พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน)
ศาสตราจารย์ พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน) เป็นอดีตอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เป็นอดีตอธิบดีกรมอาลักษณ์ ผู้เคยทำงานใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในกรมราชเลขาธิการ ประวัติพระยานิติศาสตร์ไพศาล เป็นคนกรุงเทพฯ เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2431[1] ที่บ้านเชิงสะพานยศเส อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร โดยมีชื่อเดิมว่า "วัน จามรมาน" เป็นบุตรของจมื่นเสนาสงคราม (ช้าง จามรมาน) กับนางพลอย เสนาสงคราม เขาได้เข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนวัดเทพธิดาราม แล้วไปต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนวัดราชบุรณะ และไปจบชั้นมัธยมศึกษาพิเศษจากโรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษ (ที่ย้ายมาจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ในช่วงเวลานั้น)[2] ต่อมาได้เข้าไปเป็นนักเรียนล่ามของกระทรวงยุติธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2451 จึงมีโอกาสเข้าเรียนโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2453 สอบได้เป็นเนติบัณฑิตชั้น 2 เข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศ และในปี พ.ศ. 2454 ได้รับการคัดเลือกไปเรียนวิชากฎหมายต่อที่ประเทศอังกฤษ ที่สำนักกฎหมายเกรย์อินน์ จนเรียบจบกฎหมายจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2459 แล้วจึงกลับไทยมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2460[3] แล้วรับราชการเป็นผู้พิพากษาต่อมา พระยานิติศาสตร์ไพศาล ขณะมีตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาศาลพระราชอาญา ในปี พ.ศ. 2460 ก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงอรรถกัลยาณวาทย์ ได้ปีเดียวก็ได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น “พระนิติศาสตร์ไพศาล” ได้เป็นกรรมการในศาลฎีกา ครั้นถึงปี พ.ศ. 2463 จึงย้ายงานจากทางด้านตุลาการมาอยู่ที่กรมราชเลขาธิการ มาเป็นเจ้ากรมกองการต่างประเทศ ในเวลาอีก 3 ปีต่อมาได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระยาในราชทินนามเดิม ทำงานในกรมราชเลขาธิการ ต่อมาถึงปี พ.ศ. 2470 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอาลักษณ์ จากนั้นอีก 3 ปี จึงย้ายกลับไปยังหน่วยงานเดิมที่กระทรวงยุติธรรม โดยในปี พ.ศ. 2474 ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองท่านได้ขึ้นเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลพระราชอาญา และเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศในปีถัดมา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ได้มีการแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราวชุดแรกขึ้นมาจำนวน 70 คน พระยานิติศาสตร์ฯ เป็นหนึ่งในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2[4] พระยานิติศาสตร์ฯ เคยเป็นคณบดีคนแรก ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นอาจารย์สอนกฎหมายที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเคยเป็นประธานกรรมการธนาคารออมสิน (พ.ศ. 2490-2492)[5] พระยานิติศาสตร์ฯ ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2510 ยศ บรรดาศักดิ์ และตำแหน่ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เชิงอรรถอ้างอิง
|