มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2418 – 5 ตุลาคม พ.ศ. 2471) อดีตเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[2] และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ กับหม่อมสุภาพ
พระประวัติ
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร ประสูติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2418 มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร ทรงจบนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และเนติบัณฑิตอังกฤษ เมื่อสำเร็จการศึกษาทรงเริ่มรับราชการในตำแหน่งเลขานุการพิเศษ กระทรวงต่างประเทศ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร เมื่อ พ.ศ. 2455[4] พระองค์มีหม่อม 2 คนคือหม่อมเชื่อมและหม่อมปรุง ทรงมีโอรสและธิดา คือ
- หม่อมราชวงศ์บุญระบือ กฤดากร
- หม่อมราชวงศ์บรรลือศักดิ์ กฤดากร
- หม่อมราชวงศ์สมัคสมาน กฤดากร (พ.ศ. 2448 — พ.ศ. 2509)
- หม่อมราชวงศ์เจริญศักดิ์ กฤดากร
- หม่อมราชวงศ์ถนอมศักดิ์ กฤดากร
การรับราชการ
- เลขานุการพิเศษ กระทรวงต่างประเทศ
- 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 เลขานุการ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย[5]
- 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 เลขานุการ กระทรวงมหาดไทย[6]
- 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 ปลัดเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช[7][8][9]
- ผู้ว่าราชการเมืองสงขลา
- 7 กันยายน พ.ศ. 2449 อัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส โรม มาดริด ลิสบอน[10]
- 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 เสด็จกลับมารับราชการที่กรุงเทพ[11]
- 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 รองเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม[12]
- 26 มิถุนายน พ.ศ. 2453 รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม[13]
- 27 มกราคม พ.ศ. 2454(นับแบบปัจจุบัน) เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม[14]
- 28 มิถุนายน พ.ศ. 2455 อัครราชทูตพิเศษผู้มีอำนาจเต็มประจำกรุงปารีส[15]
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 (พ.ศ. 2462) ทรงเป็นผู้แทนสยาม ลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ครั้งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย
สิ้นพระชนม์
พระองค์ประชวรพระโรคพระวักกะ (ไต) พิการ และสิ้นพระชนม์ด้วยพระหทัย (หัวใจ) พิการเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2471 ณ กรุงเจนีวา รวมพระชันษาได้ 53 ปี 95 วัน[16]
พระเกียรติยศ
พระอิสริยยศ
- หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร
ธรรมเนียมพระยศของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร |
---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
---|
การแทนตน | เกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน |
---|
การขานรับ | เกล้ากระหม่อม/เพคะ |
---|
พระยศ
พระยศพลเรือน
พระยศเสือป่า
- 14 กรกฎาคม 2454 – นายหมู่ใหญ่[19]
- นายหมวดเอก[20]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้
พงศาวลี
พงศาวลีของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร
|
|
อ้างอิง
- ↑ "ตำแหน่งถัดไป" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
- ↑ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,การพระราชพิธีตั้งองคมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนา หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร ขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า, เล่ม ๒๙, ตอน ง, ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๕, หน้า ๑๒๕๐
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร์ตำแหน่งน่าที่ราชการ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรตำแหน่งน่าที่ราชการ
- ↑ ข้าราชการกราบถวายบังคมลา
- ↑ การตั้งหม่อมเจ้าจรูญศักดิ์
- ↑ หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์กฤษฎากรเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
- ↑ รองเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
- ↑ ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
- ↑ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
- ↑ "อัครราชทูตพิเศษผู้มีอำนาจเต็มประจำกรุงปารีส" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม ๔๕, ตอน ง, ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑, หน้า ๒๖๓๙
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ ข้าราชการ กระทรวงยุติธรรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28: 920. 13 สิงหาคม 2454. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564.
- ↑ แจ้งความกระทรวงวัง
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)
- ↑ การสถาปนาพระอิศริยยศ หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร ขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 29 หน้า 1246 วันที่ 8 กันยายน 2455
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1
- ↑ รายพระนามเสนาบดีผู้ได้รับพระราชทานตราวัลภาภรณ์ ในงานเฉลิมพระชนม์พรรษา เล่ม 36 หน้า 3007 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 4 มกราคม 2462
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕, เล่ม ๒๘, ตอน ๐ ง, ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๔๙