กฤษณ์ สีวะรา
พลเอก กฤษณ์ สีวะรา (25 มีนาคม พ.ศ. 2457 - 23 เมษายน พ.ศ. 2519) เป็นนายทหารชาวไทย และนักการเมือง อดีตผู้บัญชาการทหารบก อดีตแม่ทัพภาคที่ 1 รัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตเลขาธิการคณะปฏิวัติผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ 14 ตุลา ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความสงบ[2] ภายหลังการลาออกจากทุกตำแหน่งและ เดินทางออกนอกประเทศของ 3 ทรราช และอดีตราชองค์รักษ์พิเศษ ประวัติชีวิตส่วนตัวพล.อ. กฤษณ์ ชื่อเกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2457 เป็นบุตรชาย คนที่ 2 จากจำนวน 9 คน ของ ร.ต. ชิต และนางละมุล สีวะรา เดิมที พล.อ. กฤษณ์ เคยเปลี่ยน 4 ครั้ง คือ[3]
พล.อ. กฤษณ์ เคยสมรสกับนางสวาท สีวะรา หลังจบสงครามมหาเอเชียบูรพา กฤษณ์ก็แยกทางกัน ต่อมาก็สมรสกับคุณหญิงสุหร่าย สีวะรา (สกุลเดิม ลิ้มเจริญ) มีบุตรธิดา 9 คน การศึกษา[4]จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย) และโรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นในปี พ.ศ. 2474 ได้เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยทหารบกด้วยการสอบได้เป็นที่ 1 จบการศึกษาในปี พ.ศ. 2479 และได้รับพระราชทานยศร้อยตรีเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 ก่อนรับราชการ
หลังรับราชการ
การทำงานจากนั้นชีวิตราชการของ พล.อ. กฤษณ์ สีวะราเติบโตขึ้นมาเป็นลำดับในกองทัพภาคที่ 1 (และเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 ด้วยในช่วงหนึ่ง) จนกระทั่งได้เป็นแม่ทัพภาคในปี พ.ศ. 2506 [6] และขึ้นเป็นรองผู้บัญชาการทหารบกในปี พ.ศ. 2509 [7] จากนั้นในรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจรได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[8] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามลำดับและเป็นสมาชิกวุฒิสภาอีกตำแหน่งด้วย ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ผบ.ทบ. ต่อจากจอมพล ประภาส จารุเสถียร ที่ดำรงตำแหน่งรอง ผบ.ทสส. เพียงตำแหน่งเดียว [9] พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา เป็นบุคคลแรกในกองทัพที่ปฏิเสธไม่รับตำแหน่งจอมพลจนถือเป็นประเพณีปฏิบัติตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาเป็นต้นมาไม่มีการแต่งตั้งนายทหารยศจอมพลในประเทศไทยอีกโดยพล.อ.กฤษณ์ขอรับพระราชทานแค่ยศ พลเรือเอก และ พลอากาศเอก พร้อมกับ พล.อ. สุรกิจ มัยลาภ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2516 [10] หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา พล.อ. กฤษณ์ ได้เป็นรักษาการผบ.ทสส. จนกระทั่งเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2518 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2519[11] แต่หลังจากรับตำแหน่งได้ไม่นาน ก็ถึงแก่อนิจกรรมอย่างกะทันหันที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2519 โดยสาเหตุการถึงแก่อนิจกรรมยังคงเป็นที่สงสัย เพราะก่อนหน้านั้น พล.อ. กฤษณ์ ได้เล่นกอล์ฟและรับประทานข้าวเหนียวมะม่วงเพียงเท่านั้น พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา มีผลงานสำคัญในขณะดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2, ผบ.ทบ. และรักษาราชการ ผบ.ทสส. ได้พยายามมอบนโยบายแก่ผู้บังคับบัญชาของกองทัพภาคที่ 2 เพื่อหาทางวางกำลังทหารที่จังหวัดสกลนคร ทำให้มีหน่วยทหารเข้ามาตั้งในพื้นที่เพื่อทำการปราบปรามผู้ก่อการร้ายจนเป็นที่ยำเกรงของอริราชศัตรู ทำให้ประชาชนได้รับความอบอุ่นโดยทั่วกัน กองทัพบกจึงได้อนุมัติให้ตั้งชื่อค่ายกองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 3 (ร.3. พัน.1) จ.สกลนคร ว่า "ค่ายกฤษณ์สีวะรา" เพื่อเป็นอนุสรณ์ เหตุการณ์ทางการเมืองเหตุการณ์ 14 ตุลาพ.อ. ณรงค์ กิตติขจร กล่าวในปี พ.ศ. 2546 ว่า พล.อ. กฤษณ์ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่นิสิต นักศึกษา และประชาชนในการชุมนุม แต่ก็เป็นการชี้แจงหลังเกิดเหตุมาเกือบ 30 ปี และเป็นการชี้แจงเพียงฝ่ายเดียวโดยที่ฝ่ายครอบครัวของทาง พล.อ. กฤษณ์ มิได้มีโอกาสชี้แจงกลับ คำกล่าวของ พ.อ. ณรงค์ ขัดแย้งกับ นายโอสถ โกศิน อดีตรัฐมนตรีที่ใกล้ชิดกับ พล.อ. กฤษณ์ ซึ่งระบุว่า พล.อ. กฤษณ์ เป็นบุคคลสำคัญที่ไม่ยอมให้มีการปฏิบัติการขั้นรุนแรงแก่นักศึกษา อย่างไรก็ตามเขาเป็น ผู้อำนวยการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ในช่วงที่ 3 ทรราช ลี้ภัยไปต่างประเทศ โดยข้อเท็จจริงภายหลังเขาควบคุมสถานการณ์เหตุการณ์ก็เริ่มคลี่คลายลง เหตุการณ์ 6 ตุลาแม้ว่า พล.อ. กฤษณ์ จะเสียชีวิตไปก่อนเหตุการณ์ดังกล่าว แต่มีการวิเคราะห์ว่าการเสียชีวิตอย่ามีเงื่อนงำของ พล.อ. กฤษณ์ เป็นหนึ่งในชนวนเหตุที่ทำให้เกิดการปราบปรามนักศึกษาและประชาชนจนเป็นเหตุการณ์นองเลือดในเหตุการณ์ 6 ตุลา เพราะเปิดโอกาสให้ทหารฝ่ายขวาได้ครองอำนาจในกองทัพ การเสียชีวิตพล.อ. กฤษณ์เสียชีวิต เพราะ“ข้าวเหนียวมะม่วง” ขณะนั้นเป็นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลผสม ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่มี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี “…การเจ็บป่วยด้วยโรคท้องเฟ้อ อันสืบเนื่องมาแต่การรับประทานข้าวเหนียว มะม่วง จนถึงขั้นเกิดโรคแทรกซ้อนเป็นโรคหัวใจขาดเลือด การเข้าโรงพยาบาลพระมงกุฏ ฯ อย่างกระทันหัน เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2519 การตรวจวินิจฉัยโรคโดยนายแพทย์แห่งโรงพยาบาลดังกล่าว และแถลงว่าอาการ ป่วยดีขึ้นเป็นลำดับ แต่แล้วก็ทรุดหนักลงในเวลาเพียง 6 - 7 วัน และถึงแก่อนิจกรรม เช้ามืดวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2519 เป็นเรื่องที่น่าคิดว่าเหตุไฉน……” [12] ค่ายกฤษณ์สีวะราเนื่องจาก พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา ซึ่งก่อนถึงแก่อสัญกรรม เคยดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2 เป็นผู้มองการณ์ไกลในการป้องกันประเทศ และได้พิจารณาเห็นว่า จ.สกลนคร เป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ จึงได้มอบหมายให้แก่ผู้บังคับบัญชา ในกองทัพภาคที่ 2 หาแนวทางในการวางกำลังทหาร ในพื้นที่เพื่อทำการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ จนทำให้ประชาชนได้รับความอบอุ่นนับได้ว่า พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา เป็นนักการทหารที่มีสายตากว้างไกล สามารถคาดการณ์ได้ถูกต้องแม่นยำ ในขณะที่ พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา ดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. ได้กรุณาให้การสนับสนุนการก่อสร้าง และจัดตั้งหน่วย จังหวัดทหารบกอุดร (ส่วนแยกที่ 1 สกลนคร) และกองพันทหารราบที่ 1 กรมผสมที่ 3 ในขณะนั้นอย่างดียิ่ง จนค่ายทหารแห่งนี้ สามารถจัดตั้งเป็นปึกแผ่น เป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศ และเป็นที่ยำเกรงของอริราชศัตรู ในทางการเมือง พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา เคยดำรงตำแหน่งในระดับสูงของรัฐบาลมาแล้วหลายยุคหลายสมัยในด้านความสามารถและความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับแก่ประชาชนทั่วไป ตลอดทั้งพี่น้องชาวจ.สกลนครเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา ซึ่งได้ถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว และเพื่อเป็นมิ่งขวัญ เป็นความภาคภูมิใจแก่เหล่าทหาร ที่ปฏิบัติภารกิจอยู่ ณ จ.สกลนคร กองทัพภาคที่ 2 จึงได้ขอพระราชทานนามค่ายนี้ว่า "ค่ายกฤษณ์สีวะรา" และเมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด ฯ พระราชทานนามว่า "ค่ายกฤษณ์สีวะรา" เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 เครื่องราชอิสริยาภรณ์พลเอก กฤษณ์ สีวะรา ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศต่างๆ ดังนี้ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|