พลเอก บุญชัย บำรุงพงศ์ (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 – 12 กันยายน พ.ศ. 2538) เป็นนายทหารชาวไทย และนักการเมือง อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตผู้บัญชาการทหารบก และราชองครักษ์เวร
ประวัติ
ชีวิตส่วนตัว
พล.อ. บุญชัย บำรุงพงศ์ เกิดวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 เป็นบุตรนายยัง และนางแพ บำรุงพงศ์ สมรสกับคุณหญิงจรัสลักษณ์ บำรุงพงศ์ พื้นเพครอบครัวมาจากชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อมาได้ย้ายภูมิลำเนามาอาศัยที่กรุงเทพมหานคร
พล.อ. บุญชัย สมรสกับคุณหญิงจรัสลักษณ์ บำรุงพงศ์มีบุตร 1 คน คือ
- พล.ท. อิสระชัย บำรุงพงศ์ สมรสกับนางมันทนา (สกุลเดิม ไหลมา) มีบุตร-ธิดารวม 3 คน
- นางดวงกมล นวลแข
- นางสาวอาริษา บำรุงพงศ์
- นายสืบพงศ์ บำรุงพงศ์
การศึกษา
บุญชัยสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนบพิตรพิมุข และโรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2477
ตำแหน่งหน้าที่การงาน
บุญชัย เข้ารับราชการครั้งแรกที่กองพันทหารม้าที่ 4 จังหวัดจันทบุรี
ราชการทหาร
- พ.ศ. 2480 : นักเรียนทำการนายร้อย ตำแหน่งผู้บังคับหมวดประจำกองพันทหารม้าที่ 4 จังหวัดจันทบุรี
- พ.ศ. 2484 : สำรองราชการกองบังคับการแผนกทหารม้า นายทหารฝึกหัดราชการโรงเรียนนายทหารม้า
- พ.ศ. 2486 : ประจำแผนกทหารม้า สำรองราชการกองบังคับการกรมเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2487 : ประจำกรมทหารม้าที่ 45 ในกองพลทหารม้า
- พ.ศ. 2489 : นายทหารฝึกหัดราชการ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2491 : นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2493 : รองเสนาธิการ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2494 : รักษาราชการเสนาธิการ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2495 : เสนาธิการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2497 : รองเสนาธิ การกองทัพภาคที่ 1
- พ.ศ. 2499 : เสนาธิการ ภาคทหารบกที่ 1
- พ.ศ. 2500 : เสนาธิการ กองทัพภาคที่ 1
- พ.ศ. 2503 : เสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารบก
- พ.ศ. 2503 : ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระบุรี[1]
- พ.ศ. 2506 : ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- พ.ศ. 2507 : เจ้ากรมการรักษาดินแดน
- พ.ศ. 2508 : ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ
- พ.ศ. 2510 : รองเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2516 : เสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2517 : รองผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ. 2518 : ผู้บัญชาการทหารบก[2]
ราชการพิเศษ ราชการการเมือง หรือตำแหน่งพิเศษ
ผลงานที่สำคัญ
- ร่วมปฏิบัติการภาคสนามในสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยเข้าประจำกรมทหารม้าที่ 45 ในกองพลทหารม้า ได้เคลื่อนกำลังเข้าตีข้าศึกไปจนถึงแคว้นยูนนาน
- จัดโครงการช่วยเหลือประชาชน เพื่อแยกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ออกจากประชาชนทั้งในยามปกติ และยามฉุกเฉิน โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการใช้มาตรการทางทหารภายใต้สถานการณ์การปฏิบัติการก่อการร้ายของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พล.อ. บุญชัย บำรุงพงศ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[6]และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
ถึงแก่อนิจกรรม
พลเอก บุญชัย บำรุงพงศ์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2538 สิริอายุ 79 ปี และเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2538 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ พลเอก บุญชัย บำรุงพงศ์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส [21]
อ้างอิง
- ↑ รายนามอดีตผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม 92 ตอน 203 ง พิเศษ 30 กันยายน พ.ศ. 2518
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๗ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
- ↑ "ข่าวในพระราชสำนัก [13-15 ธันวาคม 2538]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (1ง): 165. 2 มกราคม 2539. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2564.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๙๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๒๑๖๑, ๒๒ มิถุนายน ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๓๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๘๙, ๘ ธันวาคม ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๖๖ ตอนที่ ๖๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒๖, ๒๐ ธันวาคม ๒๔๙๒
- ↑ รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๑ จากเว็บไชต์ thaiscouts
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๘ เก็บถาวร 2022-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๓๐๔๑, ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๗๒๐, ๒๒ มีนาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอน 75 เล่มที่ 62 หน้า 2250, 12 สิงหาคม 2501
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 84 ตอนที่ 66 ฉบับพิเศษ หน้า 22, 14 กรกฏาคม 2510
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2538