Share to:

 

ยุทธการที่สิงคโปร์

ยุทธการที่สิงคโปร์
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง

พลโท อาเธอร์ เพอร์ซิวัล (ขวาสุด) แบกธงขาวเพื่อยอมแพ้ และถูกควบคุมตัวไปโดยทหารญี่ปุ่น เมื่อ 15 ก.พ. 1942
วันที่8–15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942
สถานที่
เกาะสิงคโปร์ นิคมช่องแคบ
1°22′N 103°49′E / 1.367°N 103.817°E / 1.367; 103.817
ผล ชัยชนะของญี่ปุ่น
คู่สงคราม

 สหราชอาณาจักร

 ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อาเธอร์ เพอร์ซิวัล (เชลย) Surrendered
กอร์ดอน เบ็นเนตต์
ลิวอิส เฮลท์ (เชลย)
เมอร์ตัน เบ็กควิท-สมิธ] (เชลย)
จักรวรรดิญี่ปุ่น โทโมยูกิ ยามาชิตะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ทากูมะ นิชิมูระ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ทากุโร มัตสึอิ
จักรวรรดิญี่ปุ่น เร็นยะ มูตางูชิ
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

Malaya Command

จักรวรรดิญี่ปุ่น 25th Army

Japanese Navy
กำลัง
85,000 นาย
ปืนใหญ่ 300 ระบบ
รถหุ้มเกราะ 200 คัน
ปืนต่อต้านรถถังและอากาศยาน 208 กระบอก
36,000 นาย
ปืนใหญ่ 440 ระบบ[1]
ความสูญเสีย
~5,000 นายตายและบาดเจ็บ
80,000 ตกเป็นเชลย
1,714 ตาย
3,378 บาดเจ็บ

ยุทธการที่สิงคโปร์ (อังกฤษ: Battle of Singapore) เป็นเหตุการณ์สู้รบในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังญี่ปุ่นได้รับชัยชนะในการทัพมาลายาเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 แล้ว ญี่ปุ่นก็เริ่มรุกรานเกาะสิงคโปร์ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 ซึ่งถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ของอังกฤษ สิงคโปร์ในขณะนั้นมีฉายาว่า "ยิบรอลตาแห่งตะวันออก" ถือเป็นฐานที่มั่นหลักของกองทัพอังกฤษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และถือเป็นหน้าด่านสำคัญที่จะป้องกันไม่ให้ข้าศึกรุกรานเข้ามาในมหาสมุทรอินเดียอันเป็นที่ตั้งของอาณานิคมต่าง ๆ จำนวนมากของอังกฤษ

ญี่ปุ่นเริ่มข้ามช่องแคบรัฐยะโฮร์มาสู่เกาะสิงคโปร์ในเวลา 20:30 น. ของวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 และในเช้าวันนั้นเองสิงคโปร์ก็ถูกโจมตีทางอากาศจากเครื่องบินทิ้งระเบิดของญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก การต่อสู้กินเวลาราวหนึ่งสัปดาห์ พล.ท. อาเธอร์ เพอร์ซิวัล ผู้บัญชาการกองทหารเครือจักรภพก็ได้ยกธงขาวเพื่อยอมจำนนในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 ส่งผลให้ทหารในบังคับของอังกฤษราว 80,000 นาย[2] (ซึ่งรวมถึงทหารจากออสเตรเลีย และทหารแขกจากอินเดีย) ตกเป็นเชลยของญี่ปุ่นในทันที ถือเป็นการยอมจำนนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การทหารของอังกฤษ นายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลได้เรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็น "หายนะครั้งเลวร้ายสุด" ในประวัติศาสตร์การทหารของอังกฤษ[3]

อ้างอิง

  1. Allen 2013, p. 169.
  2. Corrigan 2010, p. 280.
  3. Churchill 2002, p. 518.
Kembali kehalaman sebelumnya