Share to:

 

การสงบศึกกัสซีบีเล

การสงบศึกกัสซีบีเล
การสงบศึกของรัฐอิตาลีต่อฝ่ายสัมพันธมิตร
จากซ้ายไปขวา: เคนเนธ สตรอง, จูเซปเป กัสเตลลาโน, วอลเตอร์ เบเดลล์ สมิธ, และฟรังโก มอนตานารี ณ หมู่บ้านกัสซีบีเล
ประเภทการยอมจำนน
วันลงนาม3 กันยายน ค.ศ. 1943
ที่ลงนามกัสซีบีเล ประเทศอิตาลี
วันมีผล8 กันยายน ค.ศ. 1943
เงื่อนไขประกาศต่อสาธารณชนในวันที่ 8 กันยายน
ผู้เจรจา
ผู้ลงนาม
ภาคี
ผู้ให้สัตยาบัน

การสงบศึกกัสซีบีเล[1] (อิตาลี: Armistizio di Cassibile) เป็นการสงบศึกที่ลงนามเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1943 ระหว่างอิตาลีกับสหรัฐและสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งการสงบศึกมีการประกาศต่อสาธารณชนในอีกห้าวันต่อมา

การสงบศึกเป็นการลงนามกันระหว่างพลตรี วอลเตอร์ เบเดลล์ สมิธ จากฝ่ายสัมพันธมิตร กับพลจัตวา จูเซปเป กัสเตลลาโน จากอิตาลี ณ การประชุมของเหล่านายพลจากทั้งสองฝ่ายในค่ายทหารสัมพันธมิตรที่กัสซีบีเลในแคว้นซิซิลี ซึ่งเพิ่งถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครอง การสงบศึกได้รับการอนุมัติจากทั้งพระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 และนายพลบาโดลโย ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอิตาลีในขณะนั้น

เยอรมนีตอบโต้การสงบศึกด้วยการเปิดฉากโจมตีอิตาลี (8–19 กันยายน), ฝรั่งเศสตอนใต้, และคาบสมุทรบอลข่าน พร้อมทั้งดำเนินปฏิบัติการปลดปล่อยเบนิโต มุสโสลินี (12 กันยายน) กองทัพอิตาลีปราชัยในภาคเหนือและกลางของประเทศ โดยที่อิตาลีส่วนใหญ่ถูกกองทัพเยอรมันยึดครอง ซึ่งมีการก่อตั้งสาธารณรัฐสังคมอิตาลีหุ่นเชิด โดยมุสโสลินียังคงเป็นผู้นำของรัฐ พระมหากษัตริย์ รัฐบาลอิตาลี และกองทัพเรือส่วนใหญ่ได้อพยพไปยังภาคใต้ของประเทศ และพึ่งพาการป้องกันจากฝ่ายสัมพันธมิตร และขบวนการต่อต้านอิตาลีก็เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้เช่นเดียวกัน

อ้างอิง

  1. Howard McGaw Smyth, "The Armistice of Cassibile", Military Affairs 12:1 (1948), 12–35.

แหล่งข้อมูล

  • Aga Rossi, Elena (1993). Una nazione allo sbando (ภาษาอิตาลี). Bologna.
  • Bianchi, Gianfranco (1963). 25 luglio, crollo di un regime (ภาษาอิตาลี). Milan.
  • Marchesi, Luigi (1969). Come siamo arrivati a Brindisi (ภาษาอิตาลี). Milan.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya