Share to:

 

สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 5 เจ้าฟ้าชั้นพิเศษ
กรมหลวงนครราชสีมา
ผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ
ประสูติ12 พฤษภาคม พ.ศ. 2432
ทิวงคต9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 (35 ปี)
พระราชทานเพลิง1 กรกฎาคม พ.ศ. 2468
พระเมรุ ท้องสนามหลวง
หม่อมหม่อมแผ้ว นครราชสีมา
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

นายพลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา[1] เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 72 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

พระประวัติ

ประสูติ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 ปีฉลู เอกศก จ.ศ. 1251 ตรงกับวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2432 มีพระนามลำลองว่า "เอียดเล็ก" ชาววังออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมเอียดเล็ก"[2] ถึงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2441 จึงมีพระบรมราชโองการให้สถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางคเดชาวุธ วิสิฐวิสุทธลักษณโสภณ อุบัตรดลกาลนิยม ประถมปริวัตรรัตนโกสินทร์ศก สะตะสาธกอัษโฎดดร สถาพรมงคลสมัย นราธิปไตยบรมนารถ จุฬาลงกรณ์ราชวโรรส อดุลยยศอุกฤษฐศักดิ อุภโตปักษวิสุทธิกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร กรมขุนนครราชสีห์มา" ทรงศักดินา 40,000[3]พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินี,พระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระชนนี 7 พระองค์ คือ

  1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์
  2. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  3. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
  4. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
  5. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
  6. นายพลเรือเอก สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
  7. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชบูรณ์อินทราไชย
  8. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

การศึกษา

พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ต่อมาในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2446 ได้ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรต ประทานสรณคมน์และสิกขาบท ผนวชแล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[4]

หลังจากลาผนวช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ พร้อมกับเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลกและเจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช เมื่อ พ.ศ. 2448 ทรงศึกษาวิชาทหารเป็นระยะเวลาสั้น ๆ แล้วจึงเสด็จกลับประเทศไทยมาศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก พระองค์ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพล ยศพลตรี แล้วจึงไปดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ ยศพลเรือเอก

วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการให้เลื่อนเป็น "สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ วิสิฐวิสุทธลักษณโสภณ อุบัติดลกาลนิยม ประถมปริวัตรรัตนโกสินทรศก สตสาธกอัษโฎดดร สถาพรมงคลสมัย นราธิปตัยบรมนารถ จุฬาลงกรณราชวโรรส อดุลยยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภโตปักษวิสุทธิกษัตริย์ ขัติยราชกุมาร กรมหลวงนครราชสีมา" ทรงศักดินา 50,000[5] และดำรงตำแหน่งรัชทายาทแทนสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ที่เสด็จทิวงคตไปเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463

พระกรณียกิจ

สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา มีพระกรณียกิจที่สำคัญในกองทัพเรือ คือ ทรงดำรงตำแหน่งผู้กำกับราชการกระทรวงทหารเรือ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 ต่อจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์[6] โดยได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ พลเรือเอก เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ศกเดียวกัน[7] และทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2467[8] ทรงเปลี่ยนระเบียบการปกครองบังคับบัญชาเรือหลวงใหม่ แต่เดิมนั้นการบังคับบัญชาในเรือหลวง แบ่งออกเป็น 2 กระบวนเรือ แต่ละกระบวนเรือต่างก็เป็นอิสระแก่กัน ขึ้นตรงต่อกระทรวงทหารเรือ พระองค์ทรงเห็นว่าไม่เหมาะสม ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ไม่เป็นแบบฉบับเดียวกัน จึงให้รวมกระบวนเรือทั้งสองเป็นหนึ่งเดียว แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า กองทัพเรือ มีผู้บัญชาการกองทัพเรือเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อกระทรวงทหารเรือ ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพเรือคนแรกคือ นาวาเอก พระหาญสมุท (บุญมี พันธุมนาวิน) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2466[9]และให้แบ่งแยกกองทัพเรือออกเป็น 3 กองเรือ คือ กองเรือปืน กองเรือใช้ตอร์ปิโด และกองเรือช่วยรบ

ชีวิตส่วนพระองค์

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา อภิเษกสมรสกับแผ้ว สุทธิบูรณ์ ไม่มีพระโอรสและพระธิดา

ทิวงคต

พระองค์ประชวรด้วยพระโรคพระวักกะอักเสบ (โรคไต) เสด็จทิวงคต ณ พระตำหนักวังสวนกุหลาบ พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 (ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2468) เวลา 22.10 น. สิริพระชันษาได้ 35 ปี 273 วัน วันต่อมา เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานเชิญพระศพขึ้นประดิษฐานบนแว่นฟ้าสามชั้น ภายใต้เบญจปฎลเศวตฉัตร ประกอบพระโกศทองน้อย พระสงฆ์ 40 รูปมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเป็นประธานสดับปกรณ์ โปรดเกล้าฯ ให้มีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพารไว้ทุกข์ถวาย 100 วัน[10] และสถาปนาพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระอนุชาธิราช[11] มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง[12]

พระอิสริยยศและพระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพะยะค่ะ/เพคะ
  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ
  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา
  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา
  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
  • สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา

พลเรือเอก สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

พระยศ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกสยาม
กองทัพเรือสยาม
กองเสือป่า
ชั้นยศ พลเรือเอก
พลตรี
นายกองตรี

พระยศทหาร

  • 9 ตุลาคม พ.ศ. 2463: นายนาวาเอกพิเศษ[25]
  • นายพลเรือเอก
  • นายพลตรี

พระยศเสือป่า

  • นายกองตรี

ตำแหน่ง

สถานที่เนื่องด้วยพระนาม

พงศาวลี

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. "ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงศานุวงศ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0ก): 232. 13 ธันวาคม พ.ศ. 2468.
  2. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, พระโอรสและพระธิดาในรัชการที่ ๕ เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สกุลไทย, ฉบับที่ 2388, ปีที่ 46, ประจำวันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2543
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ในการพระราชทานพระสุพรรณบัตร เก็บถาวร 2012-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๕, ตอน ๔๒, ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๑๘๙๙, หน้า ๔๔๑
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมา ทรงผนวชเป็นสามเณร, เล่ม ๒๐, ตอน ๑๘, ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๖, หน้า ๒๒๖-๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาเลื่อนกรม พระพุททธศักราช ๒๔๕๙, เล่ม ๓๓, ตอน ๐ก, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๙, หน้า ๒๒๒-๒๒๓
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้กำกับราชการกระทรวงทหารเรือ
  7. พระราชทานยศทหาร
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือและเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ
  9. เรื่องย้ายและบรรจุนายทหาร
  10. "ข่าวทิวงคต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (ง): 4070. 15 กุมภาพันธ์ 2467. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. ราชสกุลวงศ์, หน้า 99
  12. ราชกิจจานุเบกษา,การพระเมรุท้องสนามหลวง งานที่ ๑ พระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เล่ม 42, ตอน ๐ ง, 2 สิงหาคม พ.ศ. 2468, หน้า 1293
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๔๒ หน้า ๔๔๓, ๑๕ มกราคม ๑๑๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธีมหามงคลการโสกันต์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมา, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๘๖๙, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๒๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๕๐๑, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๙
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๒๔, ๒๒ มกราคม ๑๓๑
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๑๙, ๗ มกราคม ๒๔๖๖
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๑๐, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๓๓, ๒๘ มกราคม ๒๔๖๕
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๔, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๘๗๔, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๒๐
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๙, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๓, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๕, ๒๒ มกราคม ๒๔๖๔
  25. พระราชทานสัญญาบัตรยศทหารเรือ
  26. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งและย้ายนายทหารรับราชการ
  27. คำกราบบังคมทูล ในการเปิดตึกอัษฎางค์ ที่โรงพยาบาลศิริราช(PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 45 (ง): 2471. 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471.
  28. พระราชดำรัสตอบ ในการเปิดตึกอัษฎางค์ ณ โรงพยาบาลศิริราช วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑ (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 45 (ง): 2592. 25 พฤศิจากายน พ.ศ. 2471.
บรรณานุกรม
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 99. ISBN 978-974-417-594-6
ก่อนหน้า สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ถัดไป
จอมพลเรือ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้กำกับราชการกระทรวงทหารเรือ
(1 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2466)
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ
(1 เมษายน พ.ศ. 2467 — 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467)
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
Kembali kehalaman sebelumnya