เด่น โต๊ะมีนา (เกิด
28 เมษายน พ.ศ. 2477) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปัตตานี และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานีหลายสมัย
ประวัติ
เด่น โต๊ะมีนา เกิดเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2477 ที่ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นบุตรชายของหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ (หะยีสุหลง) และเป็นน้องชายของอามีน โต๊ะมีนา อดีต ส.ส. ปัตตานี 2 สมัย นายเด่น สำเร็จการศึกษาทางด้านภาษา จาก โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข[1], นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
เด่น สมรสกับนางผอูญ โต๊ะมีนา มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา และ นายภราดร โต๊ะมีนา
งานการเมือง
เด่น โต๊ะมีนา เป็นนักการเมืองที่เคยสังกัดพรรคการเมืองหลายพรรค เช่น พรรคประชาธิปัตย์ พรรคความหวังใหม่ พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 8 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคประชาชน (พ.ศ. 2531) → พรรคเอกภาพ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคความหวังใหม่
เด่น โต๊ะมีนา เคยได้รับตำแหน่งสำคัญทางการเมืองหลายตำแหน่ง เช่น เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการในคณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2533[2] และได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[3] รวมถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย (สมัยแรก)[4]
เด่น โต๊ะมีนา เป็นที่ปรึกษาพรรคมาตุภูมิ[5] และในการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 8 พรรคมาตุภูมิ[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
รางวัลและเกียรติยศ
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 ว่าที่นายกองเอกเด่น โต๊ะมีนา ได้รับพระราชทานยศนายกองเอก โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชโปรดเกล้าแต่งตั้ง[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ PRIDI Interview: เด่น โต๊ะมีนา ย้อนรำลึกถึงคุณพ่อ ‘หะยีสุหลง’
- ↑ นายใหญ่ก่อการร้าย
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ เว็บประชาไทย
- ↑ รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พระราชทานยศ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2017-03-01.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๑๖ มกราคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๘, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๙
|
---|
หัวหน้าพรรค | | |
---|
เลขาธิการพรรค | |
---|
แกนนำพรรค | |
---|