Share to:

 

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ดำรงพระยศ22 กันยายน พ.ศ. 2352 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2360
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
อุปราชาภิเษก22 กันยายน พ.ศ. 2352
ก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
ถัดไปสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
พระราชสมภพ29 มีนาคม พ.ศ. 2316[1]
สวรรคต16 กรกฎาคม พ.ศ. 2360 (44 พรรษา)
ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระราชมารดาสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี

กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ พระนามเดิม จุ้ย (29 มีนาคม พ.ศ. 2316 – 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2360) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กับสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี และเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระราชประวัติ

พระราชสมภพ

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 7 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชสมภพแต่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี หลังพระราชพิธีปราบดาภิเษกในปี พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์[2]

ผนวช

เดือน 8 ปีขาล ฉศก จ.ศ. 1156 (พ.ศ. 2337) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์ พระชนมายุครบ 21 ควรจะทรงผนวชแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานจัดกระบวนแห่พร้อมด้วยพระพงษ์นรินทร์ และนักองค์เอง ไปทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงผนวชแล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร[3]

พระบัณฑูรน้อย

ถึงปี พ.ศ. 2346 จึงเลื่อนเป็น กรมหลวงเสนานุรักษ์[4] ในปี พ.ศ. 2349 (นับแบบเก่า) เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร อุปราชาภิเษกขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระบัณฑูรน้อยด้วย [5]

กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2352 กรมพระราชวังบวรสถานมงคลได้รับราชาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี (ภายหลังได้รับเฉลิมพระนามเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) จึงโปรดเกล้าฯ ให้อุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ตำแหน่งพระมหาอุปราชสืบแทนในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2352 ไปประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

สวรรคต

เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2360 ขณะพระชนมายุ 44 พรรษา ณ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศร์ ในหมู่พระวิมาน พระราชวังบวรสถานมงคล พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพประดิษฐานพระบรมศพไว้ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง ในวันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2361 หลังจากงานพระบรมศพแล้วพระบรมอัฐิถูกอัญเชิญไปประดิษฐานพระบุษบกทรงปราสาทเคียงข้างพระบรมอัฐิสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ณ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศและถูกอัญเชิญมาประดิษฐานอีกครั้งที่หอพระนาคในพระบรมมหาราชวัง และพระบรมอัฐิบางส่วนถูกอัญเชิญไปประดิษฐานที่ท้ายจระนำวัดชนะสงคราม หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลอีกเลยตลอดรัชกาล ตำแหน่งวังหน้าจึงว่างลงนับแต่บัดนั้น

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายพระนามใหม่ว่ากรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์[6] จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เปลี่ยนคำนำพระนามจาก “กรมพระราชวังบวร” เป็น “สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์[7]

พระราชกรณียกิจ

พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระบรมเชษฐาหลายประการ อาทิ ทรงจะตรวจข้อราชการจากเสนาบดี กรม กองต่าง ๆ ที่จะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ก่อนทุกครั้ง

ในรัชกาลที่ 1 ย้อนไปสมัยพระเจ้าปดุงทรงทราบว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระชรามาก และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเสด็จสวรรคตแล้ว จึงคิดจะขยายอำนาจเข้ามาเขตสยามประเทศ พระเจ้าปดุงจึงให้อะเติงหวุ่นเป็นแม่ทัพลงมาเกณฑ์พลที่เมืองเมาะตะมะเตรียมตีไทยเป็นการใหญ่ การเตรียมไม่ได้ผลสมคาดจึงได้ระงับการมาตีไทยไว้ก่อนกอปรกับกรุงรัตนโกสินทร์ผลัดแผ่นดิน จากนั้นพม่าจึงคิดมาตีหัวเมืองชายทะเลอีกครั้ง การมาตีสยามครั้งนี้อะเติงหวุ่นไม่ได้มาเองเพียงแต่จัดทัพให้ทัพบกเข้าตีเมืองชุมพรและเมืองไชยา ทัพเรือตีเมืองตะกั่วป่าและเมืองตะกั่วทุ่งแล้วเข้าล้อมเมืองถลาง 27 วัน จึงเข้าตีเมืองถลางได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เป็นแม่ทัพยกไปทางกาญจนบุรีเพื่อสกัดทัพพม่า แต่การข่าวการศึกแจ้งมาภายหลังว่าทัพพม่ามิได้เข้ามาทางกาญจนบุรี กรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงยกทัพลงไปบัญชาศึกที่ทางใต้แทนจนทัพกรุงรัตนโกสินทร์ตีทัพพม่าแตกพ่ายกลับไปหมด ผลของการสงครามคือกรุงรัตนโกสินทร์ได้เมืองถลางคืนมา แต่ยับเยินเพราะถูกพม่าเผา นับเป็นการสงครามระหว่างไทยและพม่าครั้งสุดท้ายในสมัยพระเจ้าปดุง

กรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงจัดการกับหัวเมืองทางใต้ใหม่คือเมือง พังงา เมื่อ พ.ศ. 2352 ต่อมาใน พ.ศ. 2357 ทรงเป็นแม่กองตั้งเมืองใหม่เป็นเมืองด่านหน้าทางทะเล พระราชทานชื่อว่า นครเขื่อนขันธ์ นอกจากนั้นยังทรงปฏิสังขรณ์วัดเก่า 2 วัด คือ วัดลิงขบ พระราชทานชื่อว่าวัดบวรมงคล และวัดเสาประโคนพระราชทานชื่อว่าวัดดุสิดารามวรวิหาร และทรงสร้างวัดใหม่ชื่อว่าวัดทรงธรรม

พระราชโอรส-ธิดา

ประสูติก่อนอุปราชาภิเษก

ประสูติเมื่อเป็นพระบัณฑูรน้อย

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
  • พระองค์เจ้าหญิงงาม (พ.ศ. 2349) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาก้อนทอง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
  • พระองค์เจ้าชายเสือ (พ.ศ. 2349) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน่วม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล พยัคฆเสนา
  • พระองค์เจ้าชายใย (พ.ศ. 2350) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล รังสิเสนา
  • พระองค์เจ้าชายกระต่าย (พ.ศ. 2350) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน่วม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
  • พระองค์เจ้าชายทับทิม (พ.ศ. 2351) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
  • พระองค์เจ้าหญิงมณฑา (พ.ศ. 2352) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน่วม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
  • พระองค์เจ้าชายฤกษ์ (พ.ศ. 2352—2435) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก ผนวชเป็นสามเณรตั้งแต่รัชกาลที่ 2 ได้รับเลื่อนพระยศเป็น สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ในรัชกาลที่ 5 ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 8 ของกรุงรัตนโกสินทร์

ประสูติเมื่ออุปราชาภิเษกแล้ว

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์
  • พระองค์เจ้าชายแฝด (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทรัพย์
  • พระองค์เจ้าหญิงแฝด (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทรัพย์
  • พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2
  • พระองค์เจ้าหญิงปทุเมศ (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเยี่ยม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5
  • พระองค์เจ้าหญิงเกสร (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาปิ่น สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2
  • พระองค์เจ้าชายชุมแสง (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเล็ก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล สหาวุธ
  • พระองค์เจ้าชายสาททิพากร (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
  • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2354) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาม่วง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
  • พระองค์เจ้าหญิงนุ่ม (พ.ศ. 2354—2421) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานิ่ม
  • พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2355) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานก (ต่อมาเจ้าจอมมารดานกได้เฉลิมนามเป็น ท้าวสมศักดิ์) สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2
  • พระองค์เจ้าชายยุคันธร (พ.ศ. 2355) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเป็น กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2410 ในรัชกาลที่ 4 ว่ากรมทหารช่าง เมืองญวน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 ทรงเป็นต้นสกุล ยุคันธร
  • พระองค์เจ้าชายสีสังข์ (พ.ศ. 2356) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอี่ยม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2388 ทรงเป็นต้นสกุล สีสังข์
  • พระองค์เจ้าหญิงดวงจันทร์ (พ.ศ. 2356) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศรี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
  • พระองค์เจ้าชายรัชนิกร (พ.ศ. 2357) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพลับ (จินตหรา) สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล รัชนิกร
  • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2357) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาม่วง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
  • พระองค์เจ้าชายทัดทรง (พ.ศ. 2359) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแจ่ม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5
  • พระองค์เจ้าชายรองทรง (พ.ศ. 2359—2419) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาภู่ (อิเหนา) ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเป็น กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ เมื่อ พ.ศ. 2410 ในรัชกาลที่ 5 ทรงว่าการโรงทอง ทรงเป็นต้นสกุล รองทรง
  • พระองค์เจ้าชายสุดวอน (พ.ศ. 2360) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามี (บุษบา) สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 มีพระธิดาคือ หม่อมเจ้าหญิงบู่
  • พระองค์เจ้าหญิงสุดศาลา (พ.ศ. 2360) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาม่วง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
การทูลใต้ฝ่าละอองพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพระพุทธเจ้าข้า/เพคะ

พระอิสริยยศ

  • จุ้ย
  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์
  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์
  • กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
  • กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
  • สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์

พงศาวลี

แผนผัง

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch (1)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
 
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(2)
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(3)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
Monarch(4)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าปิ๋ว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าโสมนัส
 
Monarch(5)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
 
สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
 
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์
 
Monarch(6)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
 
สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
 
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
 
Monarch(7)
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(8)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
 
Monarch(9)
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(10)
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. ISBN 974-221-818-8
  2. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ : ประดิษฐานพระราชวงศ์
  3. ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
  4. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ : เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
  5. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ : ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
  6. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔ : ถวายพระนามพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมราชชนนี และกรมพระราชวังบวรที่สวรรคตแล้ว
  7. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 213. ISBN 978-974-417-594-6
  8. "นามสกุลคนไทย (ต้นสกุล (ต้นวงศ์), ต้นราชสกุล) - (ภ)". sites.google.com.
บรรณานุกรม


ก่อนหน้า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ถัดไป
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (เจ้าฟ้าฉิม) กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
(ราชวงศ์จักรี)

(22 กันยายน พ.ศ. 2352 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2360)
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya