Share to:

 

ประเทศซูดาน

สาธารณรัฐซูดาน

جمهورية السودان (อาหรับ)
ตราแผ่นดินของซูดาน
ตราแผ่นดิน
คำขวัญالنصر لنا (อาหรับ)
"ชัยชนะเป็นของเรา"
ซูดานในสีเขียวเข้ม ดินแดนพิพาทในสีเขียวอ่อน
ซูดานในสีเขียวเข้ม ดินแดนพิพาทในสีเขียวอ่อน
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
คาร์ทูม
15°38′N 032°32′E / 15.633°N 32.533°E / 15.633; 32.533
ภาษาราชการ
กลุ่มชาติพันธุ์
เดมะนิมชาวซูดาน
การปกครองสหพันธ์ภายใต้คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง[4]
อับดุลฟัตตาห์ อัลบุรฮาน
มาลิก อักกอร
อุษมาน ฮุซัยน์ (รักษาการ)
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติเฉพาะกาล
ก่อตั้ง
1070 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ค.ศ. 1885
ค.ศ. 1899
• เป็นเอกราชและสิ้นสุดการปกครอง
ของอังกฤษ-อียิปต์
1 มกราคม ค.ศ. 1956
• การแยกตัวของซูดานใต้
9 กรกฎาคม ค.ศ. 2011
11 เมษายน ค.ศ. 2019
4 สิงหาคม ค.ศ. 2019
พื้นที่
• รวม
1,886,068 ตารางกิโลเมตร (728,215 ตารางไมล์) (อันดับที่ 15)
ประชากร
• ค.ศ. 2021 ประมาณ
เพิ่มขึ้น44,909,353 [5] (อันดับที่ 33)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2008
30,894,000 (กำกวม)[6]
21.3 ต่อตารางกิโลเมตร (55.2 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2018 (ประมาณ)
• รวม
177.678 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7]
4,232 ดอลลาร์สหรัฐ[8]
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2018 (ประมาณ)
• รวม
33.903 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[9]
808 ดอลลาร์สหรัฐ[10]
จีนี (ค.ศ. 2014)positive decrease 34.2[11]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.510[12]
ต่ำ · อันดับที่ 170
สกุลเงินปอนด์ซูดาน (SDG)
เขตเวลาUTC+2 (เวลาแอฟริกากลาง)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+249
รหัส ISO 3166SD
โดเมนบนสุด.sd
سودان.

ซูดาน (อังกฤษ: Sudan; อาหรับ: السودان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซูดาน (อังกฤษ: Republic of the Sudan; อาหรับ: جمهورية السودان) เป็นประเทศที่ในอดีตมีพื้นที่มากที่สุดในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป มีเมืองหลวงชื่อคาร์ทูม มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศอียิปต์ ทิศใต้ติดต่อกับเซาท์ซูดาน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทะเลแดง ทิศตะวันออกติดกับเอริเทรียและเอธิโอเปีย ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทิศตะวันตกติดกับประเทศชาด และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับลิเบีย ชื่อของประเทศมาจากภาษาอาหรับว่า Bilad-al-Sudan ซึ่งแปลว่าดินแดนของคนผิวดำ[13] ปัจจุบันซูดานกลายเป็นประเทศที่ขาดความมั่นคงตามดัชนีความเสี่ยงของการเป็นรัฐที่ล้มเหลว เพราะการปกครองแบบเผด็จการทหารและสงครามดาร์ฟูร์

ประวัติศาสตร์

ซูดานหรือนิวเบียสมัยโบราณ มีชาวอียิปต์เข้ามาตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยเก่าแก่ ในศตวรรษที่ 6 ชาวพื้นเมืองในซูดานหันมานับถือศาสนาคริสต์นิกายคอปติกอาหรับเข้ามาพิชิตแล้วนำเอาศาสนาอิสลามมาให้ ในทศวรรษของปี ค.ศ. 1820 อียิปต์เอาซูดานไปครอบครองโดยรบชนะอาณาจักรในยุคแรก ๆ ได้รวมทั้งอาณาจักรของฟุง ในช่วงทศวรรษของปี ค.ศ. 1880 โมฮัมหมัด อาห์หมัด ซึ่งเรียกตัวเองว่ามาห์ธี (ผู้นำแห่งความสัตย์) กับสาวกของเขาก่อการปฏิวัติ ในปี ค.ศ. 1898 กองกำลังผสมระหว่างอังกฤษและอียิปต์ บุกทำลายกองทัพผูสืบตำแหน่งต่อจากมาห์ธีร์จนพังพินาศ ในปี ค.ศ. 1951 รัฐสภาอียิปต์ประกาศยกเลิกสนธิสัญญากับอังกฤษฉบับปี ค.ศ. 1899 และ 1936 แล้วแก้ไขรัฐธรรมนูญอียิปต์ให้ซูดานมีรัฐธรรมนูญแยกไปจากอียิปต์ ซูดานได้รับอิสรภาพโดยสมบูรณ์มีการปกครองระบบรัฐสภาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1956 ในปี ค.ศ. 1969 สภาปฏิวัติเข้ายึดอำนาจแต่งตั้งรัฐบาลพลเรือนบริหารประเทศ รัฐบาลประกาศจะสร้างซูดานเป็นรัฐสังคมนิยม 12 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับนับถือศาสนาอิสลามและเคยมีอำนาจในรัฐบาลกลางมาช้านาน ใน 3 จังหวัดทางภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นคนดำนับถือศาสนาเดิมของแอฟริกา ในปี ค.ศ. 1972 รัฐบาลยอมให้จังหวัดทางใต้ปกครองตนเอง แล้วทั้งสองซีกของประเทศก็เริ่มทำสงครามกลางเมืองในปี ค.ศ. 1988 ในทศวรรษของปี ค.ศ. 1980 ซูดานมีปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและเลวร้ายลงไปอีก เมื่อมีผู้ลี้ภัยจากประเทศใกล้เคียงหลั่งไหลเข้ามา ภายหลังอยู่ในอำนาจมา 16 ปี ประธานาธิบดีไนไมรีก็ถูกโค่นอำนาจจากการทำรัฐประหารเมื่อปี ค.ศ. 1985 ในปี ค.ศ. 1986 ซูดานมีการเลือกตั้งระบอบประชาธิปไตยครั้งแรกในรอบ 18 ปี แต่แล้วรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ถูกโค่นล้มอีก จากการรัฐประหารแบบไม่เสียเลือดเนื้อของฝ่ายทหารในปี ค.ศ. 1989 ในปี ค.ศ. 1991 ซูดานยอมให้สหประชาชาติช่วยบรรเทาทุกข์ครั้งใหญ่ เพราะมีประชากรประมาณ 7 ล้านคนที่กำลังขาดแคลนอาหาร

การแบ่งเขตการปกครอง

เขตทางการเมืองในซูดาน สามเหลี่ยมฮาลาอิบ อยู่ภายใต้การปกครองของอียิปต์ตั้งแต่ พ.ศ. 2543

ซูดานมีรัฐทั้งหมด 17 รัฐ ได้แก่

พื้นที่ที่เกิดความขัดแย้ง

นอกจากการบริหารโดยรัฐบาลกลาง ยังมีการบริหารภายนอกที่เกิดจากการทำสนธิสัญญาสันติภาพกับกลุ่มกบฏได้แก่

  รัฐทางตอนเหนือและตอนกลาง

ส่วนการบริหารเฉพาะพื้นที่

พื้นที่พิพาทหรือเกิดความขัดแย้ง

ภูมิศาสตร์

ซูดานตั้งอยู่ในทวีฟแอฟริกาตอนเหนือ มีทางออกทะเลที่ทะเลแดง และมีความยาวของชายฝั่งประมาณ 853 กิโลเมตร[16] ซูดานมีพื้นที่ทั้งหมด 2,505,810 ตารางกิโลเมตร และเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา และเป็นอันดับสิบของโลก ซูดานมีอาณาเขตติดกับสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ประเทศชาด ลิเบีย อียิปต์ เอริเทรีย เอธิโอเปีย เคนยา ยูกันดา และมีความสำคัญทางภูมิศาสตร์เพราะมีจุดที่แม่น้ำบลูไนล์และไวท์ไนล์รวมกันเป็นแม่น้ำไนล์ซึ่งอยู่ในเขตคาร์ทูม

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ซึ่งถูกแบ่งออกจากกันด้วยเทือกเขาหลายแห่ง ได้แก่เทือกเขาเจเบล มาร์ราทางตะวันตก ภูเขาคินเยติ อิมาตองบริเวณใกล้ชายแดนยูกันดา ซึ่งเป็นภูขาที่สูงที่สุด และในเขตตะวันออกมีเนินเขาทะเลแดง[17]

ทางตอนเหนือมีทะเลทรายนิวเบีย ตั้งแต่อดีตในทางตอนใต้มีปริมาณน้ำฝนมีมากกว่าจึงมีพื้นที่ที่มีบึงและป่าดิบชื้น ฤดูฝนของซูดานมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือน (กรกฎาคมถึงกันยายน) ในตอนเหนือ และนานถึง 6 เดือน (มิถุนายนถึงพฤศจิกายน) ในตอนใต้ ในเขตแห้งแล้งมักเกิดพายุทรายที่เรียกว่าฮาบูบซึ่งสามารถบดบังแสงอาทิตย์ได้โดยสิ้นเชิง ในตอนเหนือและตะวันตกซึ่งเป็นพื้นที่กึ่งทะเลทราย ผู้คนทำการเกษตรง่าย ๆ โดยพึ่งพาฝนที่ไม่ค่อยพอเพียง และมีชนเผ่าเร่ร่อนจำนวนมากที่เดินทางไปพร้อมกับฝูงแกะและอูฐ ในบริเวณใกล้แม่น้ำไนล์ มีการทำไร่ที่มีการชลประทานที่ดีกว่า ส่วนใหญ่ปลูกพืชที่ปลูกเพื่อการค้า[18]

ประเทศซูดานมีแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุหลายอย่าง เช่น ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ทอง เงิน โครไมท์ แร่ใยหิน แมงกานีส ยิปซัม ไมกา สังกะสี เหล็ก ตะกั่ว ยูเรเนียม ทองแดง เกาลิไนท์ โคบอลต์ หินแกรนิต นิกเกิล และดีบุก[19]

การแปรสภาพเป็นทะเลทรายเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของซูดาน[20] เกษตรกรมักทำการเกษตรโดยไม่คำนึงถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติ จึงทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาเช่น การทำลายป่าไม้ ปัญหาดินจืด และปัญหาระดับน้ำบาดาลลดลง[21]

ประชากร

การแต่งงานของชาวนิวเบีย

จากการสำรวจของซูดานในปี พ.ศ. 2536 จำนวนประชากรถูกบันทึกไว้ที่ 25 ล้านคน แต่เนื่องจากสงครามกลางเมืองที่ดำเนินต่อเนื่อง หลังจากนั้นก็ไม่มีการสำรวจที่ทั่วถึงอีก ในปี พ.ศ. 2549 สหประชาชาติประมาณว่ามีจำนวนประชากรประมาณ 36.9 ล้านคน[22] ประชากรในเขตเมืองคาร์ทูม (คาร์ทูม โอมเดอร์มาน และคาร์ทูมเหนือ) เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วและมีจำนวนประมาณ 5-7 ล้านคน ซึ่งรวมทั้งประชากรประมาณ 2 ล้านคนที่ต้องย้ายถิ่นฐานจากเขตสงครามทางใต้และทางตะวันตก และพื้นที่แห้งแล้งทางตะวันออก

แม้ว่าซูดานจะเป็นต้นกำเนิดของผู้อพยพมากมาย แต่กลับมีชาวต่างชาติไม่น้อยอพยพเข้ามาในซูดาน ตามรายงาน World Refugee Survey 2008 ของคณะกรรมการเพื่อผู้ลี้ภัยและผู้อพยพของสหรัฐอเมริกา (U.S. Committee for Refugees and Immigrants: USCRI) พบว่ามีผู้อพยพและลี้ภัยอาศัยอยู่ในซูดาน 310,500 คนในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเอริเทรีย (240,400 คน) ชาด (45,000 คน) เอธิโอเปีย (19,300 คน) และสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (2,500 คน)[23] มีการรายงานว่ารัฐบาลซูดานไม่ให้ความร่วมมือต่อข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติในปี 2007 และยังส่งตัวผู้อพยพและผู้ลี้ภัยอย่างน้อย 1,500 คนกลับประเทศในปีเดียวกัน[23]

ซูดานมีชนเผ่า 597 เผ่าซึ่งพูดภาษาแตกต่างกันมากกว่า 400 สำเนียงภาษา[24] แต่มีสามารถแยกออกเป็นกลุ่มวัฒนธรรมหลัก 2 พวก คือชาวอาหรับเชื้อสายนิวเบีย และคนแอฟริกันผิวดำซึ่งไม่ใช่พวกอาหรับ ซึ่งสามารถแยกย่อยออกเป็นเผ่าและกลุ่มภาษาได้อีกนับร้อยกลุ่ม รัฐในเขตเหนือมีอาณาเขตครอบคลุมเกือบทั้งประเทศและรวมเอาเขตเมืองส่วนใหญ่ไว้ด้วย ชาวซูดานที่อาศัยอยู่ในเขตนี้เป็นชาวมุสลิมที่พูดภาษาอาหรับ เพราะได้รับการศึกษาเป็นภาษาอาหรับ แต่ส่วนใหญ่มักมีภาษาแม่เป็นภาษาที่ไม่ใช่อาหรับ (เช่นนิวเบีย เบจา เฟอร์ นูบัน ฯลฯ)

ดังเช่นชาวอียิปต์ ชาวปาเลสไตน์ และชาวอาหรับอื่น ๆ ชาวอาหรับในซูดานส่วนใหญ่เป็นอาหรับโดยวัฒนธรรมมากกว่าด้วยเชื้อสาย ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากพวกนิวเบีย ซึ่งอยู่ในกลุ่มเซมิติก และหน้าตาเหมือนกับชาวเอธิโอเปีย ชาวเอริเทรีย และชาวโซมาเลีย

อ้างอิง

  1. People and Society CIA world factbook
  2. الجهاز المركزي للتعبئة العامة والإحصاء
  3. Sudanese Fulani in Sudan
  4. Magdy, Samy; Elhennawy, Noha (21 November 2021). "Sudan military leaders reinstate deposed prime minister". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 5 July 2022.
  5. Sudan Population 2021
  6. "Discontent over Sudan census". News24. Cape Town. Agence France-Presse. 21 May 2009. สืบค้นเมื่อ 8 July 2011.
  7. "Sudan". International Monetary Fund.
  8. "Sudan". International Monetary Fund.
  9. "Sudan". International Monetary Fund.
  10. "Sudan". International Monetary Fund.
  11. "Gini Index". World Bank. สืบค้นเมื่อ 16 June 2021.
  12. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  13. "Sudan". Online Etymology Dictionary.
  14. Page xii – Sudan administrative map (January, 1st, 1956) เก็บถาวร 2012-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (PDF) . Retrieved on 28 November 2011.
  15. South Sudan ready to declare independence เก็บถาวร 2013-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Menasborders.com (1956-01-01). Retrieved on 28 November 2011.
  16. "ISS Sudan geography". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-13. สืบค้นเมื่อ 2008-12-12.
  17. "Country Studies". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-22. สืบค้นเมื่อ 2008-12-12.
  18. Oxfam
  19. "Sudan embassy website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-12-13.
  20. "Developing a Desertification National Action Plan in Sudan". United Nations Environment Programme. สืบค้นเมื่อ 2008-12-14.
  21. "Dept of Forestry, University of Khartoum". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-28. สืบค้นเมื่อ 2008-12-20.
  22. "World Population Prospects: Sudan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-21. สืบค้นเมื่อ 2008-12-14.
  23. 23.0 23.1 World Refugee Survey: Sudan
  24. Peter K. Bechtold, `More Turbulence in Sudan` in Sudan: State and Society in Crisis, ed. John Voll (Boulder, Westview, 1991) p.1
  25. Wick, Marc. "Sudan - Largest Cities". GeoNames. GeoNames. สืบค้นเมื่อ 6 February 2017.

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Const_Dec_En_unofficial" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "raisethevoices_4Aug2019_const_dec" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

บรรณานุกรม

หนังสือ
บทความ
เว็บลิงก์

แหล่งข้อมูลอื่น

15°N 032°E / 15°N 32°E / 15; 32

Kembali kehalaman sebelumnya