Share to:

 

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (Faculty of Humanities and Social Sciences, UdonThani Rajabhat University) เป็นส่วนราชการระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กระทรวงกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยทำการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พื้นที่ในเมือง และพื้นที่สามพร้าว

โลโก้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ประเภทสถาบันอุดมศึกษารัฐบาล
สถาปนา2517
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยโท ดร.เกรียงไกร ธุระพันธ์
ที่อยู่
234 หมู่ 12 ต.สามพร้าว อ.เมือง
,
จ.อุดรธานี
,
41000
,
ประเทศไทย
วิทยาเขตจัดการศึกษาทั้งพื้นที่ในเมือง และพื้นที่สามพร้าว, ประมาณ 2,000 ไร่
สีสีแสด
เว็บไซต์http://huso.udru.ac.th https://www.facebook.com/husoudru/?locale=th_TH

ประวัติ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้เปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการศึกษาเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.  2517 และได้จัดตั้ง “คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” โดยได้เปลี่ยนหมวดวิชาต่าง ๆ เป็นภาควิชา ประกอบด้วย 10 ภาควิชา 

1. ภาควิชานาฏศิลป์และดนตรี  2. ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์  3. ภาควิชาประวัติศาสตร์  4. ภาควิชาปรัชญาและศาสนา  5. ภาควิชาภาษาไทย  6. ภาควิชาภาษาอังกฤษ  7. ภาควิชาภูมิศาสตร์  8. ภาควิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์  9. ภาควิชาศิลปศึกษา  10. ภาควิชาสังคมวิทยา  

พ.ศ. 2538 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏเปลี่ยนชื่อเป็น “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” เปิดสอนในระดับปริญญาตรีสาขาศิลปะศาสตร์ แบ่งการบริหารออกเป็น 10 ภาควิชาและ 1โปรแกรมวิชา  ได้แก่ 1. ภาควิชานาฏศิลป์และดนตรี 2. ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ 3. ภาควิชาประวัติศาสตร์ 4. ภาควิชาปรัชญาและศาสนา 5. ภาควิชาภาษาไทย 6.ภาควิชาภาษาอังกฤษ 7. ภาควิชาภูมิศาสตร์ 8. ภาควิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ 9. ภาควิชาศิลปศึกษา 10. ภาควิชาสังคมวิทยา 11. โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา 

กิจกรรมนักศึกษา
การเรียนการสอน


พ.ศ.  2542 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ได้จัดการบริหารการเรียนการสอนแบบโปรแกรมวิชา ประกอบด้วย  8  โปรแกรมวิชา  ดังนี้ 1. โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน 2. โปรแกรมวิชาดนตรี 3. โปรแกรมวิชานาฏศิลป์ 4. โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ 5. โปรแกรมวิชาภาษาไทย 6. โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ 7. โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 8. โปรแกรมวิชาศิลปะ นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมบริหารโปรแกรมวิชาในสาขาการศึกษากับคณะครุศาสตร์ ดังนี้ 1. โปรแกรมวิชาศิลปกรรม  (ดนตรี) 2. โปรแกรมวิชาศิลปกรรม  (นาฏศิลป์และการแสดง) 3. โปรแกรมวิชาศิลปกรรม  (ทัศนศิลป์) 4. โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์ 5. โปรแกรมวิชาภาษาไทย 6. โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ 7. โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา

การเรียนการสอน

 

พ.ศ.  2547 ประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏบัญญัติให้สถาบันราชภัฏเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา  18 (9) และมาตรา 37  วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดการบริหารการเรียนการสอนแบบโปรแกรมวิชา ประกอบด้วยโปรแกรมวิชาดังนี้ 1. โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน 2. โปรแกรมวิชาดนตรี 3. โปรแกรมวิชานาฏศิลป์ 4. โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ 5. โปรแกรมวิชาภาษาไทย 6. โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ 7. โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 8. โปรแกรมวิชาศิลปกรรม 

การเรียนการสอน

พ.ศ.  2548 –  พ.ศ.  2554  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ได้จัดการบริหารการเรียนการสอนแบบสาขาวิชามีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 10 หลักสูตร ดังนี้ 1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 2. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ 3. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ 4. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม 5. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ 6. หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง 7. หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีดนตรี 8. หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรม 9. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ 10. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 

นอกจากนี้ ยังมีส่วนร่วมในการบริหารหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตร่วมกับคณะครุศาสตร์ ดังนี้ 1. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ 2. สาขาวิชาภาษาไทย 3. สาขาวิชาสังคมศึกษา 4. สาขาวิชาดนตรีศึกษา 5.สาขาวิชานาฏศิลป์ 6. สาขาวิชาทัศนศิลป์  

พ.ศ.  2555 –  ปัจจุบัน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดการบริหารการเรียนการสอนแบบสาขาวิชามีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรีตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)  จำนวน  15  หลักสูตร  ดังนี้

อาคาร AEC พื้นที่การศึกษาสามพร้าว
อาคาร PL พื้นที่การศึกษาสามพร้าว

1.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม 2. หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี 3. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชานิติศาสตร์ 4. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน 5. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 6. หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ 7. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษ 8. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ 9. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ 10. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 11. หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง 12. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนา 13 หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ 14. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ) และ 15. หลักสูตรศิลปกรรมบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรมพื้นถิ่น

อาคาร 18 พื้นที่การศึกษาในเมือง
อาคาร 19 พืนที่การศึกษาในเมือง

นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในการบริหารหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตร่วมกับคณะครุศาสตร์ ดังนี้ 1. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ 2. สาขาวิชาภาษาไทย 3. สาขาวิชาสังคมศึกษา 4. สาขาวิชาดนตรีศึกษา 5. สาขาวิชาศิลปศึกษา 6. สาขาภาษาเวียดนามและภาษาอังกฤษ

พ.ศ. 2562 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานคณะ และสาขาวิชาต่าง ๆ(ยกเว้นสาขาวิชาดนตรี สาขาวิชาศิลปะการแสดง สาขาวิชาทัศนศิลป์ และสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ ) มาทำการเรียนการสอน ณ พื้นที่การศึกษาสามพร้าว เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2562

สัญลักษณ์

  • สัญลักษณ์ประจำคณะ
  • สีประจำคณะ

  สีแสด

หลักสูตร

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 15 หลักสูตร โดยมีหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พื้นที่ในเมือง จำนวน 6 หลักสูตร และจัดการเรียนการสอนพื้นที่สามพร้าว จำนวน 9 หลักสูตร ดังนี้

  • หลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พื้นที่ในเมือง
    • 1. หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) สาขาวิชาศิลปะการแสดง
    • 2. หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) สาขาวิชาดนตรี
    • 3. หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ (ทัศนศิลป์) หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ (แขนงออกแบบนิเทศศิลป์)
    • 4. หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ (ออกแบบกราฟิก) หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ (ออกแบบเแฟชั่น)
    • 5. หลักสูตรศิลปกรรมพื้นถิ่น (ศป.บ.) สาขาวิชาศิลปกรรมพื้นถิ่น
    • 6. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ) ภาษาอังกฤษธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • หลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พื้นที่สามพร้าว
    • 1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาภาษาจีน
    • 2. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
    • 3. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
    • 4. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
    • 5. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
    • 6. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณรักษศาสตร์
    • 7. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนา
    • 8. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
    • 9. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) สาขาวิชานิติศาสตร์

คณบดี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยโท ดร.เกรียงไกร ธุระพันธ์

ทำเนียบคณบดี

ลำดับที่ ชื่อ – นามสกุล ตำแหน่ง พ.ศ.
1 นายสมศักดิ์ ประจะเนย์ คณบดี 2519
2 นายสมศักดิ์ อินทรพาณิชย์ คณบดี 2526 - 2530
3 นางสุปราณี คำเมือง คณบดี 2530 - 2534
4 ผศ.สิทธิ มาลัยวงษ์ คณบดี 2534
5 ผศ.วรรณภา ถาวรจักร์ คณบดี 2534 - 2538
6 รศ.ภมร ขันธหัตถ์ คณบดี 2538 - 2540
7 ผศ.สมาน วีรกุล คณบดี 2540 - 2542
8 ผศ.สุรพงษ์ ลือทองจักร คณบดี 2542 - 2546
9 ผศ.จินตนา ด้วงแพง คณบดี 2546 - 2552
10 รศ.สุรพงษ์ ลือทองจักร คณบดี 2552 - 2560
11 รศ.ประภากร แก้ววรรณา คณบดี 2 เม.ย. 2560 - 22 ม.ค. 2561
12 อ.ดร.ศิลปชัย เจริญ คณบดี 24 มี.ค. 2561 - 23 มี.ค. 2565
13 ผศ.ว่าที่ ร.ท. ดร.เกรียงไกร ธุระพันธ์ คณบดี 23 เม.ย. 2565 ถึงปัจจุบัน

อ้างอิง

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี[1]

  1. "UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY". www.udru.ac.th (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-01. สืบค้นเมื่อ 2017-05-21.
Kembali kehalaman sebelumnya