ประเทศคอสตาริกา
คอสตาริกา (สเปน: Costa Rica, ออกเสียง: [ˈkosta ˈrika]; แปลว่า ชายฝั่งอันมั่งคั่ง) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐคอสตาริกา (República de Costa Rica) เป็นประเทศในภูมิภาคอเมริกากลาง มีอาณาเขตจรดประเทศนิการากัวทางทิศเหนือ จรดทะเลแคริบเบียนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จรดประเทศปานามาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จรดมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และมีพรมแดนทางทะเลจรดประเทศเอกวาดอร์ทางทิศใต้ของอิสลาเดลโกโก มีประชากรประมาณ 5 ล้านคน[10] ในพื้นที่ขนาด 51,060 ตารางกิโลเมตร (19,710 ตารางไมล์) โดยมีประชากรประมาณ 333,980 คนอาศัยอยู่ในซานโฮเซซึ่งเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุด และมีประชากรประมาณสองล้านคนอาศัยอยู่ในเขตมหานครโดยรอบ[11] คอสตาริกาเป็นรัฐเอกราชและเป็นรัฐเดี่ยวที่มีการปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐรัฐธรรมนูญระบบประธานาธิบดี มีประชาธิปไตยที่ยาวนานและมีเสถียรภาพ และมีแรงงานที่ได้รับการศึกษาสูง[12] ประเทศนี้ใช้จ่ายประมาณร้อยละ 6.9 ของงบประมาณ (ค.ศ. 2016) ไปกับการศึกษา ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 4.4[12] เศรษฐกิจของประเทศซึ่งครั้งหนึ่งเคยพึ่งพาการเกษตรอย่างมากได้คลี่คลายไปสู่ภาคส่วนอื่น ๆ เช่น การเงิน บริการลูกค้าธุรกิจสำหรับบริษัทต่างชาติ เภสัชกรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นต้น บริษัทด้านการผลิตและบริการหลายแห่งจากต่างประเทศเปิดดำเนินการในเขตการค้าเสรีของคอสตาริกาที่ซึ่งพวกเขาได้รับผลประโยชน์จากการลงทุนและแรงจูงใจด้านภาษี[13] คอสตาริกาเป็นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองโบราณหลายกลุ่มก่อนที่จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 บริเวณนี้ยังคงเป็นอาณานิคมรอบนอกของสเปนจนกระทั่งได้รับเอกราชในฐานะส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเม็กซิโกที่ 1 จากนั้นได้กลายเป็นสมาชิกของสหพันธ์สาธารณรัฐอเมริกากลาง และประกาศเอกราชจากสหพันธ์ดังกล่าวอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1847 บทสรุปของสงครามกลางเมืองใน ค.ศ. 1948 นำไปสู่การยกเลิกกองทัพอย่างถาวรใน ค.ศ. 1949 คอสตาริกาจึงกลายเป็นหนึ่งในชาติเอกราชเพียงไม่กี่ชาติที่ไม่มีกองทัพประจำการ[14][15][16] คอสตาริกาทำผลงานได้ดีอย่างต่อเนื่องในการจัดอันดับดัชนีการพัฒนามนุษย์ (เอชดีไอ) โดยอยู่ในอันดับที่ 58 ของโลกใน ค.ศ. 2022[17] โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นดีพี) กล่าวถึงประเทศนี้ว่าสามารถบรรลุการพัฒนามนุษย์ในระดับที่สูงกว่าประเทศอื่น ๆ ที่มีระดับรายได้เท่ากัน โดยมีดัชนีการพัฒนามนุษย์และความเสมอภาคที่ดีกว่าค่ามัธยฐานของภูมิภาค[18] นอกจากนี้ คอสตาริกายังทำผลงานได้ดีในการจัดอันดับสถานะประชาธิปไตย เสรีภาพสื่อ และความสุขเชิงอัตวิสัย โดยเป็นประเทศที่มีเสรีภาพสื่อมากที่สุดเป็นอันดับที่ 7 ตามดัชนีเสรีภาพสื่อ มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดเป็นอันดับที่ 37 ตามดัชนีเสรีภาพในโลก และมีความสุขมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ตามรายงานความสุขโลก ภูมิศาสตร์มีพื้นที่ประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร เทียบกับประเทศไทยแล้วเล็กกว่ากันถึง 10 เท่า มีจำนวนประชากรเพียง 5 ล้านคน เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ทำให้มีพืชพันธุ์ไม้อุดมสมบูรณ์ที่ไม่สามารถพบได้ในประเทศอื่น มีพื้นที่เป็นเขตป่าสงวนมากถึงร้อยละ 25 ของประเทศ และถือเป็นประเทศแรกในทวีปอเมริกาที่ออกกฎหมายห้ามล่าสัตว์ทุกชนิด และมูลนิธินิวอีโคโนมิค (NEF) ได้ประกาศให้เป็นประเทศที่มีความเขียวชอุ่ม หรือมีป่าไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลกอีกด้วย[19] การเมืองการปกครองรูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดี ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งจะอยู่ในตำแหน่งได้เป็นระยะเวลา 4 ปีเพียงครั้งเดียว นาย Oscar ARIAS Sanchez (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2549) นาง Laura Chinchilla จากพรรค (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2553) ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบรัฐสภาเดียว มีสมาชิกสภานิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง 57 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ฝ่ายตุลาการ ศาลสูงสุดของประเทศ (Supreme Court) มาจากการเลือกตั้งโดย สมาชิกสภานิติบัญญัติ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี การเลือกตั้งครั้งต่อไป กุมภาพันธ์ 2548 พรรคการเมืองสำคัญ Social Christian Unity Party (PUSC) (พรรครัฐบาล) Democrat Party National Liberation Party (Partido Liberacion Nacional) การต่างประเทศความสัมพันธ์กับสหรัฐคอสตาริกาให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในการดำเนินความร่วมมือภายใต้กรอบ Organization of the American States (OAS) และความใกล้ชิดกับสหรัฐ ฯ โดยเฉพาะในเรื่องการป้องกันประเทศซึ่งคอสตาริกาได้ยกเลิกกองกำลังทหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 นอกจากนี้ คอสตาริกายังให้ความสำคัญกับการต่อต้านการค้ายาเสพติด โดยเป็นประเทศแรกในอเมริกากลางที่ลงนามใน Maritime Counter-Narcotics Agreement กับสหรัฐ ซึ่งเป็นความร่วมมือเพื่อต่อต้านการลักลอบขนส่งยาเสพติดในน่านน้ำคอสตาริกา กองทัพคอสตาริกาเป็นหนึ่งในประเทศที่ไม่มีกองทัพ คอสตาริกายกเลิกกองทัพในปี พ.ศ. 2491 เพื่อแก้ปัญหาที่เป็นรากเหง้าทางการเมืองที่มีการรัฐประหารจากกองทัพที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทต่างชาติ การแบ่งเขตการปกครองคอสตาริกาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 จังหวัด ได้แก่
เศรษฐกิจข้อมูลดัชนีเศรษฐกิจดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจของคอสตาริกาประจำเดือนธันวาคม 2553 ชี้ว่าเศรษฐกิจของประเทศยังเติบโตต่ำ และเป็นไปในแนวทางเดียวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศที่ขยายตัวลดลงเรื่อย ๆ ตลอดปีที่ผ่านมา เมื่อเดือนธันวาคม 2553 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศลดลงอีกร้อยละ 2.3 จากเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ไปอยู่ในจุดที่ต่ำที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี มีบางภาคเศรษฐกิจที่ยังคงขยายตัวได้ ได้แก่ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการ ซึ่งขยายตัวร้อยละ 9.10 รวมทั้งอุตสาหกรรมการขนส่ง การสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งขยายตัวร้อยละ 6.42 ส่วนภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ ไม่มีความเปลี่ยนแปลงมากนัก ในขณะที่ภาคธุรกิจก่อสร้าง การผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งภาคการเหมืองแร่ และเหมืองหินมีอัตราการเจริญเติบโตที่ติดลบ สินค้าส่งออกของคอสตาริกาที่สำคัญและถือเป็นสินค้าที่สำคัญและมีชื่อเสียงที่สุด คือ กล้วยหอม[21] เงินทุนสำรองระหว่างประเทศในปี 2553 คอสตาริกามีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศประมาณ 4.584 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โครงสร้างการผลิตภายในประเทศ
ความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศความตกลงเขตการค้าเสรีพหุภาคีที่คอสตาริกาเป็นภาคีร่วมมี 1. CAFTA-DR (ความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างกลุ่มประเทศอเมริกากลาง และสาธารณรัฐคอมินิกัน กับสหรัฐอเมริกา) ลงนามเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2547 มีผลบังคับในคอสตาริกาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552 ทั้งนี้ กลุ่มประเทศอเมริกากลางเป็นตลาดส่งออกอันดับสามในกลุ่มละตินอเมริกาสำหรับสหรัฐฯ หลังจากเม็กซิโกและบราซิล การส่งออกจากสหรัฐฯ ไปยังกลุ่มประเทศ CAFTA-DR มีมูลค่า 26.3 พันล้านเหรียญฯ ในปี 2551 2. ความตกลงเขตการค้าเสรีพหุภาคีกับกลุ่มประเทศคาริบเบียน (CARICOM) ลงนามเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2547 มีผลบังคับในคอสตาริกาเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 โดยมีเงื่อนไขความตกลง 4 ระดับซึ่งเจรจากันระหว่างแต่ละประเทศอีกต่างหาก ได้แก่ การเปิดเสรีอัตโนมัติ การลดภาษีใน 4 ปี ข้อยกเว้นเป็นรายสินค้า และข้อยกเว้นสำหรับสินค้าเกษตรตามฤดูกาลสำหรับความตกลงเขตการค้าเสรีในระดับทวิภาคี คอสตาริกาได้ลงนามความตกลงไว้ 5 ประเทศ คือ กับเม็กซิโก (มีผลบังคับตั้งแต่ปี 2538) แคนาดา (2544) ชิลี (2545) สาธารณรัฐโดมินิกัน (2538) และปานามา (2551) และได้เริ่มกระบวนการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีกับ ประเทศจีน เมื่อปี 2550 และกับสหภาพยุโรป (AACUE) เมื่อปี 2549 ความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ICC/CBI (Caribbean Basin Initiative-1983), GSP-Europe และ ALCA/FTAA (Free Trade Areas of the Americas-1994) โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมและโทรคมนาคมมีเส้นทางการเดินทางแบบถนน 35,330 กิโลเมตร ทางรถไฟ 278 กิโลเมตร ทางน้ำ 730 กิโลเมตรที่ใช้เดินเรือได้เฉพาะเรือขนาดเล็ก สนามบิน 151 แห่ง มีท่อส่งก๊าซและน้ำมัน 796 กิโลเมตร ท่าเรือสำคัญ 2 แห่ง ประชากรชาวคอสตาริกาเป็นชนชาติผสมระหว่างสเปนกับชาวพื้นเมืองเดิม เรียกตัวเองว่า ติโก (tico) หรือ ติกา (tica)[22] อ้างอิง
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
|