Share to:

 

ประเทศมอลตา

สาธารณรัฐมอลตา

Repubblika ta' Malta (มอลตา)
คำขวัญVirtute et constantia
"ด้วยความแข็งแกร่งและความมั่นคง"
เพลงชาติลา อินนู มัลติ
เพลงสดุดีมอลตา
ที่ตั้งของ ประเทศมอลตา  (วงกลมเขียว) – ในยุโรป  (เขียวอ่อน & เทาเข้ม) – ในสหภาพยุโรป  (เขียวอ่อน)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]
ที่ตั้งของ ประเทศมอลตา  (วงกลมเขียว)

– ในยุโรป  (เขียวอ่อน & เทาเข้ม)
– ในสหภาพยุโรป  (เขียวอ่อน)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]

เมืองหลวงวัลเลตตา
35°54′N 14°31′E / 35.900°N 14.517°E / 35.900; 14.517
เมืองใหญ่สุดSt. Paul's Bay
ภาษาราชการมอลตา,[d] อังกฤษ
กลุ่มชาติพันธุ์
(2019[1])
ศาสนา
(2019)[2]
90% คริสต์
—83% โรมันคาทอลิก
—7% นิกายอื่น ๆ
5% ไม่มีศาสนา
2% อิสลาม
3% อื่น ๆ
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา สาธารณรัฐตามรัฐธรรมนูญ
Myriam Spiteri Debono
รอเบิร์ต อเบลา
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เป็นเอกราช 
21 กันยายน .ศ. 1964
• สาธารณรัฐ
13 ธันวาคม ค.ศ. 1974
พื้นที่
• รวม
316[3] ตารางกิโลเมตร (122 ตารางไมล์) (อันดับที่ 185)
0.001
ประชากร
• 2019 ประมาณ
514,564[4] (อันดับที่ 173)
• สำมะโนประชากร 2011
417,432[5]
1,633 ต่อตารางกิโลเมตร (4,229.5 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 4)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2019 (ประมาณ)
• รวม
22.802 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6]
48,246 ดอลลาร์สหรัฐ[6]
จีดีพี (ราคาตลาด) 2019 (ประมาณ)
• รวม
15.134 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6]
32,021 ดอลลาร์สหรัฐ[6]
จีนี (2019)positive decrease 28.0[7]
ต่ำ · อันดับที่ 15
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.895[8]
สูงมาก · อันดับที่ 28
สกุลเงินยูโร () (EUR)
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป (ค.ศ.)
ขับรถด้านซ้าย
รหัสโทรศัพท์+356
โดเมนบนสุด.mt[c]
เว็บไซต์
gov.mt
  1. ^ ภาษาอื่นนอกจากภาษาแม่มอลตา[9]
  2. ^ เชื้อชาติมอลตาถูกระบุในสำมะโน ค.ศ. 2011[5]
  3. ^ ยังใช้โดเมน .eu ซึ่งใช้กันในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป
  4. ^ เช่นเดียวกันกับภาษามือมอลตา[10]

มอลตา (มอลตา: Malta) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐมอลตา (มอลตา: Repubblika ta' Malta) เป็นประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็กสองเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่มีประชากรหนาแน่น (1,262 คน ต่อตารางกิโลเมตร) มีประชากรทั้งหมดประมาณ 475,000 (พฤษภาคม พ.ศ. 2561) คน เมืองหลวงชื่อเมืองวัลเลตตา (Valletta)

ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของยุโรป ถัดลงมาจากตอนใต้ของประเทศอิตาลี นับเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งหนึ่งในยุโรป มีผู้มาครอบครองและถูกแย่งชิงนับครั้งไม่ถ้วนในอดีต

ประวัติศาสตร์

มอลตาเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาตั้งแต่ปี 2344 และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2507 โดยได้รับความช่วยเหลือด้านการป้องกันประเทศและการเงินตามข้อตกลงที่มีกับอังกฤษเป็นระยะเวลา 10 ปี มอลตาเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2507 และยังอยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ อย่างไรก็ดี ในช่วงสงครามเย็น มอลตามีรัฐบาลที่มาจากพรรคแรงงาน นำโดยนาย Dom Mintroff ซึ่งมีแนวทางสังคมนิยม-ชาตินิยม จึงดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (non-alignment) อย่างจริงจัง และได้ขอยกเลิกความตกลงที่ทำไว้กับอังกฤษฉบับปี 2507 และปี 2515 โดยขอทำความตกลงฉบับใหม่ซึ่งมีเนื้อหาที่จะรักษาอธิปไตยของประเทศและเพื่อเป็นหลักประกันว่า มอลตาจะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่จากการที่มีฐานทัพนาโตประจำอยู่ในมอลตา ความตกลงฉบับใหม่มีระยะเวลา 7 ปี (ปี 2515-2522) สาระสำคัญโดยสรุปคืออังกฤษต้องจ่ายค่าเช่าในการคงฐานทัพในมอลตา 14 ล้านปอนด์ต่อปี ต่อมา ในเดือนมีนาคม 2522 รัฐบาลมอลตาได้ขอยกเลิกการต่อสัญญาให้เช่าพื้นที่สำหรับเป็นฐานทัพ ทำให้กองกำลังอังกฤษต้องถอนกำลังออกจากมอลตาตั้งแต่นั้นมา

นอกจากนี้ รัฐบาลมอลตายังมีความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการค้ากับหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา อิตาลี สหภาพโซเวียต จีน กลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออก ลิเบีย ตูนิเซีย และตกลงรับความช่วยเหลือด้านวิชาการจากประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะลิเบีย อีกทั้งได้ลงนามในความตกลงรับรองความเป็นกลางและการร่วมมือทางการค้ากับประเทศต่าง ๆ ผลของการดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดอย่างจริงจังทำให้ในปี 2524 สหภาพโซเวียตและอิตาลีได้ตกลงรับรองความเป็นกลางของมอลตา โดยเฉพาะอิตาลี ได้ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและการเงินแก่มอลตาเป็นระยะเวลา 5 ปี นอกจากนั้น มอลตายังมีความตกลงร่วมกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ในปี 2513 ซึ่งได้ต่ออายุความตกลงมาจนถึงปัจจุบันในเวทีระหว่างประเทศ ปัจจุบัน มอลตาเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญหลายองค์การ อาทิ สหประชาชาติ กลุ่ม 77 IAEA OSCE UNCTAD UNESCO เป็นต้น

มอลตาได้ถอนตัวจากการเป็นสมาชิกกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) ตั้งแต่เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2547 มอลต้าได้เพิ่มบทบาทของตนเองในนโยบาย EU-Mediterranean ซึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้าน การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและกลุ่มประเทศอื่น ๆ มีประเทศโมรอโค อัลจีเรีย ตูนิเซีย อียิป อิสราเอล ปาเลสไตน์ จอร์แดน เลบานอน ซีเรีย และตุรกี

ในเดือน กุมภาพันธ์ 2549 กระทรวงการต่างประเทศมอลต้าเสนอนโยบายด้านการต่างประเทศซึ่งเน้นการเพิ่มพูนความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ ระหว่างมอลต้ากับประเทศอื่นที่ชาวมอลต้าได้ย้ายถิ่นฐานไป

การเมือง

มอลตา เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547

ภูมิศาสตร์

ชายฝั่งเกาะมอลตา บริเวณ Sliema

พื้นที่เป็นเกาะที่เกิดจากหินภูเขาไฟ บริเวณชายฝั่งเป็นโขดหินเกือบทั้งหมด

เศรษฐกิจ

  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 7.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
  • อัตราการเติบโตของ GDP ร้อยละ 1.0 (2549)
  • รายได้เฉลี่ยต่อหัว 7,926 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)
  • อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3.0 (2549)
  • ปริมาณการส่งออก 2.744 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
  • ปริมาณการนำเข้า 3.859 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
  • สินค้าส่งออกสำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์เกี่ยวกับการขนส่ง
  • สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักร อาหารและสัตว์ ผลิตภัณฑ์เคมี แร่ธาตุ เครื่องดื่มและยาสูบ
  • ประเทศคู่ค้าสำคัญ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ เยอรมนี อังกฤษ อิตาลี
  • ทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ หินปูน เกลือ พื้นดินที่เหมาะกับการเพาะปลูก
  • อุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยว อิเล็กทรอนิกส์ การต่อและซ่อมเรือ การก่อสร้าง อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอ รองเท้าและอุปกรณ์ ยาสูบ

อ้างอิง

  1. Diacono, Tim (April 18, 2019). "Over 100,000 Foreigners now living in Malta as Island's Population Just Keeps Ballooning". lovinmalta.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2019. สืบค้นเมื่อ October 10, 2019.
  2. "Special Eurobarometer 493, European Union: European Commission, September 2019, pages 229–230". ec.europa.eu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-03.
  3. Zammit, Andre (1986). "Valletta and the system of human settlements in the Maltese Islands". Ekistics. 53 (316/317): 89–95. JSTOR 43620704.
  4. "News release" (PDF). National Statistics Office. 10 July 2020. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2020. สืบค้นเมื่อ 10 July 2020.
  5. 5.0 5.1 "Census of Population and Housing 2011: Report" (PDF). National Statistics Office. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 June 2020. สืบค้นเมื่อ 10 July 2020.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "Malta". International Monetary Fund.
  7. "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2019. สืบค้นเมื่อ 19 June 2020.
  8. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  9. "Europeans and their Languages" (PDF). European Commission. Special Eurobarometer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2017. สืบค้นเมื่อ 25 October 2018.
  10. "Maltese sign language to be recognised as an official language of Malta". The Malta Independent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 11 June 2018.
  11. Lesley, Anne Rose (15 April 2009). Frommer's Malta and Gozo Day by Day. John Wiley & Sons. p. 139. ISBN 978-0470746103. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2015. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015.

อ่านเพิ่ม

Hastings, M. 2021. Operation Pedestral The Fleet that Battled to Malta 1942, William Collins ISBN 978-0-00-836494-6

ข้อมูล

แหล่งที่มา

  • "Malta". MSN Encarta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2009. สืบค้นเมื่อ 1 November 2005.

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
Kembali kehalaman sebelumnya