Share to:

 

สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์

สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
สมศักดิ์ ใน พ.ศ. 2555
ประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
3 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
(2 ปี 129 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าชัย ชิดชอบ
ถัดไปพรเพชร วิชิตชลชัย
(ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 69 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ถัดไปพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
(0 ปี 69 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าอนุสรณ์ วงศ์วรรณ
ถัดไปวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดขอนแก่น
ดำรงตำแหน่ง
24 เมษายน พ.ศ. 2526 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
(30 ปี 229 วัน)
เขตเลือกตั้งเขต 2 (2526)
เขต 3 (2529)
เขต 4 (2535,2538,2539,2550)
เขต 6 (2544,2548,2554)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (70 ปี)
อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2551 - ปัจจุบัน)
พลังประชาชน (2550 - 2551)
ไทยรักไทย (2544 - 2549)
ความหวังใหม่ (2535 - 2538)
กิจสังคม (2529 - 2535) (2538 -​ 2544)​
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น

สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (เกิด 27 มิถุนายน พ.ศ. 2497) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตประธานรัฐสภาและอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร[1] อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น 10 สมัย และอดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

ประวัติ

สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายสงวน และนางเพ่ง เกียรติสุรนนท์ นายสมศักดิ์สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และจบปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาการเมือง จากมหาวิทยาลัยอเมริกา ประเทศสหรัฐอเมริกาปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีมติให้ดำเนินคดีอาญาต่อเขา เนื่องจากไม่ตรวจทานร่างรัฐธรรมนูญ [2]

งานการเมือง

สมศักดิ์ เริ่มต้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคกิจสังคม นายสมศักดิ์ นับได้ว่าเป็นประธานรัฐสภาคนที่ 2 ที่เป็นชาวขอนแก่น ได้รับฉายาว่า "ขุนค้อน" ตั้งแต่ครั้งที่ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2540 สังกัดพรรคความหวังใหม่ ได้นำค้อนขึ้นมาเคาะบัลลังก์ แบบเดียวกับที่ใช้ในศาลยุติธรรมในต่างประเทศ เพื่อระงับเหตุเมื่อเกิดการถกเถียงกันในสภา

การรับตำแหน่งรัฐมนตรี

เดิมสมศักดิ์เป็นแกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา แต่เมื่อนายสมศักดิ์เข้ารับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ทำให้เกิดความขัดแย้งกันในกลุ่ม นายสมศักดิ์จึงแยกตัวออกไปตั้งกลุ่มใหม่คือกลุ่มขุนค้อน จนกระทั่งในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณี นายสมัคร สุนทรเวช จัดรายการชิมไปบ่นไป และยกโขยง 6 โมงเช้า มีมติเอกฉันท์ให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะสิ้นสุดลง

ต่อมาในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551 มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้รับเลือกด้วยคะแนน 298 ต่อ 163 (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายสมชาย เป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 18 กันยายน ต่อมาในวันที่ 24 กันยายน มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง คณะรัฐมนตรีคณะที่ 58 ของประเทศไทย โดยนายสมศักดิ์ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[3] ต่อมาในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิ์ทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรคคนละ 5 ปี ทำให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน รักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ต้องพ้นจากตำแหน่ง จึงส่งผลให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะสิ้นสุดลง

การรับตำแหน่งประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร

จากนั้นจึงได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2553[4] ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.จังหวัดขอนแก่น และได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554[5] ต่อมาปลายปี พ.ศ. 2554 สื่อมวลชนประจำสภาผู้แทนราษฎร ได้ตั้งฉายานักการเมือง ประจำปี 2554 โดยที่นายสมศักดิ์ ได้รับฉายาว่า "ค้อนปลอม ตราดูไบ" อันเนื่องมาจากการให้สัมภาษณ์ยอมรับของนายสมศักดิ์ ว่าได้เดินทางไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก่อนที่จะมีการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้งคำพูดของนายสมศักดิ์ ยังถูกจัดว่าเป็นวาทะแห่งปี คือ "คำวินิจฉัยประธานถือเป็นที่สิ้นสุด จะผิดหรือถูกเป็นอีกเรื่องหนึ่ง"[6]

ในวันที่ 30 พฤษภาคม และ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 นาย สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ได้พยายามเสนอให้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาติ การพยายามให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิจารณากฎหมายนี้เป็นการเร่งด่วน ส่งผลให้ เขาเป็นประธานสภาคนแรก ที่ถูกทำร้ายร่างกายด้วยการขว้างสิ่งของระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร และเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกที่ตำรวจนำตัวเขาออกไปข้างนอกระหว่างการประชุม [7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
  2. มีมติให้ดำเนินคดีอาญา[ลิงก์เสีย]
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-05.
  4. "คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-27. สืบค้นเมื่อ 2010-11-09.
  5. สภาฯลงมติเลือก"สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์"นั่งปธ.ตามคาด "ปู"เผยรายชื่อครม.เสร็จแล้ว50%
  6. สื่อตั้งฉายา 'ปูดาวดับ' สภาฯเป็น 'กระดองปูแดง'
  7. 44 ปี รัฐสภา ประวัติศาสตร์-ภาพจำก่อนปิดฉาก ก.พ. 2562
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ถัดไป
ชัย ชิดชอบ
ประธานรัฐสภา
ประธานสภาผู้แทนราษฏร

(3 สิงหาคม พ.ศ. 25549 ธันวาคม พ.ศ. 2556)
พรเพชร วิชิตชลชัย
ประธานสภานิติบัญัติแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภา
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(24 กันยายน พ.ศ. 25512 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
อนุสรณ์ วงศ์วรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
(2 สิงหาคม พ.ศ. 25519 กันยายน พ.ศ. 2551)
วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
Kembali kehalaman sebelumnya