คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อังกฤษ: Faculty of Liberal Arts, Thammasat University) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2504 โดยเป็นคณะศิลปศาสตร์ แห่งแรก และคณะลำดับที่ 2 ของประเทศที่จัดการเรียนการสอนด้านศิลปศาสตร์ ในประเทศไทย มีภารกิจเบื้องต้นในการจัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานให้แก่นักศึกษาทุกคณะในมหาวิทยาลัยก่อนจะเลือกเข้าศึกษาแขวงวิชาเฉพาะด้านสำหรับคณะตน ปัจจุบัน คณะศิลปศาสตร์มีหน้าที่ทำการสอนวิชาด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ อีกทั้งภาษาต่างประเทศ โดยมีการจัดการเรียนการสอนด้านศิลปศาสตร์ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ อีกทั้งเป็นวิชาเลือกให้แก่นักศึกษาทั่วทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้เลือกเรียนได้อย่างเสรี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังเป็นคณะที่ค่อนข้างมีการแข่งขันสูงมาก โดยรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีคะแนนสอบแอดมิชชั่นทั้งประเทศสูงสุด 1 ใน 10 ของประเทศมาโดยตลอด (โดยปีการศึกษา 2559 และ 2560 รับนักเรียนที่มีคะแนนแอดมิชชั่นสูงสุดอันดับ 3 ของประเทศ และในปีการศึกษา 2561 ในระบบการรับตรงใหม่หรือ TCAS คณะศิลปศาสตร์มีคะแนนสอบเข้าสูงที่สุดในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยคะแนน 94.45 คะแนน)[1][2][3] คณะศิลปศาสตร์ยังได้รับการจัดอันดับงานวิจัยมหาวิทยาลัยทั่วโลก (QS World University Rankings by Subject) ให้เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยในสาขาปรัชญา สาขาประวัติศาสตร์ และสาขาภาษาสมัยใหม่ และอีกทั้งยังติด 3 ของประเทศอันดับในสาขาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ และสาขาภาษาศาสตร์[4] ประวัติคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2504 ด้วยดำริของศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ซึ่งดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกของคณะด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานทั่วไปให้แก่นักศึกษาทุกคณะในมหาวิทยาลัย ก่อนเลือกแขนงวิชาเฉพาะทางของคณะต่าง ๆ ทั้งนี้ เป็นไปตามจุดมุ่งหมายสองประการคือ
โดยในยุคเริ่มแรก คณะศิลปศาสตร์ ได้ทำการสอนด้านศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้แก่ทั้งมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นวิชาพื้นฐาน และอีกทั้งประสาทปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต 5 สาขาวิชาอันได้แก่ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาสถิติ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ และสาขาวิชาภาษาศาสตร์ ซึ่งสาขาเหล่านี้ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2504 อันเป็นสาขาปีเดียวกันกับการต่อตั้งคณะศิลปศาสตร์แต่เดิม โดยชื่อคณะศิลปศาสตร์นั้นได้รับประทานนามจาก พระองค์เจ้าวรรณไวทยากรณ์ โดยเริ่มทำการสอนครั้งแรกในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2505 โดยเปิดสอนรายวิชาศิลปศาสตร์ให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของทั่วทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อนที่จะเลือกเข้าศึกษาตามคณะหรือสาขาวิชาต่างๆในชั้นปีต่อไป โดยดังนี้จึงถือเอาวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2505 เป็นวันสถาปณา "คณะศิลปศาสตร์" ในแต่เดิมที่คณะศิลปศาสตร์ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับท่าพระจันทร์ในการสร้างตึกโดยสร้างตึก "คณะศิลปศาสตร์" เป็นสองตึกโดยแต่เดิมเป็นตึก 5 ชั้น และ 3 ชั้น โดยเป็นอาคารต้นแบบสถาปัตยกรรมรูปแบบสมัยนิยม (Modernism) ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 ได้ขยายอาคาร 5 ชั้นต่อเติมเพิ่มเป็น 8 ชั้น ก่อนการขยายการศึกษาไปยังศูนย์รังสิตอาคารคณะศิลปศาสตร์จึงเป็นอาคารที่สามารถรองรับนักศึกษาทั้งท่าพระจันทร์ได้ในสมัยนั้น ต่อมาเมื่อมีการขยายการศึกษาไปยังศูนย์รังสิต คณะศิลปศาสตร์จึงเริ่มพิจารณาการเรียนการสอนบางสาขาวิชาให้ย้ายไปยังศูนย์รังสิตด้วย โดยเริ่มแรกมีการย้ายสาขาจิตวิทยาและสาขาวิชาภูมิศาสตร์ไปยังศูนย์รังสิตเป็นกลุ่มแรก โดยพิจารณาการศึกษารายวิชาบางวิชาให้ไปศึกษาที่ศูนย์รังสิตแล้วให้มาศึกษาที่ท่าพระจันทร์ในช่วงชั้นปีสุดท้าย แม้กระนั้นด้วยการขยายตัวของคณะและมหาวิทยาลัยเอง การบริหารและสาขาวิชาต่างๆได้มีนโยบายตามนโยบายมหาวิทยาลัยที่ระบุว่าให้นักศึกษาปริญญาตรีภาคปกติเริ่มศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เต็มรูปแบบโดยใช้อาคารคณะศิลปศาสตร์ 9 ชั้น 2 ปีก ของศูนย์รังสิตซึ่งมี่เนื้อที่รองรับต่อการขยายตัวของสาขาวิชาและนักศึกษาเป็นที่สถานที่สำหรับการศึกษาหลักในระดับชั้ยปริญญาตรีเป็นต้นมา ในส่วนของสาขาวิชาต่าง ๆ คณะศิลปศาสตร์ได้ขยายการเรียนการสอนในสายมนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้กว้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนมากให้ โดยมีการบุกเบิกสาขาและศาสตร์ต่างเรื่อยมาตามลำดับหลังจาก 5 สาขาก่อตั้งอาทิ สาขาวิชาจิตวิทยา (พ.ศ. 2507) สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ (พ.ศ. 2509) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (พ.ศ. 2513) สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น สาขาวิชาปรัชญา สาขาวิชาภาษาเยอร์มัน สาขาวิชาฝรั่งเศส และ สาขาวิชาภูมิศาสตร์ (พ.ศ. 2514) สาขาวิชาภาษาจีน และ สาขาวิชาภาษาไทย (พ.ศ. 2518) สาขาวิชาการละคอน (พ.ศ. 252X) สาขาวิชาศาสนา (พ.ศ. 2525) ต่อมาสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสาขาวิชาสถิติได้รับการยกฐานะให้ขึ้นตรงกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมกับการก่อตั้งและขยายการศึกษาไปศูนย์รังสิตในปี พ.ศ. 2529 และสาขาวิชาการละคอนได้รับการยกฐานะจากงบประมาณจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์และโอนสาขาวิชาการละคอนไปสังกัดคณะศิลปกรรมศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา ส่วนสาขาวิชาศาสนาได้ทำการปิดการเรียนการสอนและยุบเหลือแค่วิชาโท สาขาวิชาภาษารัสเชีย (พ.ศ. 2518 และได้รับการยกเป็นภาควิชาในปี พ.ศ. 2536) คณะศิลปศาสตร์ยังได้ริเริ่มการสอนหลักสูตรนานาชาติเพื่อตอบสนองความต้องการในยุคสมัยใหม่โดยเปิดสอน สาขาวิชาอังกฤษ–อเมริกันศึกษา ในปี พ.ศ. 2541 หน่วยงาน
หลักสูตรปัจจุบัน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตร ดังต่อไปนี้
ทำเนียบคณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีรายนามคณบดีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังต่อไปนี้
กิจกรรมนักศึกษาการรับเพื่อนใหม่ของคณะฯคณะกรรมการนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กนศ.ศศ.) เป็นผู้จัดกิจกรรมรับเพื่อนใหม่ของคณะฯ หรืองาน "สืบสานตำนานศิลป์" ขึ้นเป็นประจำทุกปี จัดขึ้น ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกับวันแรกพบของมหาวิทยาลัย เดิมกำหนดเป็นวันที่ 11 พฤษภาคมของทุกปี อันจะตรงกับวันปรีดี ต่อมาหลังจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายเปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัยจึงได้เปลี่ยนมาจัดระหว่างเดือนกรกฎาคม–สิงหาคม ก่อนวันงานปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ในงานจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อให้นักศึกษาใหม่ได้รู้จักบริเวณสำคัญต่าง ๆ รอบมหาวิทยาลัย ให้นักศึกษาใหม่ทำความรู้จักกับนักศึกษารุ่นพี่และเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน รวมถึงให้นักศึกษารุ่นพี่ทำความรู้จักกับนักศึกษาใหม่ ทำให้สามารถให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษากันได้ในระหว่างเปิดภาคเรียนใหม่ อันจะทำให้นักศึกษาใหม่สามารถปรับตัวและเตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยได้ดียิ่งขึ้น กลุ่มโต๊ะและตระกูลคณะศิลปศาสตร์ แบ่งกลุ่มนักศึกษาหรือที่เรียกว่า "โต๊ะ" ออกเป็น 6 ตระกูล และแต่ละตระกูลก็จะแบ่งย่อยไปเป็นกลุ่มเล็ก ๆ อีก เช่น จอว์ 1 จอว์ 2 จอว์ 3 เป็นต้น โดยนักศึกษาใหม่แต่ละคนจะต้องสุ่มจับฉลากเพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกโต๊ะได้เพียง 1 โต๊ะเท่านั้น และจะเป็นสมาชิกโต๊ะนั้นไปตลอดตั้งแต่เรียนไปจนจบจนถึงทำงานก็จะมีกิจกรรมที่ให้ทำร่วมกันเสมือนเป็นครอบครัวในมหาวิทยาลัยที่ช่วยเสริมสัมพันธ์พี่น้อง ดังนั้นจุดประสงค์ในการที่ทุกคนควรมีโต๊ะ–ตระกูลเป็นของตัวเองก็เพื่อสะดวกในการให้คำแนะนำหรือให้ปรึกษา การทำกิจกรรมก่อให้เกิดความคุ้นเคยสนิทสนมกลมเกลียวกันระหว่าง "เพื่อนใหม่" ซึ่งเป็นอุดมการณ์ของมหาวิทยาลัยที่ผู้ที่เข้ามาศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีความเท่าเทียมกัน ไม่มีรุ่นพี่รุ่นน้อง เราคือเพื่อนกัน และได้ตั้งชื่อกลุ่มโต๊ะต่าง ๆ ตามสถานที่สำคัญในบริเวณอาคารของคณะศิลปศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ดังนี้
โครงการสานสัมพันธ์อักษรศิลป์ (One Arts)งานกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง 4 คณะวิชาด้านภาษาและมนุษยศาสตร์ ได้แก่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แต่เดิมใช้ชื่อว่า "งานสานสัมพันธ์อักษร" โดยเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง 2 คณะอักษรศาสตร์ของประเทศไทย แต่ทางคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มาเข้าร่วมด้วยในภายหลัง จึงเปลี่ยนชื่อเป็นงาน Tri Arts และล่าสุด ทางคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมด้วยเช่นกัน ทำให้มีมากกว่า 3 มหาวิทยาลัย จึงตั้งชื่อกิจกรรมขึ้นมาใหม่ว่างาน One Arts เพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกันของทั้ง 4 มหาวิทยาลัย ภายในงานมีการแข่งขันกีฬา การแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ การเชียร์โต้ และโชว์เชียร์ลีดเดอร์จากแต่ละคณะ อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น |