ประเทศเช็กเกีย49°45′N 15°30′E / 49.750°N 15.500°E
สาธารณรัฐเช็ก (อังกฤษ: Czech Republic; เช็ก: Česká republika)[8] หรือที่รู้จักกันในชื่อทั่วไปว่า เช็กเกีย (อังกฤษ: Czechia; เช็ก: Česko, ออกเสียง: [ˈt͡ʃɛsko] )[9] ในอดีตมีชื่อว่า โบฮีเมีย (Bohemia)[10] เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ในภูมิภาคยุโรปกลาง โดยมีพรมแดนทางตอนเหนือจรดประเทศโปแลนด์ ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือจรดเยอรมนี ทางใต้จรดออสเตรีย และทางตะวันออกจรดสโลวาเกีย[11] เช็กเกียมีภูมิประเทศเป็นเนินเขาที่ครอบคลุมพื้นที่กว่า 78,871 ตารางกิโลเมตร (30,452 ตารางไมล์) โดยมีภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีปและภาคพื้นสมุทร ดัชชีโบฮีเมียถูกก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ภายใต้ดินแดนของมอเรเวียใหญ่ ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่าเป็นรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใน ค.ศ. 1002 และได้กลายเป็นราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1198[12][13] ภายหลังยุทธการโมฮาชใน ค.ศ. 1526 ดินแดนของราชบังลังก์โบฮีเมียทั้งหมดก็ค่อย ๆ รวมเข้ากับราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค กบฎของชาวโบฮีเมียที่นับถือนิกายโปรเตสแตนด์ ก็นำไปสู่สงครามสามสิบปี หลังยุทธการไวท์เมาท์เทน ราชาธิปไตยฮาพส์บวร์คก็ได้รวมการปกครองของโบฮีเมีย ด้วยการยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใน ค.ศ. 1806 ดินแดนราชบัลลังก์โบฮีเมียก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดินแดนเช็กก็ได้กลายเป็นดินแดนที่มีความเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น และใน ค.ศ. 1918 ดินแดนส่วนใหญ่ของเช็กเกียก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐเชโกสโลวักที่หนึ่ง ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[14] เชโกสโลวาเกียเป็นประเทศเดียวในยุโรปกลางและตะวันออกที่ใช้การปกครองแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาตลอดสมัยระหว่างสงคราม[15] ภายหลังความตกลงมิวนิกใน ค.ศ. 1938 นาซีเยอรมนีก็เข้าไปควบคุมดินแดนเช็กเกียอย่างเป็นระบบ เชโกสโลวาเกียได้รับการฟื้นฟูใน ค.ศ. 1945 และได้กลายเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ในกลุ่มตะวันออก ภายหลังการรัฐประหารเมื่อ ค.ศ. 1948 ความพยายามที่จะเปิดนโยบายเสรีของรัฐบาลและเศรษฐกิจ ถูกปราบปรามโดยการรุกรานประเทศที่นำโดยสหภาพโซเวียต ในช่วงปรากสปริงใน ค.ศ. 1968 ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1989 การปฏิวัติกำมะหยี่ได้ยุติการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ภายในประเทศเชโกสลาวาเกีย และในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1993 เชโกสโลวาเกียถูกยุบเลิก โดยรัฐองค์ประกอบของเชโกสโลวาเกียได้กลายเป็นรัฐเอกราชเช็กเกียและสโลวาเกีย เช็กเกียเป็นสาธารณรัฐแบบรัฐสภารัฐเดี่ยว และถือเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่มีตลาดทางเศรษฐกิจเพื่อสังคมที่ก้าวหน้าและมีรายได้สูง เป็นรัฐสวัสดิการที่มีแบบอย่างทางสังคมของยุโรป การดูแลสุขภาพแบบถ้วนหน้า และการศึกษาในมหาวิทยาลัยโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน โดยอยู่ในอันดับที่ 12 ของดัชนีการพัฒนามนุษย์ซึ่งปรับตัวเลขความไม่เท่าเทียมกันในสังคมแล้วของสหประชาชาติ และอยู่ในอันดับที่ 14 ของดัชนีทุนของมนุษย์โดยธนาคารโลก นำหน้าประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐ สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่ปลอดภัยและสงบสุขที่สุดเป็นอันดับที่ 11 และอยู่ในอันดับที่ 31 ของดัชนีการปกครองแบบประชาธิปไตย เช็กเกียเป็นสมาชิกของเนโท, สหภาพยุโรป, องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ, องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป และสภายุโรป ภูมิศาสตร์เช็กเกียเป็นดินแดนที่ประกอบด้วย ที่ราบสูง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่สูงกว่าน้ำทะเล 200 เมตร นอกจากนั้นยังประกอบด้วย เนินเขา แม่น้ำรวมถึงทะเลสาบขนาดเล็ก ๆ อยู่ทั่วไป เช็กเกียเช็กเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชหลายชนิด เพราะมีดินที่อุดมสมบูรณ์ มีอากาศแบบอบอุ่นภาคพื้นทวีป มีแร่ธาตุหลายชนิด แร่ที่สำคัญได้แก่ ถ่านหินและยูเรเนียม สภาพอากาศสภาพอากาศของเช็กเกีย มีอากาศหนาวอยู่ในเขตอบอุ่น หน้าร้อนจะอบอุ่น หน้าหนาวจะหนาว (ยุโรปอยู่ระหว่าง 35 องศาเหนือ - 71 องศาเหนือ) ประวัติศาสตร์กลุ่มรัฐสลาฟดินแดนของเช็กเกียในปัจจุบัน มีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปราว 2,000 ปี นับตั้งแต่เมื่อชนเผ่าสลาวอนิก (Slavonic Tribes) หรือชนเผ่าสลาฟ ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานแคว้นโบฮีเมียได้พัฒนาเป็นรัฐอิสระเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 9 แต่ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชนเผ่าเยอรมันได้อพยพเข้ามายึดดินแดนเช็กในปัจจุบันเป็นอาณานิคม ซึ่งเป็นปัจจัยที่สร้างวัฒนธรรมเช็กให้มีทั้งลักษณะของชนเผ่าเยอรมันและชนเผ่าสลาฟ กรุงปรากจึงเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมอันหลากหลาย อาทิ โรมาเนสก์ กอทิก สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา บาโรก รวมทั้งศิลปะรูปแบบต่าง ๆ ทำให้กรุงปรากเป็นเมืองที่แสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมาของเช็กเกียได้อย่างดี ตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมัน จนกระทั่งถึงสมัยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค (ราวศตวรรษที่ 15-18) และองค์การยูเนสโก ได้เลือกให้เป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรม นอกจากนี้ เช็กยังมีชื่อเสียงและประวัติศาสตร์อันยาวนานด้านการผลิตเบียร์ โดยเฉพาะที่เมืองเปิลแซ็ญ กรุงปรากเป็นเมืองที่สำคัญในยุโรปตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมันและยุคกลางของยุโรป จักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยชาลส์ (Charles University) ขึ้นที่กรุงปรากซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรปตะวันออก ในช่วงยุคกลาง เช็กเกียอยู่ภายใต้การปกครองของคริสตจักรเช่นเดียวกับดินแดนอื่น ๆ ในยุโรป จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1526 เช็กเกียจึงตกอยู่ภายใต้การควบคุมของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ในศตวรรษที่ 19 เริ่มมีการฟื้นฟูความตระหนักถึงชนชาติ ซึ่งถึงจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 1848 เมื่อกรุงปรากเป็นเมืองแรกในอาณาจักรฮาพส์บวร์คที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูป และต้องการแยกตัวเป็นรัฐอิสระ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 คริสต์ศตวรรษที่ 20ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ฝ่ายพันธมิตรได้สนับสนุนให้ชาวเช็กและชาวสโลวักสร้างสหพันธรัฐประชาธิปไตยเชโกสโลวาเกียขึ้น ในปี ค.ศ. 1918 เนื่องจากชาวเช็กและชาวสโลวักมีภาษาคล้ายคลึงกัน แต่แยกจากกันทางการเมือง เนื่องจากสโลวาเกียเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฮังการี ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เชโกสโลวาเกียเป็นประเทศที่อุตสาหกรรมมีความก้าวหน้าที่สุดจนติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากชาวสโลวักต้องการแยกตัวออกเป็นรัฐอิสระจากชาวเช็กซึ่งมีบทบาทเหนือกว่า ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1939 กองทัพเยอรมนีนาซีได้รุกรานแคว้นโบฮีเมียและมอเรเวีย ทำให้เชโกสโลวาเกียสูญเสียความเป็นรัฐเอกราช จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1945 กองทัพโซเวียตได้ปลดปล่อยดินแดนของเชโกสโลวาเกียจากการปกครองของนาซี ทำให้สหภาพโซเวียตมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการทางการเมืองของเชโกสโลวาเกียในเวลาต่อมา และในปี ค.ศ. 1948 พรรคคอมมิวนิสต์ได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจไว้ หลังสงครามพรรคคอมมิวนิสต์มีอิทธิพลในเชโกสโลวาเกียมาโดยตลอด จนกระทั่งในช่วงปลายทศวรรษที่ 60 ได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูป ที่เรียกว่า ช่วงฤดูใบไม้ผลิแห่งกรุงปราก (Prague Spring) ภายใต้การนำของอาเล็กซันเดร์ ดุปเช็ก (Alexander Dubček) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียต และประเทศอื่นในกลุ่มกติกาสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) เกรงว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะเป็นภัยคุกคามต่อระบบคอมมิวนิสต์ จึงได้ยกกองกำลังเข้าไปในเชโกสโลวาเกียเมื่อปี ค.ศ. 1968 และจัดตั้งระบบคอมมิวนิสต์ที่เข้มงวดขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีแนวคิดต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ในเชโกสโลวาเกีย หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลง เชโกสโลวาเกียได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอย่างสันติ โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การปฏิวัติกำมะหยี่ (Velvet Revolution) และนายวาตส์ลัฟ ฮาแว็ล (Václav Havel) ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีเชโกสโลวาเกียในปี ค.ศ. 1989 รัฐบาลเชโกสโลวาเกียได้มีมติเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 ให้สลายประเทศเชโกสโลวาเกีย และแบ่งออกเป็นสาธารณรัฐเช็ก (เช็กเกีย) และสาธารณรัฐสโลวัก (สโลวาเกีย) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า Velvet Divorce ต่อมา วาตส์ลัฟ ฮาแว็ล ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเช็กเกียในปี ค.ศ. 1993 และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1998 จนกระทั่งหมดวาระ (วาระละ 5 ปี) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 และวาตส์ลัฟ เกลาส์ (Vaclav Klaus) ได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสืบต่อ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 การเมืองการปกครองเช็กเกียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีประธานาธิบดีเป็นประมุข นิติบัญญัติประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งเป็นระบบสองสภา (Bicameral Parliament) คือ สภาสูง (Senate) มี 81 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้งโดย popular vote มีวาระ 6 ปี โดยจะมีการเลือก 1 ใน 3 ทุก 2 ปี การแบ่งเขตการปกครองเช็กเกียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 แคว้น (kraj) และ 1 นครหลวง* (hlavní město) ได้แก่ นโยบายต่างประเทศความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป
เศรษฐกิจสถานการณ์เศรษฐกิจเช็กเกีย ภายหลังจาก Velvet Reform ในปี ค.ศ. 1989 เชโกสโลวาเกียเริ่มดำเนินการปฏิรูปทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ในขณะที่รัฐบาลคอมมิวนิสต์ยังคงดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคอย่างระแวดระวัง การปฏิรูปทางเศรษฐกิจดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว โดยปล่อยให้ราคาสินค้าเคลื่อนไหวอย่างเสรี การคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่เจ้าของเดิมในช่วงปี ค.ศ. 1948 และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ต่อมา ภายหลังจาก Velvet Divorce ซึ่งแยกเชโกสโลวาเกียเป็นเช็กเกียและสโลวาเกีย ในปี ค.ศ. 2003 เช็กเกียมีการพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าอย่างมาก โดยมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่รวดเร็ว มีอัตราการว่างงานต่ำ และไม่มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินไป รัฐบาลเช็กเกียประสบความสำเร็จในการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ อาทิ บริษัทโตโยตามอเตอร์ และบริษัทเปอร์โยต์ ซีตรอง โดยได้ก่อตั้งหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน ชื่อว่า Czech Invest เพื่อดึงดูดการลงทุนด้านเทคโนโลยีระดับสูง ทั้งนี้ รัฐบาลคาดว่าจะสามารถดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นจาก 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงปี ค.ศ. 2005-2007 ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงสูงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 3.7 ในปี ค.ศ. 2003 เป็นร้อยละ 3.8 ในปี ค.ศ. 2004 และคาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 4.4 ในปี ค.ศ. 2005 ทำให้ค่าจ้างแรงงานมีการปรับตัวสูงขึ้นและมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อได้ลดลงเป็นลำดับ รัฐบาลเช็กเกียยังคงให้ความสำคัญกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยได้ดำเนินการไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ และยังคงมีอีกประมาณ 167 บริษัทที่อยู่ระหว่างรอดำเนินการ ได้แก่ Czech Telecom CEZ Power Utility เป็นต้น อย่างไรก็ดี รัฐบาลยังคงมีปัญหาการขาดดุลงบประมาณซึ่งสูงถึงร้อยละ 7 ของ GDP ในปี ค.ศ. 2003 รัฐบาลจึงตั้งเป้าที่จะลดการขาดดุลให้เหลือเพียงร้อยละ 4 ในปี ค.ศ. 2006 ซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่สหภาพยุโรปเรียกร้องเพื่อรับเช็กเกียเข้าเป็นสมาชิก นอกจากนี้ รัฐบาลเช็กเกียคงจะพยายามผลักดันเพื่อให้สามารถใช้เงินสกุลยูโรได้ภายในปี ค.ศ. 2009-2010 นอกจากนี้ รัฐบาลเช็กเกียจะยังคงมุ่งมั่นปฏิรูประบบกฎหมาย กฎหมายการล้มละลาย และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ อ้างอิงอ้างอิง
ข้อมูลทั่วไป
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
|