Share to:

 

สง่า กิตติขจร

สง่า กิตติขจร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
24 มิถุนายน พ.ศ. 2513 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2514
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462
เสียชีวิต21 กันยายน พ.ศ. 2537 (75 ปี)
คู่สมรสคุณหญิงระวิ กิตติขจร

พลตำรวจตรี สง่า กิตติขจร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 1 สมัย

ประวัติ

พล.ต.ต. สง่า กิตติขจร เกิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 เป็นบุตรของขุนโสภิตบรรณารักษ์ (อำพัน กิตติขจร) กับนางลิ้นจี่ โสภิตบรรณารักษ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 7 คน หนึ่งในนั้นคือ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทย ซึ่งเป็นพี่ชาย

ชีวิตครอบครัวสมรสกับคุณหญิงระวิมีบุตร-ธิดา 3 คน มีหญิง 1 คน ชาย 2 คน

ยศและตำแหน่ง

พลตำรวจตรีสง่าได้รับพระราชทานยศ ร้อยตำรวจตรี เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2483 ขณะเป็นนักเรียนนายร้อยก่อนจะได้รับพระราชทานยศและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้

  • 12 ธันวาคม พ.ศ. 2483 - ร้อยตำรวจตรี[1]
  • 27 สิงหาคม พ.ศ. 2486 - ร้อยตำรวจโท[2]
  • 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 - ร้อยตำรวจเอก[3]
  • 2 ตุลาคม พ.ศ. 2496 - พันตำรวจตรี[4]
  • 3 ตุลาคม พ.ศ. 2499 - พันตำรวจโท[5]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2502 - พันตำรวจเอก[6]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 - พลตำรวจตรี[7]

งานการเมืองและจุดยืนทางการเมือง

พล.ต.ต. สง่า เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2509 ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร[8] เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[9] และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่[10] (ส.ส.เชียงใหม่) สังกัดพรรครวมไทย ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522 และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2513 แทนนายจิตติ สุจริตกุล ที่ถึงแก่อนิจกรรม[11]

ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ [12]

แม้จะเป็นน้องชายของจอมพลถนอม กิตตขจร แต่พล.ต.ต.สง่า กลับมีจุดยืนทางการเมืองตรงกันข้ามกับพี่ชายตนเอง โดยหลังการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 ที่ทางพรรคสหประชาไทยของจอมพลถนอมได้รับเสียงข้างมาก และได้รับการจัดตั้งรัฐบาล นายชวน หลีกภัย ซึ่งในขณะนั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกจากจังหวัดตรัง (ส.ส.ตรัง) ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นฝ่ายค้าน ได้ทำการอภิปรายรัฐบาลอย่างโดดเด่น แม้จะมีเนื้อหาที่เชือดเฉือนการทำงานของรัฐบาล แต่ พล.ต.ต.สง่า ซึ่งเป็นกรรมการบริหารพรรคสหประชาไทยกลับเอ่ยชมว่า "เป็นความหวังของสภาฯ และเป็นบุคคลที่พรรคสหประชาไทยต้องการตัว" [13]

อีกทั้งก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ไม่นาน พล.ต.ต.สง่าได้แสดงความเห็น ขณะที่อยู่ที่บ้านพักในจังหวัดลำปางว่า รัฐบาลควรจะฟังเสียงของประชาชนและควรจะให้มีรัฐธรรมนูญตามที่ประชาชนเรียกร้อง อีกทั้งยังได้เป็นผู้ร่วมลงชื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่มีจำนวน 100 คนอีกด้วย และยังกล่าวชม นายธีรยุทธ บุญมี ซึ่งเป็นนักศึกษาคนหนึ่งที่เป็นแกนนำในการเรียกร้องว่า เป็นเด็กเก่ง สามารถสอบเป็นที่หนึ่งของประเทศได้ ทั้ง ๆ ที่พ่อเป็นเพียงนายตำรวจชั้นประทวน[14]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๓๑๐๐)
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๒๘๔๒)
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๙๐๒)
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๖)
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๓)
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๓)
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
  8. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี
  9. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  10. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
  11. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  12. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-09-23.
  13. กินอยู่เรียบง่าย สบายแบบชาวบ้าน ชวน หลีกภัย ลูกแม่ค้าขายพุงปลา โดย เริงศักดิ์ กำธร (พ.ศ. 2545) ISBN 974-85645-2-5
  14. ประวัติศาสตร์การศึกษา วันมหาวิปโยค 14 ตุลา 16 - 6 ตุลา 19 โดย แปลก เข็มพิลา ISBN 974-7753-87-1
  15. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  16. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
  17. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
Kembali kehalaman sebelumnya