พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร (เกิด 25 มิถุนายน พ.ศ. 2488) เป็นนายทหารชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด, ผู้บัญชาการทหารบก
ประวัติ
ชีวิตส่วนตัว
พล.อ. ชัยสิทธิ์ ชินวัตร มีชื่อเล่นว่า "ตุ้ย" เกิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2488 เป็นบุตรของ พ.อ.พิเศษ ศักดิ์ ชินวัตร และนางทวี ชินวัตร
พล.อ. ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เป็นพี่ชาย ร.อ. กัปตัน ประวิตร ชินวัตร อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายปฏิบัติการ [1] บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และพี่ชาย พ.ท. สุรจิตร ชินวัตร
ต่อมา ชัยสิทธิ์ได้สมรสกับคุณวีณา ชินวัตร (สุขสภา) มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวลัฆวี ชินวัตร และนายวีรสิทธิ์ ชินวัตร ผู้จัดการฝ่ายการตลาดองค์กร บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด นอกจากนี้ พล.อ. ชัยสิทธิ์ ยังเป็นญาติผู้พี่ของ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
การศึกษา
สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2503 หลังจากนั้นได้สอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 5 และได้เลือกเข้าศึกษาต่อเป็นนักเรียนนายร้อย (จปร.รุ่นที่ 16 ) ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยเลือกเหล่าทหารช่าง จนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2511 และได้รับพระราชทานยศเป็น ว่าที่ ร.ต. ในตำแหน่งผู้บังคับหมวดทหารช่าง สังกัดกองพันทหารช่างที่ 4
การทำงาน
ตำแหน่งราชการ
- พ.ศ. 2512 : ผู้บังคับหมวดกองพันทหารช่างที่ 4
- พ.ศ. 2516 : ผู้บังคับกองร้อยทหารช่าง กองพันทหารช่างที่ 4
- พ.ศ. 2517 : นายทหารส่งกำลัง กองพันทหารช่างที่ 3
- พ.ศ. 2518 : ครูโรงเรียนทหารช่าง กรมการทหารช่าง
- พ.ศ. 2521 : ผู้บังคับกองร้อย โรงเรียนทหารช่าง กรมการทหารช่าง
- พ.ศ. 2522 : ผู้ช่วยหัวหน้ากองส่งกำลัง กองทัพภาคที่ 3
- พ.ศ. 2524 : นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กองแผน และโครงการกองบัญชาการช่วยรบที่ 3
- พ.ศ. 2525 : นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กองพันทหารช่างที่ 112
- พ.ศ. 2526 : นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กรมทหารช่างที่ 11
- พ.ศ. 2528 : เสนาธิการกรมทหารช่างที่ 11
- พ.ศ. 2530 : รองผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 11
- พ.ศ. 2533 : ผู้บังคับการกรมพัฒนาที่ 4 กองพลพัฒนาที่ 4
- พ.ศ. 2539 : ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่ 4
- พ.ศ. 2541 : ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42
- พ.ศ. 2544 : รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการทหารสูงสุด
- พ.ศ. 2545 : ที่ปรึกษาพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด
- พ.ศ. 2545 : ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ. 2546 : ผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ. 2547 : ผู้บัญชาการทหารสูงสุด[2]
งานการเมือง
พล.อ. ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เคยมีกระแสข่าวว่าจะดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[3][4] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ในปี พ.ศ. 2554[5] ในปี พ.ศ. 2561 พล.อ. ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาพรรคพลังปวงชนไทย[6] ส่วนนายนิคม บุญวิเศษเป็นหัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย[7] ซึ่งถูกมองว่าเป็นนอมินีของพรรคเพื่อไทย[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ไทย
ต่างประเทศ
- สิงคโปร์ :
- พ.ศ. 2548 – เครื่องอิสริยาภรณ์อุตมะ บักติ เจเมอร์ลัง (เท็นเทรา)[14]
- พ.ศ. 2547 – เหรียญปิงกัต จาซา เกมิลัง (เท็นเทรา)[15]
- เนเธอร์แลนด์ :
อ้างอิง
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-05-17.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2547/B/026/34.PDF
- ↑ ชัยสิทธิ์ ชินวัตร พร้อมนั่งหน.เพื่อไทย
- ↑ ชัยสิทธิ์ นั่งหัวหน้าพรรค เพื่อไทย
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 146/2554 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 2018-10-01.
- ↑ http://www.nationtv.tv/main/content/378670467/
- ↑ https://www.springnews.co.th/programs/insidethailand/356162
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๕๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐, ๒๙ มีนาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๑๘, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
- ↑ Distinguished Service Order (Military) Award Conferment Ceremony at the Istana Pictured: President S R Nathan and Award recipient Supreme Commander of the Royal Thai Armed Forces (RTARF) General Chaisit Shinawatra
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 121, ตอนที่ 6 ข หน้า 3, 25 มีนาคม พ.ศ. 2547
|
---|
นายกรัฐมนตรี | | |
---|
กิจกรรมทางการเมือง | |
---|
เหตุการณ์ | |
---|
ประเด็นพิพาท | |
---|
อาชีพทางธุรกิจ | |
---|
สถาบันที่มีชื่อเดียวกัน | |
---|
เครือญาติ | |
---|
สถานที่พำนัก | |
---|
|
---|
กลุ่มเคลื่อนไหวในช่วงปี พ.ศ. 2550–2553 และ พ.ศ. 2556–2557 |
|
|
|
ผู้เป็นแนวร่วมที่มีชื่อเสียง |
---|
การเมือง | |
---|
ศิลปินและดารา | |
---|
ทหาร/ตำรวจ | |
---|
นักธุรกิจ | |
---|
นักวิชาการ | |
---|
สื่อมวลชน | |
---|
อื่น ๆ | |
---|
|
|
|
|
|