ประเทศเซนต์ลูเชีย
เซนต์ลูเชีย (อังกฤษ: Saint Lucia; ฝรั่งเศส: Sainte-Lucie) เป็นประเทศที่เป็นเกาะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของทะเลแคริบเบียน และติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก[8] เซนต์ลูเชียเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส (Lesser Antilles) โดยอยู่ทางทิศเหนือของประเทศเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศบาร์เบโดส และทางทิศใต้ของเกาะมาร์ตินีกของฝรั่งเศส กินพื้นที่ 617 km2 (238 ตารางไมล์) และรายงานประชากรตามสำมะโน ค.ศ. 2010 ที่ 165,595 คน[9] ประเทศเซนต์ลูเชียรู้จักในนาม "Helen of the West" ศัพทมูลมีการตั้งชื่อเซนต์ลูเชียตามนักบุญลูซีแห่งซีรากูซา (ค.ศ. 283 – 304)[10] เซนต์ลูเชียและไอร์แลนด์เป็นรัฐอธิปไตยเพียงสองประเทศบนโลกที่ตั้งชื่อประเทศตามผู้หญิง (ไอร์แลนด์ตั้งชื่อตามเทพีแห่งการเจริญพันธุ์ของเซลติก Eire)[11] อย่างไรก็ตาม เซนต์ลูเชียเป็นประเทศเดียวที่ตั้งชื่อตามบุคคลที่มีจริงทางประวัติศาสตร์ ตำนานระบุว่าเรือของนักเดินเรือฝรั่งเศสอัปปางบนเกาะในวันที่ 13 ธันวาคม ตรงกับวันฉลองนักบุญลูซี ทำให้พวกเขาตั้งชื่อเกาะตามเธอเพื่อเป็นการให้เกียรติ[12] ประวัติศาสตร์เซนต์ลูเชียเป็นหนึ่งในหมู่เกาะวินด์เวิร์ด (Windward Islands) ได้รับการตั้งชื่อตามนามของนักบุญลูซีแห่งไซราคิวส์ ซึ่งเป็นนักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ชาวยุโรปมาเยือนเซนต์ลูเชียครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2043 มีการทำสนธิสัญญาระหว่างชนพื้นเมืองที่นี่กับฝรั่งเศส ทำให้เซนต์ลูเชียก็ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2203 ในระหว่างปี พ.ศ. 2206-2210 เซนต์ลูเชียถูกอังกฤษเข้ายึดครอง และต่อมา เกิดสงครามแย่งชิงเซนต์ลูเชียระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสทั้งหมด 14 ครั้ง จนท้ายที่สุด อังกฤษสามารถยึดครองเซนต์ลูเชียได้สมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2357 เซนต์ลูเชียเริ่มใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ในปี พ.ศ. 2467 (เริ่มเปิดให้มีการออกเสียงของประชาชนในปี พ.ศ. 2496) และในระหว่างปี พ.ศ. 2501-2505 เซนต์ลูเชียได้เข้าเป็นสมาชิกสหพันธรัฐเวสต์อินดีส ท้ายที่สุด ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 เซนต์ลูเชียได้รับเอกราช และเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพอังกฤษ ดังนั้นในวันนี้ของทุก ๆ ปีจึงถือเป็นวันหยุดสำคัญประจำชาติ นอกจากนี้วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ยังบังเอิญตรงกับวันเกิดของนักการทูตอังกฤษที่มีชื่อเสียงชื่อ ลูเซีย ลาดี (Lucia Ladi) อีกด้วย ภูมิศาสตร์เซนต์ลูเชียมีลักษณะเป็นเกาะภูเขาไฟที่มีภูมิประเทศมีความเป็นภูเขามากกว่าเกาะอื่น ๆ ในแถบทะเลแคริบเบียนส่วนใหญ่ โดยจุดที่สูงที่สุดของประเทศอยู่ที่เขากีมี ตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลที่ 950 เมตร (3,120 ฟุต)[10][13] ส่วนเขา Pitons ที่เป็นภูเขาสองลูก เป็นแลนด์มาร์กที่โด่งดังที่สุดของเกาะ[10][13] ทอดตัวระหว่างเขตซูฟรีแยร์และเขตชัวเซิล ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะ ป่าไม้ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 77% ของพื้นที่ทั้งหมด[10] นอกจากนี้ยังมีเกาะขนาดเล็กจำนวนมากริมชายฝั่ง โดยเกาะที่ใหญ่ที่สุดคือหมู่เกาะมาเรียทางตะวันออกเฉียงใต้ เมืองหลวงของประเทศนี้คือแคสตรีส์ (ประชากร 60,263) ซึ่งมีประชากร 32.4% อาศัยอยู่ในกรุงนี้ ส่วนเมืองหลักอื่น ๆ ได้แก่ Gros Islet, ซูฟรีแยร์ และวีเยอฟอร์ ประชากรในประเทศมักกระจุกอยู่บริเวณรอบชายฝั่ง โดยบริเวณภายในมีประชากรเปราะบาง เนื่องจากป่าที่ชุกชุม[10][13] ภูมิอากาศลักษณะภูมิอากาศของเซนต์ลูเชียเป็นแบบเขตร้อน และได้รับอิทธิพลจากลมสินค้าตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศจะแห้งในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน และฝนตกชุกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน
การเมืองการปกครองในฐานะที่เป็นสมาชิกของเครือจักรภพ เซนต์ลูเชียมีสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 เป็นประมุขของประเทศ อย่างไรก็ตาม อำนาจในการปกครองประเทศจะอยู่ที่รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี โดยปกตินายกรัฐมนตรีจะมาจากหัวหน้าพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้ง โดยในรัฐสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร 17 คน และวุฒิสภา 11 คน เซนต์ลูเชีย เป็นหนึ่งในสมาชิกของประชาคมแคริบเบียน (Caribbean Community: CARICOM) และองค์การรัฐแคริบเบียนตะวันออก (Organisation of Eastern Caribbean States: OECS) นิติบัญญัติ
บริหาร
ตุลาการ
คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการ ภายใต้การเสนอของนายกรัฐมนตรี โดยทั่วไปนายกรัฐมนตรี มาจากหัวหน้าพรรคที่ได้คะแนนเสียงข้างมาก ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้สำเร็จราชการ การแบ่งเขตการปกครอง
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/7/75/Coat_of_Arms_of_Saint_Lucia.svg เก็บถาวร 2012-09-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน นโยบายต่างประเทศ
กองทัพเศรษฐกิจโครงสร้างเศรษฐกิจของเซนต์ลูเชียขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์จากกล้วยและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงอุตสาหกรรมขนาดเล็กบางส่วน ประเทศเซนต์ลูเชียมีกิจการทางด้านเกษตรกรรมทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และภาษีจากภาคเกษตรกรรมก็มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นอย่างมากตั้งแต่ พ.ศ. 2503 การท่องเที่ยวอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเซนต์ลูเชียมีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศรองจากการส่งออกผลิตภัณฑ์จากกล้วย และเป็นที่คาดหวังว่าอุตสาหรรมท่องเที่ยวจะเจริญเติบโตต่อไปเรื่อย ๆ เนื่องจากปัจจุบันตลาดการส่งออกกล้วยเริ่มมีการแข่งขันที่สูงขึ้น ทุก ๆ ปีในช่วง dry season (มกราคม − เมษายน) นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปเซนต์ลูเชีย โดยสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากก็คือลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เป็นเขตร้อน รวมถึงชายหาดและรีสอร์ทต่าง ๆ มากมาย นอกจากนี้ สิ่งอื่น ๆ ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว ได้แก่ การเป็นเกาะภูเขาไฟ สวนพฤกษศาสตร์ ป่าดิบชื้น (Rainforest) และอุทยานแห่งชาติเกาะพิเจียน สถานที่ท่องเที่ยว
ประชากรศาสตร์เชื้อชาติประชากรมากกว่า 90% ของประเทศสืบเชื้อสายมาจากชาวแอฟริกา ประมาณร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมดเป็นลูกครึ่งระหว่างชาวผิวขาวกับผิวดำ คนกลุ่มนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้เซนต์ลูเชียยังมีประชากรเชื้อสายอื่น ๆ อีก ได้แก่ อินโด-แคริบเบียน (อินเดีย) ประมาณร้อยละ 3 และมีเพียงร้อยละ 1.1 ที่เป็นชาวยุโรปแท้ (สืบเชื้อสายฝรั่งเศส อังกฤษ สกอตแลนด์ หรือไอร์แลนด์ ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคม) ภาษาภาษาทางการประจำหมู่เกาะคือภาษาอังกฤษ[2][15] นอกจากนี้ ยังมีภาษาครีโอลฝรั่งเศสเซนต์ลูเชีย มีผู้พูด 95% ของประชากรทั้งหมด[16] มีการใช้งานภาษาครีโอลแอนทิลลีสในวรรณกรรมและดนตรี และได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ[16] ภาษานี้มีที่มาจากภาษาฝรั่งเศสกับกลุ่มภาษาแอฟริกันตะวันตก โดยมีศัพท์บางส่วนจากภาษาเกาะแคริบและอื่น ๆ เซนต์ลูเชียเป็นสมาชิกของลาฟร็องกอฟอนี[17] ศาสนาศาสนาหลักในเซนต์ลูเชียคือศาสนาคริสต์ ประมาณ 61.5% ของประชากรนับถือนิกายโรมันคาทอลิก ส่วนอีก 25.5% นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ (รวมเซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ 10.4%, เพนเทคอสทัล 8.9%, แบปติสต์ 2.2%, แองกลิคัน 1.6%, เชิร์ชออฟก็อด 1.5%, โปรเตสแตนต์อื่น ๆ 0.9%) อีแวนเจลิคอลมีประชากรที่นับถือ 2.3% และพยานพระยะโฮวามีผู้นับถือ 1.1% นอกจากนี้ ประมาณ 1.9% ของประชากรนับถือขบวนการราสตาฟารี ศาสนาอื่น ๆในประเทศได้แก่ฮินดู, บาไฮ, ยูดาห์ และพุทธ วัฒนธรรมวัฒนธรรมของเซนต์ลูเชียมีประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมแอฟริกา, ฝรั่งเศส และอังกฤษ หนึ่งในภาษาที่สองของประเทศ คือ ภาษา Kreole เป็นภาษาที่เป็นที่เป็นรูปแบบหนึ่งของภาษาฝรั่งเศส เกทะกะพี ดนตรีและการเต้นรำการเต้นรำแบบพื้นเมืองที่เป็นที่นิยมในเซนต์ลูเชีย คือ กาดรีย์ (Quadrille) นอกจากนี้ ในส่วนของดนตรี เซนต์ลูเชียมีดนตรีพื้นบ้านที่เป็นจุดแข็งไม่แพ้ดนตรีประเภท soca zouk หรือ reggae ของชาวแคริบเบียนแห่งอื่น ๆ และทุก ๆ ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เซนต์ลูเชียจะเป็นเจ้าภาพในการจัดงานเทศกาลเพลงแจ๊สที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ อ้างอิง
ข้อมูล
แหล่งข้อมูลอื่น
|