วัลลภ สุปริยศิลป์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลภ สุปริยศิลป์ (เกิด 3 เมษายน พ.ศ. 2483) อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อธรรม และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน 8 สมัย และเป็นบิดาของนายณัฐพงษ์ สุปริยศิลป์ ส.ส. พรรคเพื่อไทย ประวัติวัลลภ สุปริยศิลป์ เกิดเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2483 เป็นชาวอำเภอปัว จังหวัดน่าน[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโท M.Sc. สาขา Industrial Mathematic and Statisties จาก University of Aston in Birmingham ประเทศอังกฤษ และระดับปริญญาเอก Ph.D สาขา Industrial Technology จาก University of Bradford ประเทศอังกฤษ วัลลภ สมรสกับนางอันธิกา สุปริยศิลป์ มีบุตร 3 คน การทำงานผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลภ เข้ารับราชการในตำแหน่ง อาจารย์ตรี ที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายหลังโอนย้ายไปสังกัดภาควิชาสถิติ ในคณะเดียวกัน ในเวลาต่อมา งานการเมืองดร.วัลลภ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคกิจสังคม ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 เว้นว่างไปหนึ่งสมัย และได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 สังกัดพรรครวมไทย (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น พรรคเอกภาพ) ต่อมาเขาได้เข้าร่วมงานกับนายณรงค์ วงศ์วรรณ และได้เป็นกรรมการบริหารพรรคสามัคคีธรรม[2] และเป็น ส.ส.สมัยที่ 3 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 แต่ในการเลือกตั้งเดือนกันยายนของปีเดียวกัน เขาสอบตก จากนั้นจึงย้ายเข้าสังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งสมัยที่ 4 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 ในนามพรรคชาติพัฒนา ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 เขาได้รับเลือกตั้งอีก 2 สมัยติดต่อกัน ในสังกัดพรรคไทยรักไทย จนกระทั่งพรรคไทยรักไทย ถูกยุบพรรคเขาจึงได้ย้ายเข้าสังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับเลือกตั้งอีกเป็นสมัยที่ 8 ใน พ.ศ. 2554 เขาได้สนับสนุนให้บุตรชาย คือ นายณัฐพงษ์ สปริยศิลป์ ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส่วนตัวเขาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 113 ต่อมาเขาได้เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อธรรม[3] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อธรรม[4] แต่การเลือกตั้งครั้งดังกล่าว เป็นโมฆะตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ถึงแก่อนิจกรรมวัลลภ สุปริยศิลป์ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560[5] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ณ วัดพระธาตุเบ็งสกัด ตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|