้งแห่งใหม่นี้ เป็นสนามบินชั่วคราว สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่ที่ ตำบลบางมัญ หมู่ที่ 1 เนื้อที่ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ จำนวน 144 ไร่ 19 ตารางวา
- 29 กันยายน 2515 กรมสามัญศึกษา แต่งตั้งให้ นายพนม ชุณหเสวี (อดีตรองอธิบดีกรมสามัญศึกษา) อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสิงหวัฒนพาหเดิม มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสิงห์บุรี ตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคม 2515
- กรมสามัญศึกษา ได้พิจารณาคัดเลือกให้โรงเรียนสิงห์บุรีอยู่ในโครงการปรับปรุง ค.ม.ภ. รุ่น 1 (โครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมในส่วนภูมิภาค) ปีการศึกษา 2517 - 2520 แล้วจึงเปลี่ยนมาใช้ หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 จากการเข้าสู่โครงการ ค.ม.ภ. ทำให้ได้รับการสนับสนุนให้มีอาคารเรียน อาคารประกอบ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ต่าง ๆ และครู-อาจารย์มากขึ้น
- ปัจจุบัน โรงเรียนสิงห์บุรี ตั้งอยู่เลขที่ 118 หมู่ที่ 1 ตำบลบางมัญ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี บนเนื้อที่ 1,210,000 ไร่ 3,000 งาน 190 ตารางวา (ทางจังหวัดสิงห์บุรีได้ขอเนื้อที่ก่อตั้งสำนักงานของทางราชการ 22 ไร่ 1 งาน) มีอาคารเรียนถาวร 5 หลัง อาคารเรียนชั่วคราว 3 หลัง โรงฝึกงาน 10 หลัง โรงฝึก พลศึกษา 1 หลัง อาคารศูนย์กีฬา 1 หลัง หอประชุม-โรงอาหาร 1 หลัง หอประชุม-หอสมุด 1 หลัง บ้านพักครู 22 หลัง บ้านพักนักการภารโรง 5 หลัง ห้องส้วมนักเรียน 100 หลังห้องอาบน้ำ20 หลัง มีนักเรียนจำนวน 0 คน แบ่งแผนชั้นเรียนเป็น ม.1 12 ห้อง ม.2 12ห้อง ม.3 12 ห้อง ม.4 12 ห้อง ม.5 12 ห้อง และ ม.6 12 ห้อง รวม 720 ห้องเรียน
หอสมุดโรงเรียน
หอสมุดหอมหวล – พรทวีทัศน์ โรงเรียนสิงห์บุรี เริ่มต้นมาจากโครงการขยายห้องสมุดของโรงเรียนสิงห์บุรีให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ในช่วงที่นายเมือง ทองยิ่ง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนสิงห์บุรี โดยได้รับความร่วมมือจาก พล.ต.ท.ธนู หอมหวล นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสิงห์บุรี จัดทอดผ้าป่าขึ้น เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2534 และนายโสรส พรทวีทัศน์ ประธานบริษัท ชิชาคัมปะนี จำกัด ได้บริจาคเงินเริ่มแรก 500,000 บาท และบริจาคเงินสมทบภายหลังอีก 500,000 บาท รวมรายได้ทั้งหมด 1,545,583 บาท จึงดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างห้องสมุดเอกเทศ พอดีกับกรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณการสร้างอาคารหอประชุม 101ล./27 ชั้นล่างใต้ถุนโล่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนสิงห์บุรีจึงปรึกษากับนายกสมาคมศิษย์เก่าฯ เปลี่ยนแปลงนโยบายเดิมจากการก่อสร้างอาคารหอสมุดเอกเทศ ซึ่งต้องใช้งบประมาณสูง ไปเป็นการปรับปรุงใต้ถุนอาคารหอประชุมเพื่อใช้เป็นหอสมุดแทน เมื่อได้รับอนุญาตจากกรมสามัญศึกษาแล้ว นางสาวจินตนา บัวสรวง ได้ติดต่อประสานงานให้ คุณธรรมนูญ วสุวานิช สถาปนิกการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นผู้ออกแบบให้ การปรับปรุงก่อสร้างเริ่มดำเนินตั้งแต่เดือนเมษายน 2535
ต่อมา นายเมือง ทองยิ่ง ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดสิงห์บุรี และนายเฉลิม ขวัญเมือง มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสิงห์บุรีแทน จึงมารับช่วงดำเนินการต่อ ปรากฏว่างบประมาณใช้ในการก่อสร้างไม่เพียงพอ นายเฉลิม ขวัญเมือง และคณะจึงปรึกษานายกสมาคมศิษย์เก่าฯ ประสานกับนายโสรส พรทวีทัศน์ และท่านได้บริจาคเพิ่มเติมอีก 1 ล้านบาท การก่อสร้างปรับปรุงต่าง ๆ จึงเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2537 นับเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่และได้มาตรฐานแห่งหนึ่ง จึงตั้งชื่อว่า หอสมุดหอมหวล – พรทวิทัศน์
ผลงานดีเด่น
ปี พ.ศ.
|
ได้รับรางวัล
|
2529
|
- โรงเรียนดีเด่น รางวัลพระราชทาน
|
2537
|
- ชนะเลิศ การประกวดดนตรีไทย 3 ปี (2535-2537) รับรางวัลถ้วยพระราชทาน
จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
|
2538
|
- 16 กุมภาพันธ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานเปิดอาคาร หอวัฒนธรรมและหอสมุด ของโรงเรียนสิงห์บุรี
- ห้องสมุดยอดเยี่ยม กรมสามัญศึกษา
- ห้องสมุดดีเด่น สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- โรงเรียนดีเด่น รางวัลพระราชทาน
|
2540
|
- ดนตรีไทยและนาฏศิลป์ ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนกรมสามัญศึกษาไปเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม
ณ ประเทศเวียดนาม และประเทศเวียดนามนำคณะนาฏศิลป์ มาเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมที่โรงเรียนสิงห์บุรี
|
2541
|
ผู้บริหาร ได้รับคัดเลือกเป็นผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น แห่งชาติ ระดับมัธยมศึกษา รับรางวัลเข็มกลัดทองคำ โล่เกียรติยศ เงินสด 100,000 บาท จากมูลนิธิคุรุสภา
|
2542
|
- ชนะเลิศ การแข่งขันระดับ ม.ต้น งานศิลปหัตถกรรม นักเรียน ครั้งที่ 52 ของภาคกลางและภาคตะวันออก
- นักเรียนดีเด่นรางวัลพระราชทาน ทั้งระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
|
2543
|
- รางวัลที่ 1 และรางวัลเหรียญทอง การแข่งทักษะทางวิชาการ เขตการศึกษา 6 รวม 13 รายการ
- ชนะเลิศระดับจังหวัดไปแข่งขันงานศิลปหัตถกรรม นักเรียน ครั้งที่ 53 ณ จังหวัดสมุทรสาคร 37 รายการ
|
2544
|
- รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันทำขนมไทย (น้ำดอกไม้) งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ภาคกลางและภาคตะวันออก ครั้งที่ 54 ณ จังหวัดสระบุรี
- ชนะเลิศ งานมหกรรมอินเทอร์เน็ต ของ Nectec ระดับภาคกลาง ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จ.ลพบุรี
|
2545
|
- รางวัลเหรียญทองงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ภาคกลาง และภาคตะวันออก ครั้งที่ 55 ณ จ.สุพรรณบุรี
|
2546
|
- รางวัลชนะเลิศ การจัดกิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภค (อ.ย.น้อย) ระดับเขตการศึกษา 6
- รางวัลเหรียญทอง โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข
- ชนะเลิศ รางวัลถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ
|
แหล่งข้อมูลอื่น
โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ระดับมัธยมศึกษา |
---|
กรุงเทพมหานคร | |
---|
ภาคกลางตอนบน | |
---|
ภาคกลางตอนล่าง | |
---|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน | |
---|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง | |
---|
ภาคเหนือตอนบน | |
---|
ภาคเหนือตอนล่าง | |
---|
ภาคตะวันออก | |
---|
ภาคใต้ตอนบน | |
---|
ภาคใต้ตอนล่าง | |
---|