กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467
กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 เป็นกฎหมายกำหนดลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ไทย สำหรับการขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรี เรื่องการสืบราชสันตติวงศ์ก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เป็นที่ถกเถียงกันโดยเฉพาะในสมัยอาณาจักรอยุธยา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 ถึงพุทธศตวรรษที่ 24 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ เพื่อให้การสืบราชบัลลังก์มีความชัดเจน โดยส่วนหนึ่งเป็นความพยายามที่จะขจัดความคลุมเครือเกี่ยวกับการสืบราชบัลลังก์และเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งก่อนหน้านี้อย่างเป็นระบบ ภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ส่งผลให้สยามเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุก ๆ ฉบับ ได้มีการระบุการสืบราชสันตติวงศ์ โดยยังคงยึดหลักกฎมณเฑียรบาลข้างต้นไว้ แต่มีการปรับเปลี่ยนในรายละเอียด ปูมหลังกฎมณเฑียรบาลฉบับเดิมซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1903[1] ในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ปฐมกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสืบราชสันตติวงศ์ ไม่มีระบบที่ชัดเจนในการกำหนดผู้สืบราชสันตติวงศ์เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จสวรรคต โดยทั่วไปแล้ว กษัตริย์องค์ใหม่จะเป็นพระราชโอรสของอดีตกษัตริย์ซึ่งประสูติจากพระมเหสีหรือพระสนม หรือหนึ่งในพระเชษฐา/พระอนุชาของพระองค์[2] กฎหมายยังกำหนดให้บุคคลที่ไม่ใช่พระราชโอรสหรือพระเชษฐา/พระอนุชาของอดีตกษัตริย์สามารถขึ้นครองราชย์ได้[3] อย่างไรก็ตาม กฎมณเฑียรบาลไม่ได้รับประกันการสืบทอดที่ราบรื่นเสมอไป อย่างน้อยหนึ่งในสามของการสืบราชสันตติวงศ์ของกรุงศรีอยุธยาจบลงด้วยการนองเลือด เนื่องจากเกิดการแย่งชิงอำนาจบ่อยครั้งระหว่างสมาชิกราชวงศ์และขุนนางซึ่งขัดขวางความปรารถนาสุดท้ายของกษัตริย์ที่เพิ่งจากไป สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แห่งสยามพระองค์ใหม่โดยสิทธิของผู้ชนะ หลังจากที่พระองค์พิชิตกองทัพพม่าในยุทธการที่ค่ายโพธิ์สามต้นเมื่อปี พ.ศ. 2310 อย่างไรก็ตาม พระองค์สนับสนุนคณะสงฆ์เพื่อรักษาความชอบธรรมในการครองราชย์ แต่ในที่สุด พระองค์ก็ถูกโค่นราชบัลลังก์ด้วยการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเดินทัพไปยังกัมพูชาเพื่อปราบปรามการก่อจลาจลและยกสมาชิกราชวงศ์เขมรผู้สนับสนุนสยามขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชา เมื่อทราบถึงสถานการณ์ที่ร้ายแรงเต็มทีแล้ว พระองค์จึงได้ยกทัพกลับมาจากกัมพูชาและโค่นล้มสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และก่อตั้งราชวงศ์จักรีขึ้นในปี พ.ศ. 2325 ภายหลังพระองค์ได้รับสั่งให้ราชบัณฑิตรวบรวมและปรับปรุงกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่สูญหายและกระจัดกระจายภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง และรวบรวมเป็นประมวลกฎหมายใหม่[4] กฎมณเฑียรบาลเป็นส่วนหนึ่งของประมวลกฎหมายใหม่ที่เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกตรัสไว้ว่า เพราะกฎหมายเก่ามักคลาดเคลื่อนและนำไปสู่ความอยุติธรรม การส่งต่อราชบัลลังก์ในราชวงศ์จักรีซึ่งปฏิบัติตามกฎหมายตราสามดวงแทบไม่มีการนองเลือดเลย ส่วนหนึ่งคือการยึดถือแนวความคิดที่ว่าผู้สืบราชสันตติวงศ์ควรเป็นบุคคลที่ฉลาดและมีความสามารถมากที่สุด ทำให้การสืบราชบัลลังก์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นไปอย่างราบรื่นไม่มีการนองเลือด การแก้ไขกฎมณเฑียรบาลมีการบัญญัติการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลไว้ทั้งในตัวกฎมณเฑียรบาลเองและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังนี้
ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ไทยดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
|