คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Faculty of Arts, Silpakorn University) เป็นคณะวิชาลำดับที่ 5 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นคณะวิชาแรกของวิทยาเขตแห่งใหม่ คือ วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ณ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ซึ่งถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ประวัติ
เทพประจำคณะเทวีแห่งสรรพความรู้อันล้ำเลิศ สัญลักษณ์แห่งศิลปะทุกแขนง และเป็นเทวีแห่ง "อักษรศาสตร์" ประทับอยู่บนดอกบัว แสดงถึงการแสวงหาความรู้ มีพาหนะเป็นหงส์และนกยูง แสดงถึงการแยกแยะระหว่างความจริงและความลวงจากกัน พระองค์ทรงเครื่องดนตรีที่เรียกว่า วีณา หรือ จะเข้ ของอินเดียอยู่เสมอ เป็นสัญลักษณ์แห่งการดนตรีศิลปะทุกแขนงและการสร้างสรรค์ ในพระหัตถ์ทรงถือคัมภีร์พระเวท แสดงถึงความรู้และการศึกษา พระหัตถ์อีกข้างทรงถือลูกประคำ ซึ่งหมายถึงการมีสมาธิในการศึกษาหาความรู้ พระสุรัสวดีประจำคณะอักษรศาสตร์สร้างด้วยทองเหลือง เป็นศิลปะอินเดียในปางยืน สูง 130 เซนติเมตร ประกอบพิธีเทวาภิเษกและประดิษฐานขึ้นเนื่องในวันสถาปนาคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เพื่อเป็นที่สักการะของอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาของคณะอักษรศาสตร์ เทพเจ้าแห่งการริเริ่มสร้างสรรค์ ขจัดอุปสรรค มักได้รับการบูชาก่อนเทพเจ้าอื่น ๆ ในการเริ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ ทรงประทับบนเมฆ พระหัตถ์ขวาบนถือตรีศูล พระหัตถ์ด้านขวาล่างถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนถือปาศะ (เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างถือครอบน้ำ ประทับลวดลายกนกซึ่งเป็นพระราชนิยม ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) และยังทรงสถาปนาพระพิฆเนศขึ้นเป็นเทพเจ้าประจำ พระราชวังสนามจันทร์ ทั้งยังเป็นตราของ กรมศิลปากร และตราสัญลักษณ์ประจำ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระพิฆเนศประจำคณะอักษรศาสตร์จัดสร้างขึ้นเนื่องในวาระการสถาปนาคณะอักษรศาสตร์ครบรอบ 45 ปี ประกอบพิธีเทวาภิเษกและประดิษฐานในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556 โดยออกแบบจากตราสัญลักษณ์ประจำคณะ ในปางประทับนั่งมี 4 กร ในพระกรทรงวชิราวุธซึ่งเป็นอาวุธตามพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งแสดงถึงการทำลายอุปสรรค หน่วยงาน
หลักสูตร
ทำเนียบคณบดี
กิจกรรมนักศึกษา
เป็นค่ายที่รับสมัครน้อง ๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า เพื่อมาร่วมเปิดประสบการณ์ ตามหาคำตอบว่าอักษรศาสตร์คืออะไร และอยากมาเป็นชาวอักษรศาสตร์ได้อย่างไร
กิจกรรมสำหรับน้องใหม่ได้ทำความรู้จักคณะอักษรศาสตร์ ก่อนเข้ามาศึกษา
กิจกรรมนี้ถูกจัดขึ้นเพื่อให้น้องใหม่ได้ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ที่จะใช้ชีวิตการเรียนร่วมกัน และเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อน พี่น้อง ร่วมสถาบันเดียวกัน นอกจากนี้ยังเป็นการให้น้องใหม่มีระเบียบวินัย รู้จักการเสียสละและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น กิจกรรมนี้ถูกจัดขึ้นช่วงภาคการศึกษาต้นที่มีนักศึกษาใหม่ทุกปี
กิจกรรมที่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จัดให้กับนักศึกษาน้องใหม่ รวมถึงนักศึกษาชั้นปีอื่น ๆ ก็จะมาเข้าร่วมกิจกรรม เป็นกิจกรรมเพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง
กิจกรรมที่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จัดให้กับนักศึกษารุ่นพี่ เพื่อเป็นการขอบคุณสำหรับการให้ดูแลจัดกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ให้ตลอดช่วงการรับน้องใหม่ของแต่ละปีการศึกษา
กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาอักษรศาสตร์ที่เรียนดีและมีความสามารถ เข้าร่วมการประกวดเพื่อได้รับการคัดเลือกเป็น Trendy & Smart Arts Ambassador และ Trendy & Smart Team เพื่อเป็นกลุ่มตัวแทนและพัฒนาจิตอาสาช่วยเหลือกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะฯ
กิจกรรมที่นักศึกษารุ่นน้องจัดให้กับนักศึกษารุ่นพี่ชั้นปีที่ 4 เพื่อเป็นการแสดงความยินดีที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา
การประกวดวงดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวศิลปากร โดยมีสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ
กิจกรรมแนะนำชมรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยศิลปากรให้กับน้องใหม่ เพื่อการเรียนรู้เพิ่มเติมนอกเหนือตำราเรียน อีกทั้งน้อง ๆ จะได้ทำความรู้จักกับเพื่อน ๆ รุ่นพี่ และได้ฝึกฝนการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น โดยมีสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ
เป็นโครงการที่มีเป้าหมายให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะด้านต่าง ๆ ของภาษาที่เรียนมา และได้เรียนรู้การใช้ชีวิต สังคม และวัฒนธรรม ของเจ้าของภาษา โครงการทัศนศึกษา ณ ต่างประเทศ ได้แก่ โครงการศึกษาภาษาจีน โครงการศึกษาภาษาเกาหลี โครงการศึกษาภาษาฝรั่งเศส และโครงการทัศนศึกษาของสาขาวิชาเอเชียศึกษา
งานกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง 4 คณะวิชาด้านภาษาและมนุษยศาสตร์ ได้แก่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แต่เดิมใช้ชื่อว่า "งานสานสัมพันธ์อักษร" โดยเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง 2 คณะอักษรศาสตร์ของประเทศไทย แต่ทางคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มาเข้าร่วมด้วยในภายหลัง จึงเปลี่ยนชื่อเป็นงาน Tri Arts และล่าสุด ทางคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมด้วยเช่นกัน ทำให้มีมากกว่า 3 มหาวิทยาลัย จึงตั้งชื่อกิจกรรมขึ้นมาใหม่ว่างาน One Arts เพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกันของทั้ง 4 มหาวิทยาลัย ภายในงานมีการแข่งขันกีฬา การแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ การเชียร์โต้ และโชว์เชียร์ลีดเดอร์จากแต่ละคณะ เกร็ด
อ้างอิง
ดูเพิ่มแหล่งข้อมูลอื่น |