เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่
เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (ไทยถิ่นเหนือ: ) ผู้สืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เจ้านายฝ่ายเหนือ ทายาทในเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ กับหม่อมจันทร์สม ณ เชียงใหม่ (สกุลเดิม "ชนะนนท์") เป็นพระนัดดาใน เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์สุดท้าย วัยเยาว์เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ประสูติที่คุ้มรินแก้ว (เดิมชื่อคุ้มแจ่งหัวริน) เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2478 เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย และโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ก่อนจะถูกส่งเข้าไปเรียนต่อที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ขณะที่อายุได้ 12 ปี จวบจนอายุ 16 ปี ย้ายไปศึกษาที่เมืองเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์ เป็นเวลา 3 ปี แล้วจึงย้ายมาศึกษาต่อที่ College of Aeronautical and Automobile Engineering, Chelsea กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จนกลายเป็นวิศวกรการบิน และเป็นนักบินสมัครเล่น สมรสกับ ชนิดา ณ เชียงใหม่ (สกุลเดิม "จุลละรัต")[1] ในปี พ.ศ. 2521 มีบุตร 1 คน คือ สักก์ดนัย ณ เชียงใหม่ (พ.ศ. 2521 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2553) เจ้าสักก์ดนัย ณ เชียงใหม่ ถึงแก่กรรมโดยไม่มีทายาท ปัจจุบัน เจ้าวงศ์สักก์ มีทายาทลูกหลาน (หลานลุง) คนสนิทคอยดูแล คือ เจ้าพงษ์กฤษณ์ ณ เชียงใหม่ และเจ้าพันธุ์ปิติ ณ เชียงใหม่ (ทั้งสองท่านเป็นปนัดดาในพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐที่ปัจจุบันเป็นกรรมการในมูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ, กรรมการมูลนิธิกู่เจ้านายฝ่ายเหนือและเคยถวายงานรับเสด็จรวมถึงถวายงานในพิธีบายศรีทูลพระขวัญพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบรมวงศานุวงศ์และพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ และเป็นผู้ร่วมดำเนินงานจัดทำหนังสือเทิดพระเกียรติฯ) กลับมาทำงานที่เมืองไทยหลังจากสำเร็จการศึกษาจึงกลับมาทำงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาท ในปี พ.ศ. 2502 ที่กรมช่างอากาศ กองพันอากาศ กองทัพอากาศ แต่รับราชการได้ไม่นานก็ลาออกจากราชการมาทำงานกับบริษัท International Engineering จำกัด การสืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เมื่อเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ พิราลัยในปี พ.ศ. 2532 เจ้าวงศ์สักก์ ในฐานะโอรสองค์โตจึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) สืบต่อมา[2] นับเป็นการสืบราชสกุล ณ เชียงใหม่ อย่างเป็นทางการ[3] เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ได้ร่วมกิจกรรมกับภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และประชาชนทั่วไป ในการแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างสม่ำเสมอ และกิจกรรมถวายพระเกียรติพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ[4] และเจ้านายฝ่ายเหนือ[5] ในฐานะที่เป็นผู้สืบราชสกุล ณ เชียงใหม่[6] นอกจากนั้นยังมีบทบาทในการสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะ อาทิ สนับสนุน "โครงการรณรงค์ น้อมนำพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท พระราชดำริ แนวทางทรงงานและพระราชปรัชญา ประพฤติเป็นวัตรปฏิบัติ ในโครงการบัณฑิตอุดมคติไทย" ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่[7] ปัจจุบันเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ดำรงสถานะเจ้านายฝ่ายเหนือผู้เป็นประมุขแห่งสายสกุล ณ เชียงใหม่[8] และเป็นผู้นำในการกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ อาทิ การนำคณะทายาทและประชาชนสักการะกู่เจ้านายฝ่ายเหนือ ณ วัดสวนดอก ซึ่งเป็นประเพณีในสายตระกูลที่ปฏิบัติสืบต่อจากเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ ที่ได้ริเริ่มไว้และได้จัดตั้งมูลนิธิกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ (วัดสวนดอก) ภายหลังได้รับการยกสถานะขึ้นเป็นประเพณีดำหัวกู่เจ้าหลวงของจังหวัดเชียงใหม่ถึงปัจจุบัน[9] ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561 เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ได้ส่งมอบ "ไม้เท้าหุ้มทอง" ซึ่งเป็นสมบัติที่ตกทอดมาจากเจ้าแก้วนวรัฐ[10] ให้แก่เจ้าวีระยุทธ ณ เชียงใหม่ หรือเจ้าน้อย เพื่อเก็บรักษา โดยมีเจ้านายทายาทพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐร่วมเป็นสักขีพยาน และเจ้าวงศ์สักก์ได้มอบหมายให้เจ้าวีระยุทธสานต่องานสาธารณประโยชน์ที่ดำเนินการในนามของมูลนิธนวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ และปฏิบัติหน้าที่ผู้สืบสายเจ้าผู้ครองนครในพิธีสำคัญร่วมกับทางจังหวัดสืบต่อไป[11] ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2568 เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ เป็นผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ผูกข้อพระหัตถ์ขวาและซ้ายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปในพิธีบายศรีทูลพระขวัญ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่[12] การดำเนินงานสาธารณะกุศลด้วยวิสัยทัศน์และอุตสาหะในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงจัดตั้งกองทุนเจ้าหลวงเชียงใหม่ เพื่อมอบทุนแก่นักศึกษาและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยในการศึกษาวิจัยทางประวัติศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มอบทุนการศึกษาด้านพยาบาล และมอบทุนให้คณะวิศวะกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำร่องจัดทำฝายกั้นน้ำให้กับชุมชนในภาคเหนือ และจัดทำหนังสือให้เป็นมรดกของแผ่นดิน ได้แก่ "เจ้าหลวงเชียงใหม่"[13] ปี พ.ศ. 2537 จัดทำหนังสือพระราชประวัติของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ทั้งหมด ในนาม มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ เป็นมูลนิธิจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการอนุรักษ์ฟื้นฟู และเผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมโบราณของฝ่ายเหนือ ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปกรรม วรรณกรรม ดนตรีพื้นเมือง และทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นมรดกของไทยที่ทรงคุณค่า และสืบทอดมาแต่โบราณ ซึ่งมูลนิธินี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 มีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานโดยตำแหน่ง "เจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์" ทำถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 "ขัตติยานีศรีล้านนา" ทำถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 นอกจากนี้ยังได้ดำเนินงานสาธารณกุศลในด้านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก เช่น
ภายหลังเมื่ออายุมากแล้ว การปฏิบัติภารกิจได้มอบหมายให้ทายาทคือ เจ้าพงษ์กฤษณ์ ณ เชียงใหม่ (เหลนในพลตรีเจ้าหลวงแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย) ปฏิบัติหน้าที่แทนในด้านงานสาธาณะกุศลต่าง ๆ ในสังคมเชียงใหม่ อาทิ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เจ้าพงษ์กฤษณ์ ณ เชียงใหม่ เป็นผู้แทนมอบหนังสือเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลเดช แก่อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิคเผยแพร่พระเกียรติคุณ, งานดำหัวกู่เจ้าหลวง วัดสวนดอก 17 เมษายนของทุกปี มอบหมายเป็นผู้แทนถือขันสลุงน้ำส้มป่อยในงานดำหัวกู่เจ้าหลวงวัดสวนดอกร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่, งานวันพระราชชายาเจ้าดารารัศมี 9 ธันวาคมของทุกปี มอบหมายเป็นตัวแทนวางพวงมาลาของราชตระกูลถวายรำลึก, ในเดือน พฤษภาคมปี 2563 มอบหมายเป็นผู้แทนมอบทุนทรัพย์ส่วนตัวแก่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่และโรงพยาบาล นครพิงค์ เชียงใหม่ ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 เป็นต้น ปัจจุบันเจ้าพงษ์กฤษณ์ ณ เชียงใหม่ ยังดำรงตำแหน่งรองประธานมูลนิธิกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ (วัดสวนดอก) ของทางครอบครัวที่จัดตั้งขึ้นกว่า 30 ปีในการทำนุดูแลกู่เจ้านายฝ่ายเหนือวัดสวนดอก ซึ่งทั้งหมดนี้น่าจะเป็นนัยยะสำคัญของการมอบหมายให้เป็นผู้สืบสานภารกิจในทายาทสายตรงเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สืบต่อไปในอนาคต เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ราชตระกูล
อ้างอิง
|