Share to:

 

กวนอิม

กวนอิม
สันสกฤตअवलोकितेश्वर
(Avalokiteśvara, อวโลกิเตศวร)
พม่าလောကနတ် (lɔ́ka̰ naʔ)
လောကနာထ (lɔ́ka̰nətʰa̰)
ကွမ်ရင် (kwàɴ jɪ̀ɴ)
จีนชื่อเต็ม
จีนตัวย่อ: 观世音菩萨 หรือ 观世音; จีนตัวเต็ม: 觀世音菩薩 หรือ 觀世音; พินอิน: Guānshìyīn púsà หรือ Guānshìyīn
ภาษาจีนมาตรฐาน: กฺวันชื่อยินผูซ่า หรือ กฺวันชื่อยิน
สำเนียงแต้จิ๋ว: กวงสี่อิมผ่อสัก[1] หรือ กวงสี่อิม[2]
ชื่อย่อ
จีนตัวย่อ: 观音; จีนตัวเต็ม: 觀音; พินอิน: Guānyīn
ภาษาจีนมาตรฐาน: กฺวันยิน
สำเนียงแต้จิ๋ว: กวงอิม
ชื่ออื่น
จีนตัวย่อ: 观自在; จีนตัวเต็ม: 觀自在; พินอิน: Guānzìzài
ภาษาจีนมาตรฐาน: กฺวันจื้อไจ้
สำเนียงแต้จิ๋ว: กวงจือไจ้[ต้องการอ้างอิง]
ญี่ปุ่น観世音菩薩かんぜおんぼさつ (คังเซะองโบซัตสึ)
観音菩薩かんのんぼさつ (คันนงโบซัตสึ)
เกาหลี관세음보살 (gwanseeum bosal)
관세음 (Gwan-se-eum)
관음 (Gwan-eum)
มองโกเลียЖанрайсиг, Нүдээр Үзэгч
ᠨᠢᠳᠦ ᠪᠡᠷ ᠦᠵᠡᠭᠴᠢ
ไทยพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
พระแม่กวนอิม
ทิเบตསྤྱན་རས་གཟིགས་
spyan ras gzigs; chenrezig
เวียดนามQuán Thế Âm, Quan Âm
ข้อมูล
นับถือในมหายาน, วัชรยาน, เถรวาท (ส่วนมากพบในชาวไทย)
พระลักษณะมหากรุณา
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา
กวนอิม
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม觀音
อักษรจีนตัวย่อ观音
ชื่อเต็มภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม觀世音
อักษรจีนตัวย่อ观世音
ความหมายตามตัวอักษร"[The One Who] Perceives the Sounds of the World"
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ (2)
อักษรจีนตัวเต็ม觀自在
อักษรจีนตัวย่อ观自在
ความหมายตามตัวอักษร"Lord who Gazes down on the World (Avalokiteśvara)"
ชื่อภาษาพม่า
ภาษาพม่าကွမ်ယင်မယ်တော်
IPA[kwàɴ jɪ̀ɴ]
ชื่อภาษาทิเบต
อักษรทิเบต སྤྱན་རས་གཟིགས
ชื่อภาษาเวียดนาม
ภาษาเวียดนามQuan Âm, Quán Thế Âm, Quán Tự Tại
ฮ้าน-โนม觀音, 觀世音, 觀自在
ชื่อภาษาไทย
อักษรไทยกวนอิม, พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
อักษรโรมันKuan Im, Phra Avalokitesuan Phothisat
ชื่อภาษาเกาหลี
ฮันกึล
관음, 관세음, 관자재
ฮันจา
觀音, 觀世音, 觀自在
ชื่อภาษามองโกเลีย
อักษรมองโกเลีย ᠨᠢᠳᠦ ᠪᠡᠷ
ᠦᠵᠡᠭᠴᠢ
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ観音, 観世音, 観自在
ฮิรางานะかんのん, かんぜおん, かんじざい
การถอดเสียง
โรมาจิKannon, Kanzeon, Kanjizai
ชื่ออินโดนีเซีย
อินโดนีเซียKwan Im, Kwan She Im, Awalokiteswara
ชื่อสันสกฤต
สันสกฤต𑀅𑀯𑀮𑁄𑀓𑀺𑀢𑁂𑀰𑁆𑀯𑀭
अवलोकितेश्वर
Avalokiteśvara
ชื่อเขมร
เขมรអវលោកិតេស្វរៈ, អវលោកេស្វរៈ, លោកេស្វរៈ
(Avalokitesvarak, Avalokesvarak, Lokesvarak)
ชื่อHmong
HmongKabyeeb, Niam-Txiv Kabyeeb, Dabpog, Niam-Txiv Dabpog

กวนอิม ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กฺวันยิน ตามภาษาจีนกลาง (จีนตัวย่อ: 观音; จีนตัวเต็ม: 觀音; พินอิน: Guān Yīn) เป็นพระโพธิสัตว์ในตามคติมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในประเทศอินเดีย และได้ผสมผสานกับตำนานเรื่องเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ของศาสนาพื้นบ้านจีนจนก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ ชาร์ล เอลเลียต (Sir Charles Elliot) ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน เมื่อคติพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียง คงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์"

พระโพธิสัตว์กวนอิมในตำนานฝ่ายจีน

พระโพธิสัตว์กวนอิม (ประสูติ 19 เดือนยี่จีน) เดิมเป็นเทพธิดาซึ่งต้องการช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยแก่มวลมนุษย์ ในชาติสุดท้ายจึงจุติลงมายังโลกมนุษย์นาม เจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน เป็นพระราชธิดาองค์เล็กของกษัตริย์แห่งอาณาจักรซิงหลิง พระนามว่า พระเจ้าเมี่ยวจวง กับพระนางเซี่ยวหลิน (พระนางเป๋าเต๋อ) มีพระพี่นาง 2 พระองค์ คือ เจ้าหญิงเมี่ยวอิม และเจ้าหญิงเมี่ยวหยวน

ในเยาว์วัย เจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ทรงเป็นพุทธมามกะ รู้แจ้งในหลักธรรมลึกซึ้ง ตั้งพระทัยแน่วแน่จะบำเพ็ญภาวนา เพื่อหลุดพ้นสังสารวัฏ ทรงออกบวชวันที่ 19 เดือน 9 พระเจ้าเมี่ยวจวงไม่เห็นด้วย จึงบังคับให้เลือกราชบุตรเขย เพื่อจะได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อไป แต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไม่สนพระทัยเรื่องลาภ ยศ สรรเสริญ อันจอมปลอม แม้จะถูกพระบิดาดุด่าอย่างไร พระองค์ก็ไม่เคยนึกโกรธเคืองแต่อย่างใด

ต่อมาเจ้าหญิงเมี่ยวซานได้ถูกขับไปทำงานหนักในสวนดอกไม้ เช่น หาบน้ำ ปลูกดอกไม้ ทั้งนี้เพื่อทรมานให้เปลี่ยนความตั้งใจ แต่ก็มีเหล่ารุกขเทวดามาช่วยทำแทนให้ทั้งหมด เมื่อพระเจ้าเมี่ยวจวงเห็นว่าไม่ได้ผล จึงรับสั่งให้หัวหน้าแม่ชี นำเจ้าหญิงเมี่ยวซาน ไปอยู่ที่วัดนกยูงขาว และให้เอางานของแม่ชีทั้งวัดมอบให้เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านทำพระองค์เดียว แต่พระองค์มีพระทัยเด็ดเดี่ยว ไม่เกี่ยงงานการต่างๆ ก็มีเหล่าเทพารักษ์มาช่วยทำแทนให้อีก พระเจ้าเมี่ยวจวงเข้าพระทัยว่า พวกแม่ชีไม่กล้าเคี่ยวเข็ญใช้งานหนัก ก็ยิ่งทรงกริ้วหนักขึ้น สั่งให้ทหารเผาวัดนกยูงขาวจนวอดเป็นจุณไป พร้อมกับพวกแม่ชีทั้งวัด มีแต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านเท่านั้นที่ปลอดภัยรอดชีวิตมาได้

พระเจ้าเมี่ยวจวงทรงทราบดังนั้น จึงรับสั่งให้นำตัวเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไปประหารชีวิต เทพารักษ์คอยคุ้มครองเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านอยู่ โดยเนรมิตทองทิพย์เป็นเกราะห่อหุ้มตัว คมดาบของนายทหารจึงไม่อาจระคายพระวรกาย ดาบหักถึง 3 ครั้ง 3 ครา พระเจ้าเมี่ยวจวงทรงกริ้วยิ่งนัก โดยเข้าพระทัยว่านายทหารไม่กล้าประหารจริง จึงให้ประหารนายทหารแทน แล้วรับสั่งให้จับเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไปแขวนคอ ทว่าผ้าแพรที่แขวนคอก็ขาดสะบั้นลงอีก ทันใดนั้นปรากฏมีเสือเทวดาตัวหนึ่งได้นำเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านขึ้นพาดหลังแล้วเผ่นหนีไปที่เขาเซียงซัน ต่อมา เทพไท่ไป๋ได้แปลงร่างเป็นชายชรามาโปรดเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ชี้แนะเคล็ดวิธีการบำเพ็ญเพียรเครื่องดับทุกข์ จนสามารถบรรลุมรรคผลสำเร็จธรรม วันที่ 19 เดือน 6 ข้างฝ่ายพระเจ้าเมี่ยวจวงเข้าพระทัยว่า เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านถูกเสือคาบไปกินเสียแล้ว จึงไม่ได้ติดใจตามราวีอีก

ต่อมาไม่นานบาปกรรมที่พระองค์ก่อไว้ส่งผล เกิดป่วยด้วยโรคร้ายแรง ไม่มียารักษาให้หายได้ เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านได้ทรงทราบด้วยญาณวิถีว่า พระเจ้าเมี่ยวจวงกำลังประสบเคราะห์กรรมอย่างหนัก ด้วยความกตัญญูกตเวทีเป็นเลิศ มิได้ถือโทษโกรธการกระทำพระบิดาแม้แต่น้อย ทรงได้สละดวงตาและแขนสองข้าง เพื่อรักษาพระบิดาจนหายจากโรคร้าย ว่ากันว่า ภายหลังสำเร็จอรหันต์ ได้ดวงตาและพระกรคืน เคยแสดงปาฏิหาริย์เป็นปางกวนอิมพันมือ เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านนั้น ตอนแรกเป็นชาวพุทธ ตอนหลังเทพไท่ไป๋ได้มาโปรด ชี้แนะหนทางดับทุกข์ เหตุนี้พระโพธิสัตว์กวนอิมจึงเป็นเทพทั้งฝ่ายพุทธและฝ่ายเต๋าในเวลาเดียวกัน

พระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคบุรุษเพศ

ส่วนหนึ่งของภาพวาดพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (กวนอิม) ในถ้ำมั่วเกา ซึ่งแสดงภาพพระโพธิสัตว์ในลักษณะเพศชาย มีริมฝีปากหนาและมีหนวดเครา
พระโพธิสัตว์กวนอิม วัดยานนาวา กรุงเทพฯ

สำหรับรูปประติมากรรมพระแม่กวนอิมในลักษณะของเพศหญิงที่เป็นที่นับถือกันในปัจจุบันนั้น แท้จริงแล้ว เมื่อครั้งศาสนาพุทธแรกเผยแผ่จากอินเดียสู่จีนนั้น รูปลักษณ์ของพระอวโลกิเตศวร(พระโพธิสัตว์กวนอิม)ก็เป็นภาพของพระโพธิสัตว์เพศชายเช่นเดียวกับในอินเดีย สันนิษฐานว่า คติเกี่ยวกับรูปเคารพพระโพธิสัตว์กวนอิม น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยสามก๊กและราชวงค์จิ้น จนกระทั่งถึงสมัยหนานเป่ยเฉา หลักฐานสำคัญก็คือ รูปวาดจิตรกรรมฝาผนังและรูปปฏิมากรรมแกะสลักพระโพธิสัตว์กวนอิมที่ปรากฏอยู่ในถ้ำม่อเกา (莫高; โม่เกา ตามภาษาจีนกลาง) ที่สร้างขึ้นในช่วงหนานเป่ยเฉานั้น เป็นภาพของพระอวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์กวนอิม) ที่มีลักษณะแบบเพศชาย มีริมฝีปากหนาและมีหนวดเครา ส่วนเหตุผลของความเปลี่ยนแปลงจากบุคลิกลักษณะของพระอวโลกิเตศวรที่เดิมเป็นเพศชายจนแปรเปลี่ยนเป็นเพศหญิงนั้น นักประติมานวิทยา สันนิษฐานว่า น่าจะมาจากเหตุผล 2 ประการ

ประการแรก นั้นคือ พระโพธิสัตว์กวนอิมเป็นผู้ทรงโปรดสัตว์โลก ผู้ตกทุกข์ได้ยาก และในสมัยโบราณนั้น ผู้หญิงมักได้รับการกดขี่ข่มเหงและทุกข์ทรมานมากกว่าเพศชาย จึงเกิดภาพลักษณ์ในด้านที่เป็นเพศหญิง เพื่อช่วยเหลือสตรีให้หลุดพ้นจากบ่วงกรรม

ประการที่สอง นั้นคือ ผู้หญิงเป็นเพศที่มีความอ่อนโยนและมีจิตใจที่ดีงามกว่าเพศชาย โดยเฉพาะความรักของผู้เป็นมารดา อันเป็นสัญลักษณ์ของความเมตตาการุณย์ต่อบุตร

ดังนั้น จึงเชื่อกันว่า นี้คือเหตุเปลี่ยนแปลงของภาพแห่งลักษณะพระโพธิสัตว์กวนอิมที่แปรเปลี่ยนรูปลักษณ์เป็นเพศหญิงในที่สุด

ในด้านศิลปกรรมจีน ได้สะท้อนสัญลักษณ์ของพระโพธิสัตว์กวนอิมที่แสดงถึงความเมตตากรุณา อาทิ ภาพพระแม่กวนอิมยืนประทับบนหลังมังกรกลางมหาสมุทร, ภาพพระแม่กวนอิมพรมน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์จากกิ่งหลิวในแจกัน, ภาพพระแม่กวนอิมประทับนั่งกลางป่าไผ่, ภาพพระแม่กวนอิมปางประทานบุตร และภาพพระแม่กวนอิมพันมือ เป็นต้น

แต่ไม่ว่าจะแสดงภาพแห่งพระแม่กวนอิมในลักษณะใด พระองค์ก็ยังทรงเป็นสัญลักษณ์ของพระโพธิสัตว์ผู้เปี่ยมด้วยเมตตากรุณา ที่ประทับอยู่กลางใจของผู้ศรัทธาจนถึงปัจจุบัน

ความเชื่อ

องค์หนานไห่กวนอิม (南海观音)

ความเชื่อที่มีความเกี่ยวข้องกับพระโพธิสัตว์กวนอิมมีหลากหลายความเชื่อด้วยกัน เช่น

ในไซอิ๋ว

ชาวจีนเชื่อว่า พระโพธิสัตว์กวนอิมยังมีบทบาทในวรรณกรรมเรื่องไซอิ๋ว โดยเริ่มแรกทีเดียวซุนหงอคงไม่เชื่อฟังพระถังซำจั๋ง พระแม่กวนอิมจึงประทานเชือกประหลาดและมาบอกพระถังซำจั๋งว่า จงรับรัดเกล้านี้ไป ถ้าหากสวมไปแล้ว แล้วพูดว่า รัดเกล้า รอบเดียว ก็จะปวดหัวเหมือนมีสิ่งใดมัดศีรษะ

ตามคติมหายาน

ส่วนอีกความเชื่อหนึ่งคือ ท่านสถิตย์ ณ เกาะผู่ถัวชาน (普陀山) และปฏิบัติธรรม ณ ที่นั่น (ปัจจุบันมีเทวรูปองค์ใหญ่เป็นพระแม่กวนอิมปางทรงธรรมจักรในพระหัตถ์ซ้าย ส่วนพระหัตถ์ขวาทำพระกิริยาห้าม มองไปที่ทะเลใต้ เรียกว่า หนานไห่กฺวันยิน (南海觀音; หล่ำไฮ้กวงอิม ตามสำเนียงแต้จิ๋ว))

นอกจากนี้ ผู้ที่นับถือ(โดยเฉพาะในไทย)มีเคล็ดลับบอกว่า ผู้ใดนับถือพระแม่กวนอิม ก็จะไม่สามารถรับประทานเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อวัวและเนื้อควาย และเชื่อกันว่า ถ้าผู้ใดกัดกินเนื้อว้วควายเข้าไปแม้แต่คำเดียว อาจหมายถึงกินพระเจ้าเมี่ยวจวง[ต้องการอ้างอิง]

พระอัครสาวก

พระสุธนกุมาร และธิดาพญามังกร
วัดโฮรีว

รูปเคารพพระโพธิสัตว์กวนอิมมักมีเด็กชายและ เด็กหญิงหรือสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวาอยู่เคียงข้างเสมอ โดยถูกเรียกทับศัทพ์เป็นคำจีนว่า กิมท้ง คือเด็กชายผู้ที่ทุบศีรษะเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านจนดวงปราณละสังหารได้นั้นเอง และ เง็กนึ้งคือสาวใช้ผู้ปวารณาเป็นข้ารับใช้พระองค์ขณะเป็นภิกษุณี บางตำนานว่ากิมท้ง คือ บุตรชายคนรองแห่งเทพถือเจดีย์ (บิดาแห่งนาจา) นามว่า "ซ่านไฉ่"ซึ่งถวายตัวเป็นพุทธสาวกแห่งพระโพธิสัตว์กวนอิม และส่วนเง้กนึ้งบางตำนานกล่าวว่าคือ ธิดาพญามังกร นามว่าหลงหนี่ซึ่งเป็นพระธิดาแห่งเจ้าสมุทรผัวเจี๋ยหลัวปวารณาตนเป็นสาวกของพระโพธิสัตว์กวนอิม แต่บางตำนานว่า ซ่านไฉ่ กับ หลงหนี่เป็นพระโพธิสัตว์โดยมีเทวตำนานดังนี้ ตอนที่เจ้าหญิงหลงหนี่อายุได้ 8 พรรษาได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาจากพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ บังเกิดเห็นดวงตาเห็นธรรมจึงเสด็จขึ้นจากวังบาดาล ยังชมพูทวีปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และถวายตัวเป็นสาวก และต่อมาไม่นานสำเร็จมรรคผลเป็นพระโพธิสัตว์ ส่วนซ่านไฉ่นั้นเป็นบุตร 1 ใน 500 คนแห่งผู้เฒ่าฝูเฉิง เกิดเห็นว่าทุกสรรพสิ่งเป็นสิ่งไม่เที่ยงมาแต่ไหนแต่ไร ด้วยเหตุนี้จึงสนใจศึกษาพระธรรมโดยได้รับคำชี้แนะจากพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ และได้รับการสั่งสอนจากภิกษุ ถึง 53 รูป ผ่านอุปสรรคต่างๆจนบรรลุสู่การเป็นพระโพธิสัตว์.

อ้างอิง

  1. "คาถาสวดบูชาเจ้าแม่กวนอิม : บทสวดมนต์ บทสวดคาถา ต่างๆ". www.baanjomyut.com.
  2. "นะโม กวงซิอิม ผ่อสัก - มนต์คาถา แห่งดินแดนสุวรรณภูมิ - Baan Jompra - Powered by Discuz!". www.baanjompra.com.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya