การเริ่มต้นฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในอิหร่าน
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในอิหร่าน เป็นโครงการสร้างภูมิคุ้มกันโรคซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 โดยใช้วัคซีนที่มีการผลิตขึ้นภายหลังเกิดการระบาดทั่วของโควิด-19 โครงการนี้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 โดยได้รับอนุมัติและนำเข้าวัคซีนสปุตนิกวี จากรัสเซีย ซึ่งบุตรชายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของอิหร่านเป็นผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนเป็นคนแรก[ 1] สถานการณ์การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในอิหร่านยังมีความคลุมเครือ[ 2] [ 3] [ 4]
ภูมิหลัง
ผู้ป่วยกรณีแรกของโควิด-19 ในอิหร่าน ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563[ 5] [ 6] ในขณะนั้นการวิจัยเพื่อพัฒนาวัคซีนต่อสู้กับโรคได้เริ่มขึ้นแล้วในหลายประเทศ รวมทั้งจีน เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา แต่ความเป็นไปได้ ความมีประสิทธิผล และระยะเวลาของการพัฒนาวัคซีนยังไม่ชัดเจน[ 7] [ 8] วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 สถาบันป้องกันประเทศรายงานว่ากำลัง "พยายามค้นหาแอนติบอดี และวัคซีน" ต่อไวรัสโคโรนาโดยความร่วมมือกับนักวิชาการหลายท่าน[ 9] [ 10] เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563 อธิการบดีของมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์แบฆีทอลแลฮ์ (เปอร์เซีย : دانشگاه علوم پزشکی بقیةالله ) ประกาศการเริ่มต้นการวิจัยวัคซีนและแสดงความหวังว่าวัคซีนจะผลิตได้ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี[ 11] [ 12]
แถลงการณ์ถูกจัดทำโดยเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายในอิหร่าน เกี่ยวกับการวิจัยต่อเนื่องควบคู่ไปกับประเทศอื่น ๆ ในความเป็นไปได้และการผลิตวัคซีนภายในสิ้นปี[ 13] รวมถึงการสนับสนุนหลายบริษัทในสาขานี้[ 14] และความเป็นไปได้ของการถ่ายทอดเทคโนโลยี หากประเทศอื่นประสบความสำเร็จในการผลิตวัคซีน[ 15] ได้อย่างต่อเนื่อง[ 16] ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 มีการประกาศว่าโครงการวิจัยวัคซีนในอิหร่านสามถึงสี่โครงการ มีความคืบหน้าและเข้าสู่ขั้นตอนของการทดลองทางคลินิก ในสัตว์ทดลอง [ 17]
การจัดซื้อวัคซีน
จากการตีพิมพ์ผลการวิจัยระยะสุดท้ายของวัคซีนโดยบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ตามมาด้วยวัคซีนจากบริษัทอื่น ๆ เช่น ออกซ์ฟอร์ด-แอสตราเซเนกา และได้มีการประกาศว่าวัคซีนของอิหร่านได้ผ่านเกณฑ์และเริ่มการทดสอบในมนุษย์แล้ว[ 18] [ 19]
ในเวลาเดียวกัน มีการประกาศว่าการเจรจาสำหรับการนำเข้าวัคซีนเริ่มต้นขึ้น โดยพิจารณาถึงเงื่อนไขพิเศษของการจำหน่ายวัคซีนแต่ละชนิด อิหร่านได้ลงทะเบียนรับวัคซีนสามรุ่นที่แตกต่างกันผ่านโครงการโคแวกซ์ ซึ่งรวมถึงวัคซีนของไฟเซอร์และวัคซีนของโมเดอร์นา ด้วย[ 20] เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2564 ประธานธนาคารกลางประกาศการจองซื้อวัคซีน 16 ล้าน 8 แสนโดส ผ่านตัวแทนขององค์การอนามัยโลก [ 21]
คำสั่งของแอลี ฆอเมเนอี
เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2564 ผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน แอลี ฆอเมเนอี ได้สั่งห้ามการนำเข้า "วัคซีนของสหรัฐและสหราชอาณาจักร " มายังอิหร่าน โดยกล่าวถึงกรณีของการติดเชื้อในกระแสเลือด เขาระบุว่ายอมรับการนำเข้าวัคซีนจากฝรั่งเศส แต่ไม่ได้ "มองโลกในแง่ดี" และไม่มีอุปสรรคสำหรับวัคซีนจากประเทศอื่น ๆ[ 22]
หลังจากการห้ามนำเข้าวัคซีนของสหรัฐและสหราชอาณาจักร การนำเข้าวัคซีนไฟเซอร์ 150,000 โดสโดยสมาคมเสี้ยววงเดือนแดงอิหร่าน ถูกยกเลิก[ 23] วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 การนำเข้าวัคซีนจากบริษัทของสหรัฐ, สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสที่ผลิตนอกประเทศ ได้รับการประกาศว่าไม่มีอุปสรรคในการนำเข้า
การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องโดยสื่อที่เป็นทางการ
หลังจากการประกาศห้ามนำเข้าของฆอเมเนอี สื่อในประเทศอิหร่านจำนวนหนึ่ง รวมทั้งสำนักข่าวฟาร์ส ได้เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องอย่างกว้างขวาง[ 24] เกี่ยวกับการห้ามใช้วัคซีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งของบริษัทไฟเซอร์[ 25] [ 26] [ 27] [ 28]
สปุตนิก วี
ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 อิหร่านได้ออกใบอนุญาตนำเข้าฉุกเฉิน[ 29] [ 30] และมีการนำเข้าวัคซีนสปุตนิกวีจากรัสเซีย[ 30] ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ของวัคซีนได้รับการเผยแพร่ในอีกไม่กี่วันต่อมา[ 31] ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564 กระทรวงสาธารณสุขและแพทยศาสตร์ศึกษา ได้ออกใบอนุญาตการใช้วัคซีนสปุตนิกวีในกรณีฉุกเฉินโดยยังคงรอผลการทดลองทางคลินิก[ 30] [ 32]
การออกใบอนุญาตวัคซีนของรัสเซียก่อนการตีพิมพ์ผลการทดลองทางคลินิกในระยะที่สามนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ของหลายฝ่าย รวมถึงแพทย์หญิง มีนู โมฮ์แรซ (เปอร์เซีย : مينو محرز ) ผู้อำนวยการโครงการวัคซีนโคโรนาในอิหร่าน,[ 33] [ 34] บาฮ์แรม พาร์แซอี (เปอร์เซีย : بهرام پارسایی ) หนึ่งในสมาชิกของสภาที่ปรึกษาอิสลาม ,[ 35] โฮเซย์น เอลี ชอฮ์รีออรี (เปอร์เซีย : حسینعلی شهریاری ) ประธานคณะกรรมการสาธารณสุขของสภาที่ปรึกษาอิสลามชุดที่ 11,[ 36] องค์กรของระบบการแพทย์อิหร่าน[ 37] และสมาชิกของสมัชชาใหญ่สภาการแพทย์อิหร่าน 98 คน[ 38] รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขอิหร่าน ซออีด แนแมเก (เปอร์เซีย : سعید نمکی ) ยังปกป้องการนำเข้าสปุตนิกวี โดยโต้แย้งข้อกล่าวหาว่าวัคซีน "ทรยศชาติ" และ "ประสงค์ร้าย" และตั้งข้อสังเกตว่าวัคซีนดังกล่าวถูกใช้ในรัสเซีย, อาร์เจนตินา , ฮังการี , เซอร์เบีย , เม็กซิโก , สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ , ปากีสถาน , เบลารุส , โบลิเวีย , แอลจีเรีย และ "อีกหลายประเทศ" ก่อนอิหร่าน[ 38] [ 39] [ 40]
วัคซีนออกซ์ฟอร์ด-แอสตราเซนกา
มีการจัดซื้อวัคซีนออกซ์ฟอร์ด-แอสตราเซนกา (AZD1222 ) เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[ 41] โดยได้รับการประกาศว่าเป็นวัคซีนของสวีเดน [ 42]
การทดลองวัคซีน
ตัวอย่างวัคซีน Razi Cov Pars ของสถาบันวิจัยวัคซีนและเซรุ่มรอซี
วัคซีนโรคโควิด-19 ชนิดแรกของอิหร่าน กำลังดำเนินการทดลองทางคลินิก[ 43] วัคซีนพัฒนาโดยกลุ่มบริษัทเภสัชกรรมแบแรแกต (เปอร์เซีย : گروه دارویی برکت ,Barakat Pharmaceutical Group ) และบริษัทเงินทุนแชฟอดอโรว์ {เปอร์เซีย : شرک سرمایه گذاری شفا دارو ,ShafaDarou Investment Company ) ภายใต้ชื่อ "โคแวเอร์ แบแรแกต" (เปอร์เซีย : کووایران برکت ,COVIran Barakat ) ตามข้อมูลที่เผยแพร่โดยองค์การอนามัยโลก วัคซีนนี้ผลิตด้วยเทคโนโลยีไวรัสเชื้อตาย[ 44] จากการแถลงของนายแพทย์ ฮอแมด โฮเซย์นี (เปอร์เซีย : حامد حسینی ) ผู้อำนวยการศูนย์ทดลองทางคลินิกของมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เตหะราน ในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 วัคซีนนี้ถูกฉีดเข้าไปในอาสาสมัคร 35 คนจากกลุ่มทดลอง 56 คน อาการทั่วไปของพวกเขาทั้งหมดนั้น "ดี" และไม่มี "ภาวะแทรกซ้อนที่ไม่คาดคิด" เกิดขึ้น[ 45] ตามคำกล่าวของ แฮแซน แจลีลี (เปอร์เซีย : حسن جلیلی ) หัวหน้ากลุ่มวิจัยการผลิตวัคซีนที่สำนักงานบริหารคำสั่งของอิหม่ามโคไมนี (เปอร์เซีย : ستاد اجرایی فرمان امام ,Execution of Imam Khomeini's Order ) ได้ระบุว่าวัคซีน COVIran Barakat ประสบความสำเร็จในการสร้างการป้องกันการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์แอลฟา (VOC-202012/01) ซึ่งเป็นสายพันธุ์กลายพันธุ์ที่ก่อโรคโควิด-19 ที่พบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร[ 46]
นอกจาก COVIran Barakat แล้ว สถาบันวิจัยวัคซีนและเซรุ่มรอซี (เปอร์เซีย : موسسه تحقیقات واکسن و سرمسازی رازی ,Razi Vaccine and Serum Research Institute ) กำลังทำการพัฒนาวัคซีนโดยใช้ "โปรตีนสายผสม (recombinant protein)" มีรายงานว่าเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564 วัคซีนได้รับใบอนุญาตให้ทำการทดลองทางคลินิก[ 47]
นอกจากความพยายามที่จะพัฒนาและทดสอบวัคซีน COVIran Barakat และของสถาบันรอซีแล้ว อิหร่านยังได้มีร่วมมือกับคิวบา ในการดำเนินการทดลองทางคลินิกและผลิตวัคซีน SOBERANA 02 ซึ่งเป็นวัคซีนที่มีความก้าวหน้าที่สุดในวัคซีนทดลอง 4 ชนิดของคิวบา[ 48] [ 49]
กำหนดการฉีดวัคซีน
การฉีดวัคซีนในอิหร่านได้รับความสำคัญและจะดำเนินการในหลายขั้นตอน โครงการนี้จะใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งปีนับจากเริ่มต้น ระยะที่วัคซีนจะสามารถมีให้สำหรับทุกคนในประเทศนั้นคาดว่าจะเริ่มในฤดูหนาวปี พ.ศ. 2564[ 57] คาดว่าประมาณ 60% ของประชากรอิหร่านจะได้รับการฉีดวัคซีนภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565[ 58]
ความคืบหน้าโครงการฉีดวัคซีน
ตามข้อมูลของเจ้าหน้าที่รัฐบาล ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2564 มีวัคซีนสปุตนิกวี 410,000 โดส,[ 59] วัคซีนของซิโนฟาร์ม 250,000 โดสที่ได้รับการบริจาคจากประเทศจีน ,[ 60] วัคซีน SOBERANA 02 จำนวน 100,000 โดสที่ผลิตในคิวบาเพื่อใช้ร่วมในการทดลองทางคลินิกระยะที่สาม[ 61] และวัคซีนโคแว็กซิน 125,000 โดสที่ผลิตในอินเดีย [ 62] (จากทั้งหมด 500,000 โดส) ได้ถูกนำเข้าแล้ว ส่วนในการส่งมอบวัคซีนรอบแรกโดยโครงการโคแวกซ์ ซึ่งมีขึ้นในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 (1400 ศักราชอิหร่าน ) วัคซีนของออกฟอร์ด-แอสตราเซเนกา จำนวน 3,602,400 โดสที่ผลิตโดย Strazenka ของสวีเดนจะถูกจัดส่งมายังอิหร่าน[ 63]
เมื่อต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 มีผู้ที่ได้รับวัคซีนสปุตนิกวีเข็มแรกแล้วประมาณ 10,000 คน[ 64]
อ้างอิง
↑ آغاز واکسیناسیون کرونا در ایران با تزریق به پسر وزیر بهداشت [The beginning of corona vaccination in Iran by injection to son of the Minister of Health]. Deutsche Welle (ภาษาเปอร์เซีย). 9 February 2021. สืบค้นเมื่อ 18 February 2021 .
↑ چشمانداز مبهم دستیابی به واکسن کرونا در ایران [Ambiguous prospects for obtaining the corona vaccine in Iran]. Deutsche Welle (ภาษาเปอร์เซีย). สืบค้นเมื่อ 1 March 2021 .
↑ ابهامهای برنامه واکسیناسیون کرونا در ایران [Ambiguities of Corona Vaccination Program in Iran]. Deutsche Welle (ภาษาเปอร์เซีย). สืบค้นเมื่อ 1 March 2021 .
↑ ابهام دربارهٔ نخستین محموله واکسن روسی؛ ۲۰ هزار یا ۵۰۰ هزار دوز؟ [ambiguity about the first shipment of Russian vaccine; 20,000 or 500,000 doses?]. Iran International (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-02-13. สืบค้นเมื่อ 1 March 2021 .
↑ مرگ دو نفر در اثر ویروس کرونا در قم [Two people died of coronavirus in Qom]. BBC News فارسی (ภาษาเปอร์เซีย). 2020-02-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-03-01. สืบค้นเมื่อ 2020-02-20 .
↑ Azarafza, Mehdi; Azarafza, Mohammad; Tanha, Jafar (2020-05-20). "COVID-19 Infection Forecasting based on Deep Learning in Iran" . medRxiv (ภาษาอังกฤษ): 2020.05.16.20104182. doi :10.1101/2020.05.16.20104182 .
↑ "Why a coronavirus vaccine could take way longer than a year" . National Geographic . 2020-04-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-02-18.
↑ "The timetable for a coronavirus vaccine is 18 months. Experts say that's risky" . CNN . 1 April 2020. สืบค้นเมื่อ 17 February 2021 .
↑ آغاز تحقیقات برای تولید واکسن کرونا در ایران [Initiation of research for the production of corona vaccine in Iran]. مشرق نیوز (ภาษาเปอร์เซีย). 4 February 2020. สืบค้นเมื่อ 18 February 2021 .
↑ تلاش سازمان پدافند غیرعامل کشور برای کشف پادتن کرونا/ امنیت زیستی در شرایط «سفید» است [Attempt of the country's passive defense organization to detect corona antibody / biosafety in "white" conditions]. ایلنا (ภาษาเปอร์เซีย). 4 February 2020. สืบค้นเมื่อ 18 February 2021 .
↑ تولید واکسن کرونا در بازه زمانی کمتر از یک سال [Production of corona vaccine in less than one year]. سازمان صدا و سیمای جمهوری اسلامی ایران (ภาษาเปอร์เซีย). 1 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 5 March 2020.
↑ نگاهی به تالش ایران و دیگر کشورهای جهان برای ساخت واکسن کرونا [A look at the efforts of Iran and other countries in the world to make the corona vaccine] (PDF) . اداره پژوهشهای سیاسی صدا و سیما (ภาษาเปอร์เซีย). 15 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 1 March 2021.
↑ هدفگذاری ساخت واکسن ایرانی کرونا تا پایان امسال [Targeting the development of the Iranian corona vaccine by the end of this year]. ایرنا (ภาษาเปอร์เซีย). 29 June 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 23 September 2020.
↑ حمایت از ۱۰ شرکت تولیدکننده واکسن برای ساخت واکسن کرونا [Supporting 10 vaccine companies to make Corona vaccine]. خبرگزاری مهر (ภาษาเปอร์เซีย). 24 May 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 26 May 2020.
↑ آخرین وضعیت تولید واکسن ایرانی کرونا [The latest status of Iranian corona vaccine production] (ภาษาเปอร์เซีย). 17 August 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 19 January 2021.
↑ ایران به تولید واکسن کرونا نزدیک است [Iran is close to producing Corona vaccine] (ภาษาเปอร์เซีย). 30 June 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 17 January 2021.
↑ تولید واکسن کرونا در ایران به کجا رسید؟ [Where did the production of corona vaccine reach in Iran?] (ภาษาเปอร์เซีย). 21 August 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 30 December 2020.
↑ آخرین خبرها از تولید واکسن کرونای ایرانی [The latest news about the production of Iranian corona vaccine]. 20 November 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 1 March 2021.
↑ رقابت ایران و آمریکا در تولید واکسن کرونا؛ واکسن ایرانی هم در راه است [Iran-US competition in the production of corona vaccine; The Iranian vaccine is also on the way] (ภาษาเปอร์เซีย). 10 November 2020. สืบค้นเมื่อ 18 February 2021 .
↑ سفارش خرید واکسن خارجی کرونا در کوواکس ثبت شدهاست [Order to buy foreign corona vaccine has been registered in Covax]. ایرنا (ภาษาเปอร์เซีย). 24 November 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 1 March 2021.
↑ خرید ۱۶میلیون و ۸۰۰هزار دوز واکسن کوواکس/ بانک مرکزی پول خرید واکسن کرونا را واریز کرد [Purchase of 16 million and 800 thousand doses of Covax vaccine / Central Bank deposited money to buy Corona vaccine] (ภาษาเปอร์เซีย). 5 January 2021. สืบค้นเมื่อ 18 February 2021 .
↑ رهبر معظم انقلاب: ورود واکسن آمریکایی و انگلیسی به کشور ممنوع است [Supreme Leader of the Revolution: American and British vaccines are not allowed to enter the country]. ایسنا (ภาษาเปอร์เซีย). 2021-01-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-01-10.
↑ ورود 150 هزار دوز واکسن کرونا از آمریکا توسط هلال احمر منتفی شد- اخبار تهران - اخبار اجتماعی تسنیم | Tasnim [150,000 doses of US Corona vaccine canceled by Red Crescent - Tehran News - Tasnim Social News]. خبرگزاری تسنیم (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-02-07.
↑ Stephanie Widmer (3 February 2021). "Fact-check: No link between COVID-19 vaccines and those who die after receiving them" . ABC News . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 19 February 2021.
↑ مرگ 55 نفر در آمریکا بعد از دریافت واکسنهای فایزر و مدرنا [55 people die in US after receiving Pfizer and Modern vaccines]. خبرگزاری فارس (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 17 January 2021.
↑ شمار مرگ در اثر واکسن فایزر در نروژ به 29 نفر رسید [The death toll from the Pfizer vaccine in Norway has risen to 29]. خبرگزاری فارس (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 1 March 2021.
↑ مرگ 23 نفر در نروژ بر اثر تزریق واکسن آمریکایی فایزر [23 people die in Norway from Pfizer vaccine]. خبرگزاری فارس (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 15 January 2021.
↑ سکوت رسانههای غربی در قبال مرگ و میر ناشی از واکسن فایزر [Western media silence on deaths from Pfizer vaccine]. خبرگزاری فارس (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 16 January 2021.
↑ واکسن روسی کرونا برای استفاده در ایران تأیید شد [The Russian corona vaccine has been approved for use in Iran]. ایندیپندنت فارسی (ภาษาเปอร์เซีย). 2021-01-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 31 January 2021.
↑ 30.0 30.1 30.2 واکسن اسپوتنیک روسی در ایران مجوز گرفت [Russian Sputnik vaccine licensed in Iran]. Deutsche Welle (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 31 January 2021.
↑ "Sputnik V COVID-19 vaccine candidate appears safe and effective" . The Lancet . 2 February 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 1 March 2021.
↑ واکسن روسی کرونا برای استفاده در ایران تأیید شد [The Russian corona vaccine has been approved for use in Iran]. ایندیپندنت فارسی (ภาษาเปอร์เซีย). 2021-01-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 31 January 2021.
↑ واکسن ایرانی کرونا تا 'تیر ماه آینده میرسد' [Iranian corona vaccine to arrive 'next July']. BBC News فارسی (ภาษาเปอร์เซีย). 2020-12-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 6 December 2020.
↑ واکسن روسی تزریق نمیکنم [I do not inject Russian vaccine]. روزنامه جهان صنعت (ภาษาเปอร์เซีย). 2021-01-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 5 February 2021.
↑ مناقشه بر سر واکسن روسی کرونا در آستانه ورود آن به ایران [Controversy over the Russian Corona vaccine before its arrival in Iran]. Deutsche Welle (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 31 January 2021.
↑ رئیس کمیسیون بهداشت مجلس هم واکسن روسی نمیزند [The head of the parliamentary health commission also does not get the Russian vaccine]. رادیو فردا (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 31 January 2021.
↑ سازمان نظام پزشکی ایران: از نظر ما واکسن روسی کرونا تأییدشده نیست [Iran Medical System Organization: In our opinion, the Russian corona vaccine is not approved]. رادیو فردا (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 1 February 2021.
↑ 38.0 38.1 مجمع عمومی نظام پزشکی ایران واکسن روسی را 'خطر آفرین' خواند [The General Assembly of the Iranian medical system called the Russian vaccine 'dangerous']. BBC News فارسی (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 31 January 2021.
↑ واکنش تند وزیر بهداشت به حواشی واکسن روسی | اقتصاد آنلاین [The Minister of Health reacted sharply to the margins of the Russian vaccine] (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 5 February 2021.
↑ ویدئو | حرفها دربارهٔ واکسن روسی خیانت ملی است | این چه خباثتی است؟ [Video about Russian vaccine is a national betrayal, What is this evil?]. همشهری آنلاین (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 31 January 2021.
↑ بریتانیا خرید واکسن کرونا توسط ایران را تأیید کرد؛ واکسن هندی در حال بررسی است [Britain approves purchase of Corona vaccine by Iran; Indian vaccine under review] (ภาษาเปอร์เซีย). 5 February 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 22 February 2021.
↑ ایران احتمالاً از سوئد واکسن آسترازنکا وارد میکند [Iran is likely to import the AstraZeneca vaccine from Sweden]. ایرنا (ภาษาเปอร์เซีย). 2021-01-25.
↑ کارآزمایی بالینی کُوو ایران برکت؛ نخستین واکسن ایرانی کرونا [COVIran Barakat Clinical Trial; The first Iranian corona vaccine]. ایرنا (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 26 January 2021.
↑ واکسن ایرانی کرونا چه شباهتی به واکسنهای چینی و چه تفاوتی با واکسنهای آمریکایی دارد؟ [What is the similarity between Iranian vaccines and Chinese vaccines and what is the difference between American vaccines and Corona vaccines?]. euronews (ภาษาเปอร์เซีย). 2020-12-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 13 February 2021.
↑ مرحله اول تست انسانی واکسن ایرانی کرونا از نیمه گذشت [The first stage of the human test of the Iranian corona vaccine has passed halfway]. ایرنا (ภาษาเปอร์เซีย). 2021-01-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 6 February 2021.
↑ واکسن «کوو ایران» ویروس انگلیسی را خنثی میکند [The COVIran vaccine neutralizes the British virus]. خبرگزاری مهر | اخبار ایران و جهان (ภาษาเปอร์เซีย). 2021-01-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 31 January 2021.
↑ نخستین واکسن نوترکیب ایرانی کرونا مجوز کارآزمایی بالینی گرفت [The first recombinant Iranian Corona vaccine received a clinical trial license]. ایرنا (ภาษาเปอร์เซีย). 2021-01-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 5 February 2021.
↑ Sarah Marsh (2021-01-09). "Cuba to collaborate with Iran on coronavirus vaccine" . Reuters (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 5 February 2021.
↑ "Iran, Cuba, Under U.S. Sanctions, Team Up for Covid-19 Vaccine Trials" . Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-01-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 27 January 2021.
↑ آغاز فاز دوم تست انسانی واکسن "کوو ایران برکت" از فردا/ نتایج موفقیتآمیز فاز نخست تست انسانی [The beginning of the second phase of the human test of "COVIran Barakat" vaccine from tomorrow / Successful results of the first phase of the human test]. تسنیم (ภาษาเปอร์เซีย). 13 March 2021. สืบค้นเมื่อ 13 March 2021 .
↑ فاز سوم طرح ملی واکسن ایرانی برکت در بوشهر آغاز شد [The third phase of the national project of Iranian Barakat vaccine started in Bushehr]. ایرنا (ภาษาเปอร์เซีย). 5 June 2021. สืบค้นเมื่อ 14 June 2021 .
↑ نمکی: مجوز مصرف واکسن ایرانی «کووبرکت» صادر شد [Salt: The license to use the Iranian vaccine "COVIran Barakat" was issued]. خبرگزاری فارس (ภาษาเปอร์เซีย). 14 June 2021. สืบค้นเมื่อ 14 June 2021 .
↑ واکسن کرونا رازی هفته آینده وارد فاز کارآزمایی بالینی میشود [corona vaccine Razi will enter the clinical trial phase next week]. خبرگزاری جمهوری اسلامی (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-02-16. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27 .
↑ پایان تست حیوانی یک واکسن ایرانی کرونا تا یک ماه دیگر [End of animal test of Iranian corona vaccine for another month]. ایسنا (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-02-16. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27 .
↑ واکسن "میلاد نور" مشابه "ایران برکت" است ["Milad Noor" vaccine is similar to "Iran Barakat"]. ایلنا (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-02-02. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27 .
↑ واکسن کرونای "میلاد نور" در آستانه اخذ مجوز تست انسانی ["Milad Noor" corona vaccine On the eve of obtaining a human test license]. ایسنا (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-01-28. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27 .
↑ سیر تا پیاز واکسیناسیون کرونا در «ایران» / نوبت واکسیناسیون شما چه زمانی است؟ [A to Z Corona vaccination in "Iran" / When is your vaccination time?]. خبرگزاری فارس (ภาษาเปอร์เซีย). 16 February 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 1 March 2021.
↑ واکسن وزارت دفاع در آستانه اخذ مجوز تست انسانی [Vaccine of the Ministry of Defense before obtaining a human testing license]. ایسنا . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 28 January 2021.
↑ تزریق واکسن کرونا به بیش از یکمیلیون نفر تا پایان سال [More than one million people will be vaccinated with corona by the end of the year]. تسنیم (ภาษาเปอร์เซีย). 13 March 2021.
↑ اولین محموله واکسن ساخت چین شامل ۲۵۰ هزار دُز واکسن سینوفارم وارد ایران شد [The first shipment of Chinese-made vaccine, including 250,000 doses of Sinopharm vaccine, arrived in Iran] (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-04-16. สืบค้นเมื่อ 1 March 2021 .
↑ محموله 100 هزار دوزی واکسن مشترک ایران و کوبا وارد فرودگاه امام شد [A consignment of 100,000 doses of joint Iranian-Cuban vaccine arrived at Imam Airport]. خبرگزاری فارس (ภาษาเปอร์เซีย). สืบค้นเมื่อ 2021-03-11 .
↑ 500 هزار دز واکسن هندی در راه ایران [500,000 doses of Indian vaccine on the way to Iran]. خبرگزاری فارس (ภาษาเปอร์เซีย). สืบค้นเมื่อ 2021-03-12 .
↑ "First round of allocation Astra Zeneca/Oxford vaccine" (PDF) . WHO . 2 March 2021.
↑ سخنگوی وزارت بهداشت: ۱۰ هزار نفر در کشور علیه کرونا واکسینه شدند [Spokesperson of the Ministry of Health: 10 thousand people in the country were vaccinated against corona]. خبرگزاری جمهوری اسلامی (ภาษาเปอร์เซีย). สืบค้นเมื่อ 2021-03-01 .
สถาบัน
ศูนย์ควบคุม และป้องกันโรค โรงพยาบาล และสิ่งเกี่ยวข้อง องค์กร
บุคคล
แพทย์ผู้นำ การปฏิบัติ นักวิจัย เจ้าหน้าที่ จีน อิตาลี สหราชอาณาจักร สหรัฐ
อื่น ๆ ผู้เสียชีวิต
ข้อมูล (แม่แบบ)
ทั่วโลก แอฟริกา เอเชีย ยุโรป (แผนภูมิ )อเมริกาเหนือ โอเชียเนีย อเมริกาใต้