Share to:

 

มังกร พรหมโยธี

มังกร พรหมโยธี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
19 สิงหาคม 2484 – 15 ธันวาคม 2484
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าแปลก พิบูลสงคราม
ถัดไปแปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
10 มีนาคม 2485 – 1 สิงหาคม 2487
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าช่วง เชวงศักดิ์สงคราม
ถัดไปบุง ศุภชลาศัย
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน 2492 – 29 พฤศจิกายน 2494
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าแปลก พิบูลสงคราม
ถัดไปบัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
8 เมษายน 2491 – 25 มิถุนายน 2492
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ถัดไปสวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน 2494 – 26 กุมภาพันธ์ 2500
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าเลียง ไชยกาล
ถัดไปมุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
13 เมษายน 2482 – 19 สิงหาคม 2484
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ถัดไปหลวงเสรีเริงฤทธิ์
ดำรงตำแหน่ง
15 ธันวาคม 2484 – 7 มีนาคม 2485
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าหลวงเสรีเริงฤทธิ์
ถัดไปพิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
16 ธันวาคม 2481 – 7 มีนาคม 2485
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439
เมืองธนบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต24 มีนาคม พ.ศ. 2509 (69 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองพรรคเสรีมนังคศิลา
คู่สมรสคุณหญิงทองเจือ พรหมโยธี
หม่อมเจ้าบรรเจิดวรรณวรางค์ วรวรรณ
บุตร8 คน
บุพการี
  • หมื่นสาธิตพิทักษ์ (เทียน ผลโยธิน) (บิดา)
  • อุ่น ผลโยธิน (มารดา)
ลายมือชื่อ

พลเอก มังกร พรหมโยธี ม.ป.ช. ม.ว.ม. ท.จ.ว. หรือ หลวงพรหมโยธี (นามเดิม มังกร ผลโยธิน; 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2509) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และอดีตรัฐมนตรี

ประวัติ

มังกร ผลโยธิน เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 ณ บ้านบางขุนเทียน ตำบลบางขุนเทียน อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรหมื่นสาธิตพิทักษ์ (เทียน ผลโยธิน) และนางอุ่น ผลโยธิน มีพี่น้องร่วมบิดามารดาคือ เพ็ชร, หอม และพู ผลโยธิน[1]

พลเอก มังกร พรหมโยธี เริ่มศึกษาที่โรงเรียนวัดอรุณราชวราราม แล้วไปศึกษาต่อที่โรงเรียนทวีธาภิเศกจนจบชั้นมัธยมปีที่ 6 แล้วย้ายมาศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยจนจบชั้นมัธยมบริบูรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2455 ได้สมัครเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก ณ โรงเรียนนายร้อยทหารบก (ปัจจุบันคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ออกมารับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตร[1]

การทำงาน

หลวงพรหมโยธีขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีประสาทปริญญาบัตรของวิทยาลัยวิชาการศึกษา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)

มังกร ผลโยธินเริ่มรับราชการในกองทัพบกตั้งแต่ยศร้อยตรี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ หลวงพรหมโยธี[2] ในปีพ.ศ. 2471 และเจริญก้าวหน้าจนถึงพลเอก มีตำแหน่งสูงสุดคือ รองผู้บัญชาการทหารบก ในกองทัพบก รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในกองบัญชาการทหารสูงสุด

พลเอก มังกร พรหมโยธี รับตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2481 เป็นรัฐมนตรีไม่ประจำกระทรวง[3] ต่อมาได้ย้ายไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[4] และย้ายไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย หลวงพรหมโยธินในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยกลับไปใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลได้ว่า มังกร พรหมโยธี เมื่อ พ.ศ. 2484[5]

ต่อมาย้ายกลับมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมอีกครั้ง พ.ศ. 2485 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พ้นจากตำแหน่งไปเมื่อ พ.ศ. 2487[6]

ต่อมาในพ.ศ. 2491 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ย้ายมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกครั้งใน พ.ศ. 2492[7] เมื่อพ.ศ. 2494 ย้ายกลับไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[8] และพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อ พ.ศ. 2500

นอกจากนี้ พลเอก มังกร พรหมโยธี ยังเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในชุดที่ 8[9] สมาชิกวุฒิสภาในชุดที่ 1[10] และชุดที่ 2[11]

ครอบครัว

พลเอกมังกร พรหมโยธี สมรสกับคุณหญิงทองเจือ พรหมโยธี (สกุลเดิม ศุภชลัสถ์) เมื่อ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2462 มีบุตรธิดา คือ[1]

  1. พันเอก กำจร พรหมโยธี
  2. นงโภช พรหมโยธี
  3. ทินกร โปษยานนท์
  4. มณฑา พรหมโยธี
  5. เกียรติกร พรหมโยธี
  6. ร้อยเอก เจตกมล พรหมโยธี

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2485 พลเอกมังกร พรหมโยธี ได้มีบุตรชายอีก 2 คน ซึ่งเกิดจากหม่อมเจ้าบรรเจิดวรรณวรางค์ วรวรรณ ซึ่งเป็นอนุภรรยา[12] คือ[1]

  1. กำจรเดช พรหมโยธี
  2. เจตกำจร พรหมโยธี

พลเอกมังกร พรหมโยธี ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2509 ณ โรงพยาบาลโรงงานยาสูบ (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลสวนเบญจกิติเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา) พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2509

เกียรติยศ

มังกร พรหมโยธี
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย
ชั้นยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก

บรรดาศักดิ์

  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2471: หลวงพรหมโยธี[2]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2484: ลาออกจากบรรดาศักดิ์[13]

ยศทหาร

  • 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 เป็น ว่าที่ร้อยตรี
  • 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 เป็น ร้อยตรี
  • 24 เมษายน พ.ศ. 2463 เป็น ร้อยโท
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 เป็น ร้อยเอก
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2476 เป็น พันตรี
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2477 เป็น พันโท
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2481 เป็น พันเอก
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2482 เป็น นาวาเอก, นาวาอากาศเอก
  • 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 เป็น พลตรี, พลเรือตรี, พลอากาศตรี
  • 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 เป็น พลโท[14]
  • 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 เป็น พลเรือโท, พลอากาศโท[15]
  • 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 เป็น พลเอก[16]
  • 16 เมษายน พ.ศ. 2495 เป็น พลเรือเอก, พลอากาศเอก[17]

เครื่องอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

สถานที่อันเนื่องด้วยนาม

  • อำเภอพรหมโยธี (ปัจจุบันคืออำเภอสังแก ประเทศกัมพูชา)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "พลเอกมังกร พรหมโยธี". จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานบรรดาศักดิ์ เล่ม 45 หน้า 580
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 25 ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และกระทรวงการคลัง (นายพันเอก หลวงพรหมโยธี และหลวงนฤเบศร์มานิต)
  5. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์ เก็บถาวร 2014-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 10 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-11. สืบค้นเมื่อ 2015-05-04.
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  8. ประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรีชั่วคราว (รัฐบาลชั่วคราว ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
  9. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  10. วุฒิสภา ชุดที่ ๑ (สมาชิกพฤฒสภา พ.ศ. ๒๔๘๙)[ลิงก์เสีย]
  11. "วุฒิสภา ชุดที่ ๒ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๔๘๙)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-05-04.
  12. ชานันท์ ยอดหงษ์. หลังบ้านคณะราษฎร : ความรัก ปฏิวัติ และการต่อสู้ของผู้หญิง. กรุงเทพฯ : มติชน, 2566, หน้า 41
  13. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์ เก็บถาวร 2014-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 58 หน้า 4525. วันที่ 6 ธันวาคม 2484
  14. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  15. "พระราชทานยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-30. สืบค้นเมื่อ 2018-07-30.
  16. พระราชทานยศทหาร
  17. "พระราชทานยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-10. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๒๙๒๐, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๔ ง หน้า ๑๙๖, ๑๕ มกราคม ๒๔๙๕
  20. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิและเครื่องหมายเปลวระเบิด สำหรับผู้กระทำความชอบได้รับบาดเจ็บ, เล่ม ๕๘ ง, ๑๕ เมษายน ๒๔๘๔, หน้า ๘๑๐
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๔ ง หน้า ๘๔, ๑๑ มกราคม ๒๔๘๗
  22. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๓๘, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๒๕๘๙, ๑๗ สิงหาคม ๒๔๘๖
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๖๓ ง หน้า ๒๐๕๓, ๒๓ สิงหาคม ๒๔๙๘
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๑๕, ๒๓ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๐, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
  27. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๑๖๕๕, ๗ เมษายน ๒๔๙๖
  28. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๒๔, ๑๗ กันยายน ๒๔๘๓
  29. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๑๔, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๓
  30. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๔๐, ๕ สิงหาคม ๒๔๘๔
  31. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๓๓๙๒, ๑๕ กันยายน ๒๔๙๖
  32. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 73 ตอนที่ 3 หน้า 134, 10 มกราคม 2499
Kembali kehalaman sebelumnya